ผลของระดับน้ำและเวลาลดระดับน้ำในหอสุญญากาศต่อประสิทธิภาพการกำจัดความขุ่นสำหรับระบบผลิตน้ำประปา โดยถังตกตะกอนชนิดชั้นตะกอน

ผู้แต่ง

  • วิวัฒน์ อ่อนนาคคล้ำ โรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ การประปานครหลวง

คำสำคัญ:

ถังตกตะกอนชนิดชั้นตะกอน, ประสิทธิภาพการกำจัดความขุ่น

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาผลของระดับน้ำและเวลาลดระดับน้ำในหอสุญญากาศต่อประสิทธิภาพการกำจัดความขุ่นของถังตกตะกอนชนิดชั้นตะกอน สำหรับระบบผลิตน้ำประปา โดยการควบคุมอัตราการเติมสารส้ม 22 มิลลิกรัม/ลิตรและอัตราผิวน้ำล้น 3.22 เมตร/ชั่วโมง ผลการทดลองเปรียบเทียบประสิทธิภาพการกำจัดความขุ่นของระดับน้ำในหอสุญญากาศที่ระดับ 30, 40 และ 50 เซนติเมตร ตามลำดับ และเวลาลดระดับน้ำในหอสุญญากาศ 10, 15 และ 20 วินาที ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่า ระดับน้ำไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการกำจัดความขุ่น แต่เวลาลดระดับน้ำส่งผลต่อประสิทธิภาพการกำจัดความขุ่นอย่างมีนัยสำคัญ เวลาลดระดับน้ำ 15 วินาที จะมีประสิทธิภาพการกำจัดความขุ่นสูงกว่าเวลาลดระดับน้ำ 10 และ 20 วินาที เวลาลดระดับน้ำ 15 วินาที มีประสิทธิภาพการกำจัดความขุ่น 87.37±1.47%, 87.66±1.27% และ 87.26±1.69%  สำหรับระดับน้ำ 30, 40 และ 50 เซนติเมตร ตามลำดับ และผลร่วมของระดับน้ำและเวลาลดระดับน้ำ(อัตราพัลเซชั่น) ไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการกำจัดความขุ่น

References

T. Wangpaisarn, Water supply engineering, 2th ed., Chulalongkorn University Press, 2003.

C. Chomsuwan, “Improvement turbidity removal efficiency of clarifier in water treatment process,” M.E.dissertation (Industrial Engineering), Kasetsart University, Bangkok, Thailand, 2009.

S. Intrto, “Effect of pulsation rate, surface overflow rate and suction height on turbidity removal efficiency of pulsator clarifier,” M.Sc. dissertation (Environmental Technology), Mahidol University, Nakorn Pathom, Thailand, 2005.

S. M. Khezri, E. Dadvar and H. H. Shekarabi, “A study of the suction height effect on turbidity removal efficiency of water in pulsator,” Global Journal of Researches in Engineering, Vol. 12, pp. 6–12, May, 2012.

S. K. Al-Dawery, R. M. Hussain and K. M. Shibeeb, “Performance of pulsator clarifier (low turbidity),” Iraqi Journal of Chemical and and Petroleum Engineering, Vol. 8, pp. 9–17, March, 2007.

E. L. Sharp, S. A. Parsons and B. Jefferson, “Seasonal variations in natural organic matter and its impact on coagulation in water treatment,” Science of the Total Environment 363, pp. 183–194, June, 2006.

W. Mo, H. Wang and J. M. Jacobs, “Understanding the influence of climate change on the embodied energy of water supply,” Water Research 95, pp. 220–229, March, 2016.

C. C. Dorea, “Coagulant-based emergency water treatment,” Desalination 248, pp. 83-90, May, 2009.

Y. Tantipalakul, K. Palawatwichai, T. Detchakan and, J. Khaisan, “The study of optimal coagulants for water treatment process of Metropolitan Waterworks Authority,” Burabha Journal of Science, Vol. 23, No.1, pp. 207–220, January, 2018.

A. C. Twort, D. D. Ratnayaka and M. J. Brandt, Water supply, 5th ed., Butterworth-Heinamann, 2006.

American Water Work Association and American Society of Civil Engineers, Water treatment plant design, 4th ed., McGraw-Hill, 1990.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29

How to Cite

[1]
อ่อนนาคคล้ำ ว., “ผลของระดับน้ำและเวลาลดระดับน้ำในหอสุญญากาศต่อประสิทธิภาพการกำจัดความขุ่นสำหรับระบบผลิตน้ำประปา โดยถังตกตะกอนชนิดชั้นตะกอน”, Eng. & Technol. Horiz., ปี 37, ฉบับที่ 2, น. 18–24, มิ.ย. 2020.