Human & Computer Communication from Typing, Screen Touch, and Speech to Gesture
Main Article Content
Abstract
มนุษย์สามารถออกเสียงที่ซับซ้อน พูดคุยด้วยภาษาต่างๆ ทำให้มนุษย์สามารถสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยกันได้ ซึ่งต่างจากสัตว์ที่ไม่สามารถพูดคุยและแสดงความรู้สึกอย่างละเอียดอ่อนและซับซ้อนได้ เสียงมนุษย์ซึ่งอยู่ในรูปของสัญญาณที่ประกอบด้วยสารสนเทศสามารถส่งจากคนหนึ่งไปยังคนอื่นในระยะใกล้ได้ สัญญาณเหล่านี้อยู่ในย่านความถี่ต่ำ มีพลังงานน้อย ไม่สามารถส่งผ่านตัวกลางที่เป็นบรรยากาศของโลกแล้วสะท้อนไปที่ไกลๆ ได้ ต่อมามนุษย์มีความจำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกันในระยะที่ไกลขึ้น จึงเกิดความต้องการเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารทางไกล การสื่อสารทางไกลที่เรียกว่า โทรคมนาคมได้เริ่มขึ้นราวปลายศตวรรษที่ 19 โดยการนำสัญญาณที่อยู่ในย่านความถี่สูงที่สามารถส่งผ่านบรรยากาศไปในระยะไกลมาเป็นสัญญาณพาห์ (Carrier) เพื่อเป็นพาหะส่งสารสนเทศไปที่ไกลๆ ในเวลานั้นมนุษย์คิดค้นเทคนิคการสอดแทรกสารสนเทศลงในสัญญาณพาห์ที่เรียกกันว่า “มอดดูเลชั่น (Modulation)” หรือ “การกล้ำสัญญาณ” ในรูปแบบต่างๆ เช่น AM, FM, PM เป็นต้น ทำให้เทคโนโลยีการส่งสัญญาณไปสู่แดนไกลเกิดเป็นจริงขึ้น เมื่อมนุษย์สามารถส่งสารสนเทศโดยสัญญาณดังกล่าวไปยังมนุษย์ในที่ต่างๆ ที่อยู่ไกลในโลกนี้ได้ ธุรกิจที่เกี่ยวกับการสื่อสารจึงเกิดขึ้นจากเทคโนโลยีนี้ ได้แก่ กิจการวิทยุ กิจการโทรทัศน์ เป็นต้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
The articles published are the opinion of the author only. The author is responsible for any legal consequences. That may arise from that article.
References
S. Yeamkuan and K. Chamnongthai, “3D point-of-intention determination using a multimodal fusion of hand pointing and eye gaze for a 3D display,” SENSORS, vol. 21, pp. 1–31, 2021.
S. Yeamkuan, K. Chamnongthai, and W. Pichitwong, “A 3D point-of-intention estimation method using multimodal fusion of hand pointing, eye gaze and depth sensing for collaborative robots,” IEEE Sensors Journal, vol. 22, no. 3, pp. 2700–2710, 2022.