พารามิเตอร์ที่เหมาะสมในการตัดทาลายวัตถุระเบิดด้วยระบบน้ำแรงดันสูงผสมอนุภาคตัดโดยไม่เกิดการจุดระเบิด
คำสำคัญ:
ระบบตัดวัตถุด้วยน้ำแรงดันสูง, การกระจายตัวของพลังงาน, การตัดทำลายวัตถุระเบิดบทคัดย่อ
บทความนี้นาเสนอการศึกษาการกระจายตัวของพลังงาน (Energy Dissipation) ที่เกิดขึ้นกับวัตถุระเบิดในกระบวนการตัดทำลายวัตถุระเบิดด้วยระบบน้ำแรงดันสูงผสมอนุภาคตัด (Abrasive Water Jet Cutting System : AWCS) เพื่อนามากำหนดพารามิเตอร์ของเครื่อง AWCS ให้เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เก็บกู้ระเบิด (Explosive Ordnance Disposal : EOD ) และไม่เกิดการจุดระเบิดด้วยตัวเองของวัตถุระเบิดนั้น โดยจะทำการทดลองตัดแผ่นเหล็กขนาด 10 mm โดยมีการเปลี่ยนแปลงค่าพารามิเตอร์ของเครื่อง AWCS คือ แรงดันของ Water Jet (Pressure : p ) และความเร็วในการเคลื่อนที่ของ Nozzle (Traverse speed : v) ซึ่งพารามิเตอร์ทั้ง 2 ตัวนี้มีผลโดยตรงต่อพลังงานที่เกิดขึ้น ในการวัดผลจะทำการวัดค่า Surface Roughness เพื่อทำการเปรียบเทียบผลของพลังงานที่เกิดขึ้นในกระบวนการตัดเนื่องจากไม่สามารถวัดค่าพลังงานที่เกิดขึ้นจริงได้โดยตรง จากนั้นจะทาการทดลองตัดวัตถุระเบิดจริง ด้วยพารามิเตอร์ที่ทาให้เกิด พลังงานสูงสุดเพื่อเป็นการยืนยันว่าระบบสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยตามทฤษฎีที่ได้ศึกษา ไม่ก่อให้เกิดการจุดระเบิดด้วยตนเอง โดยในการทดลองนี้วัตถุระเบิดที่เราใช้คือ ลูกกระสุนปืนครกขนาด 120 mm , ลูกระเบิด Air bomb ขนาด 100 ปอนด์ ภายในประกอบด้วยสารระเบิด TNT ซึ่งมีค่าระดับพลังงานต่ำสุดที่ใช้ในการจุดระเบิด (Minimum Ignition Energy : MIE ) เท่ากับ 75 mJ และระเบิดชนิด Primary ที่ใช้ทำเป็นเชื้อประทุบรรจุอยู่ในส่วน Fuze ได้แก่ Lead Azide มีค่า MIE เท่ากับ 7 mJ ซึ่งผลจากการทดสอบตัดวัตถุระเบิดจริงด้วย พารามิเตอร์ ที่ก่อให้เกิดพลังงานจลน์สูงสุดพบว่า ไม่เกิดการจุดระเบิดด้วยตนเอง ดังนั้นสามารถนำค่าพารามิเตอร์จากการทดลองนี้กำหนดเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ได้อย่างปลอดภัย
References
V. Brauskak, “Ignition Handbook,” Fire Science Publishers, 2003.
Lynn Stanley, “How water pump technology powers water jet line for demilitarization of high-explosive munitions,” FF Journal, 2012.
Paul L. Miller, “Formation of Sparks from Abrasive Water Jet Cutting and Their Effect on Condensed Explosives,” Proceedings of the Twenty-Sixth DoD Explosives Safety Seminar, 1994.
Bureau of Alcohol, Tobacco, Firearms and Explosives, “Federal Explosives Law and Regulations,” ATF Publication, pp. 47 - 53, 2007.
Daniel Krajcarz, “Comparison Metal Water Jet Cutting with Laser and Plasma Cutting,” Procedia Engineering, vol. 69, pp. 838 - 843, 2014.
Wong, “A Study of Abrasive Water Jet Cutting of Metallic Coated Sheet Steel,” International Journal of Machine Tools and Manufacture, vol. 39, pp. 855 - 870, 1999.
Xiaojin Miao, Zhengrong Qiang, Meiping Wu, Lei Song, Feng Ye, “The Optimal Cutting Times of Multipass Abrasive Water Jet Cutting,” The International Journal of Advance Manufacturing Technology, vol. 97, pp. 1779 - 1786, 2018.
Derzija Begic-Hajdarevic, Ahmet Cekic, Muhamed Mehmedovic, Almina Djelmic, “Experimental Study on Surface Rougness in Abrasive Water Jet Cutting,” Procedia Engineering, vol. 100, pp. 394 - 399, 2015.
R. S. Mohan, A. W. Momber, R. Kovacevic, “Energy Dissipation Control in Hydro-Abrasive Machining Using Quantitative Acoustic Emission,” The International Journal of Advanced Manufacturing Technology, vol. 20, pp. 397 - 406, 2002.
A. W. Momber and R. Kovacevic, “An energy of high-speed abrasive water jet erosion,” Proceeding of the Institution of Mechanical Engineers, vol. 213, pp. 463 - 472, 1999.
A. W. Momber and R. Kovacevic, “Calculation of exist energy in abrasive water jet cutting,” W.E. Alzheimer (ed.) Manufacturing Science and Engineering, vol. 1, pp. 361 - 366, 1994.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และคณาจารย์ท่านอื่นๆในสถาบันฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว