การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเขื่อนกันคลื่น แบบลอยน้ำและแบบหินทิ้ง

ผู้แต่ง

  • ปณพงศ์ พลอยประดับ ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

เขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำ, เขื่อนกันคลื่นแบบหินทิ้ง, สัมประสิทธิ์การส่งผ่านคลื่น, อ่างจำลองคลื่น

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบแบบจำลองเขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำและแบบหินทิ้ง และเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเขื่อนกันคลื่นทั้ง 2 ชนิด นอกจากนี้นั้นศึกษาอิทธิพลของคลื่นที่ความสูงคลื่นขนาดต่างๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะคลื่นหลังเขื่อนกันคลื่น ผู้วิจัยได้ออกแบบเขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำ 3 ชนิด คือ 1) เขื่อนกันคลื่นลอยน้ำไบโอบอล 1, 2) เขื่อนกันคลื่นลอยน้ำไบโอบอล 2 (เสริมใยกรองหยาบ) และ 3) เขื่อนกันคลื่นลอยน้ำโฟม เพื่อศึกษาสัมประสิทธิ์การส่งผ่านคลื่นของแบบจำลองเขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำในอ่างจาลองคลื่นที่ความลึกน้ำ 25 27.5 และ 30 เซนติเมตร ที่ความชันคลื่น 0.025–0.048 นอกจากนี้เขื่อนกันคลื่นลอยน้ำแบบโฟมได้ทำการศึกษาที่ระยะจมน้ำที่ 50% และ 80% ด้วย ผลการทดลองพบว่า เขื่อนกันคลื่นลอยน้ำชนิดโฟมจมน้ำ 80% มีสัมประสิทธิ์การส่งผ่านคลื่น 0.58-0.97 ซึ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันคลื่นมากที่สุดในเขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำ ผลการศึกษาการเปรียบเทียบเขื่อนกันคลื่นแบบหินทิ้งกับเขื่อนกันคลื่นลอยน้ำชนิดโฟมจมน้ำ 80% พบว่าเขื่อนกันคลื่นแบบหินทิ้งสามารถลดสัมประสิทธิ์การส่งผ่านได้ดีกว่า (0.35-0.66) เนื่องจากความพรุนของเขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำและอัตราส่วนจมน้ำของเขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำส่งผลต่อสัมประสิทธิ์การส่งผ่านคลื่นรวมถึงลักษณะโครงสร้างที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามสัมประสิทธิ์การส่งผ่านคลื่นพบว่ามีค่าใกล้เคียงกันในความชันคลื่นบางช่วง

References

Bruce L. Mcartney, “Floa i B ak a D si ,” Jou al of Wa ay, Po , oas al, a Ocean Engineering, vol. 111, pp. 304-318, 1985.

Saengsupavanich C., “The design of breakwater for coastal protection,” Kasetsart University, Bangkok, 2015.

Saengsupavanich C., “The design of breakwater for coastal protection,” Kasetsart University, Bangkok, 2015.

Chuoikan M., 25 May 2016, “Physical properties of soils,” Source: https://krumanit.cmtc.ac.th/ main/index.php?option=com_content&view=article&id=75&Itemid=2, 2011.

D.P. Rizzetta, M. R. Visbal1 and G. A. Blaisdell, “A im -implicit high-order compact differencing and filtering scheme for large- y simula io ,” International Journal for Numerical Methods in Fluids, vol. 42, pp. 665–693, 2003.

A. Toffoli, M. Onorato, A.V. Babanin, E. Bitner-Greegrsen, A.R. OSBORNE and J. Monbaliu, “ co -Order Theory and Setup in Surface Gravity Waves: A Comparison with Exp im al Da a,” Jou al of Physical Oceanography, vol. 37, pp. 2726-2739, 2007.

T. A. A. Adcock and P. H. TAYLOR. 2009. “Es ima i oc a av i c io al sp a i f om a Eul ia su fac l va io im his o y,” Proceedings of The Royal Society, The Royal Society, University of Oxford, Unitied Kingdom pp. 3361-3381, 8 November 2009.

Mama V., “Wave characteristics of un-equally space pile breakwater,” Thesis, Chulalongkorn University, 2010.

H. Wang, H. Xu, P. Liu, J. Duan, H. Chen and B. Wang , “Experimental study on the dissipation Characteristics of curtain-type flexible floating breakwater ,” Journal of Coastal Research, vol. 73, pp. 410-414, 2015.

E. Peña, J. Ferreras and F.S. Tembleque, “Expimental study on wave transmission coefficient, mooring lines and module connector forces with different designs of floating breakwaters,” Ocean Engineering, vol. 38, pp. 1150–1160, 2011.

G. H. Dong, Y.N. Zheng, Y.C. Li, B. Teng, C.T. Guan and D.F. Lin , “Experiments on wave transmission coefficients of floating breakwaters,” Ocean Engineering , vol. 35, pp. 931–93, 2008.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-29

How to Cite

[1]
พลอยประดับ ป. และ ฤทธิ์พริ้ง ส., “การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเขื่อนกันคลื่น แบบลอยน้ำและแบบหินทิ้ง”, Eng. & Technol. Horiz., ปี 36, ฉบับที่ 1, น. 1–8, มี.ค. 2019.