อิทธิพลของอัตราส่วนน้ำยาก่อฟอง การอบไอน้ำแรงดันต่ำ และยิปซัมสังเคราะห์ต่อสมบัติของคอนกรีตพรุนใส่ แก้วขวดสีน้ำตาล
คำสำคัญ:
แก้วขวดสีน้ำตาล, ยิปซัมสังเคราะห์, คอนกรีตพรุน, สารก่อฟองชนิดโปรตีน, อบไอน้ำแรงดันต่ำบทคัดย่อ
บทความนี้ศึกษาถึงสมบัติทางกายภาพและทางกลของคอนกรีตพรุนผสมแก้วขวดสีน้ำตาลบด โดยใช้สารก่อฟองชนิดโปรตีนสามอัตราส่วนด้วยกันคือ 0.40 0.50 และ 0.60 โดยน้ำหนักน้ำ ผสมยิปซัมสังเคราะห์แทนที่บางส่วนของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 1 ทั้งอบและไม่อบไอน้ำแรงดันต่ำเป็นเวลา 8 ชั่วโมง ก่อนบ่มในบรรยากาศห้องเป็นเวลา 3 7 และ 28 วัน ทดสอบความหนาแน่น กำลังอัด นอกจากนี้วิเคราะห์วัฎภาคแร่และโครงสร้างจุลภาคด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์และถ่ายภาพจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดตามลำดับ ผลทดสอบพบว่าปริมาณสารก่อฟอง การอบไอน้ำก่อนบ่มและปริมาณยิปซัมสังเคราะห์มีผลทำให้พัฒนาการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นและกำลังอัด ตัวอย่างผสมสารก่อฟองชนิดโปรตีน 0.60 ผ่านการอบไอน้ำและบ่มในห้อง 28 วัน ให้กำลังอัดสูงสุด 91 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และความหนาแน่น 1,260 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ส่วนตัวอย่างผสมยิปซัมสังเคราะห์สองอัตราส่วนอยู่ในเกณฑ์กำหนดบางชั้นของ มอก. 2601-2556 วิเคราะห์วิทยาแร่และโครงสร้างจุลภาคแสดงถึงโพรงอากาศไม่ต่อกัน ผลึกยิปซัมคืนรูปและเอต์ทรินไกต์รูปคล้ายเข็ม
References
Q-CON, “Lightweight Concrete,” URL: https:// www.qcon.co.th/knowledge, Retrieved 12/07/2560.
Promotion and Publication Section, “Recycle Waste Bank Manual,” 7thed., Dept. of Environmental Quality Promotion, Ministry of Natural Resources and Environment, 2017.
J. Suntharanurak and D. Tonnayopas, “Strength Development and Sulfate Durability of Waste Clear Bottle Glass Aggregate Concrete Containing Sugarcane Bagasse Ash,” The Journal of Industrial Technology, Vol.10, No.1, pp.63-75, 2014.
Foam Concrete. URL https://www.clcprolicon.com/ th/article07_1.php Retrieved 1/07/2560.
TIS 2601-2556, “Cellular Lightweight Concrete Blocks using Preformed Foam”, Thai Industrial Standards, 2556.
M. Limbachiya, M.S. Meddah, and S. Fotiadou, “Performance of Granulated Foam Glass Concrete,” Construction and Building Materials, Vol.28, Issue1, pp.759–768, March, 2012.
S. K Lim, C.S. Tan, X. Zhao and T.C. Ling, “Strength and Toughness of Lightweight Foamed Concrete with Different Sand Grading,” KSCE Journal of Civil Engineering, Vol.19, Issue7, pp. 2191-2197, Nov., 2015.
ASTM C618-15, “Standard Specification for Coal Fly Ash and Raw or Calcined Natural Pozzolan for Use in Concrete,” West Conshohocken, PA, 2015.
ASTM D5370-14, “Standard Specification for Pozzolanic Blended Materials in Construction Applications,” West Conshohocken, PA, 2014.
P. Suksawat and P. Bunkongthong, “Foam Concrete Containing Para Rubber Wood Ash and Oil Palm Ash,” Mining Engineering Project Report, No. MNE1/2557, Prince of Songkla University, 2013.
S. Nikhom and D. Tonnayopas. “Characterization of Some Properties of Flue Gas Desulfurization Gypsum Composite Blending Rubber Wood Fly Ash,” The 14th National Convention on Civil Engineering, 13-15 May 2009, Suranaree University of Technology, Vol.5, pp.1793-1799, 2009.
D. Falliano, D. De Domenico, G. Ricciardi, and E. Gugliandolo, “Experimental Investigation on the Compressive Strength of Foamed Concrete: Effect of Curing Conditions, Cement Type, Foaming Agent and Dry Density,” Construction and Building Materials, Vol.165, pp.735–749, March, 2018.
Y. H. Mugahed Amran, N. Farzadnia, A.A. Abang Al, “Properties and Applications of Foamed Concrete; A Review,” Construction and Building Materials, Vol.101, Part1, pp.990–1005, Dec., 2015.
A. A. Hilal, N.H. Thom, A.R. Dawson, “On Void Structure and Strength of Foamed Concrete Made without/with Additives,” Construction and Building Materials, Vol.85, pp.157–164, June, 2015.
J. Jiang, Z. Lu, Y. Niu, J. Li, and Y. Zhang, “Study on the Preparation and Properties of High-Porosity Foamed Concretes Based on Ordinary Portland Cement,” Materials and Design, Vol.92, pp.949–959, Feb., 2016.
T. T. Nguyen, H.H. Bui, T.D. Ngo, and G.D. Nguyen, “Experimental and Numerical Investigation of Influence of Air-voids on the Compressive Behaviour of Foamed Concrete,” Materials & Design, Vol.130, pp.103-119, Sept., 2017.
J. Zhang, Y. Yan, Z. Hu, “Preparation and Characterization of Foamed Concrete with Ti-Extracted Residues and Red Gypsum,” Construction and Building Materials, Vol.171, pp.109-119, May, 2018.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว