การออกแบบระบบการเรียนปฏิบัติสาขาวิชาชีพกลุ่มคอมพิวเตอร์ โดยใช้เทคนิคการแปลงหน้าที่เชิงคุณภาพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบระบบการเรียนปฏิบัติสาขาวิชาชีพกลุ่มคอมพิวเตอร์ โดยใช้เทคนิคการแปลงหน้าที่เชิงคุณภาพ ในการดำเนินงานได้แปลงความต้องการการเรียนการสอนกลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์ โดยใช้แบบสอบถามสำรวจความต้องการอาจารย์ผู้สอนกลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลเขตกรุงเทพและปริมณฑล เป็นตัวแทนของกลุ่มลูกค้า จำนวน 103 คน เพื่อนำข้อมูลความต้องการจากแบบสอบถามที่ได้มาประมวลผลบนตารางบ้านแห่งคุณภาพและทำการแปลงข้อมูลเข้าสู่ข้อกำหนดทางเทคนิค เพื่อใช้ในการออกแบบข้อกำหนดต่างๆ ในการพัฒนาระบบการเรียนปฏิบัติสาขาวิชาชีพกลุ่มคอมพิวเตอร์ ผลที่ได้คือ องค์ประกอบของระบบทั้ง 6 ส่วนโดยเรียงลำดับจากค่าความสำคัญของคุณลักษณะเฉพาะส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้ 1) ส่วนรูปแบบการสอน2) ส่วนวิเคราะห์ระดับความรู้ของผู้เรียน 3) ส่วนให้คำปรึกษา4) ส่วนข้อมูลผู้เรียน 5) ส่วนของคลังความรู้ และ 6)ส่วนโต้ตอบ
คำสำคัญ: การเรียนปฏิบัติ สาขาวิชาชีพกลุ่มคอมพิวเตอร์เทคนิคการแปลงหน้าที่เชิงคุณภาพ
Abstract
The objective of this research is to design and develop instructional system in the discipline of computer science via the technique of Quality Function Deployment (QFD). A questionnaire was used to survey science via the technique of Quality Function Deployment (QFD). A questionnaire was used to survey customer requirements. Customer representatives comprised 103 instructors from Rajamangala University of Technology in Bangkok Metropolis and its peripheral areas. The survey data in connection with customer requirements were analyzed using House of Quality (HOQ) matrix and transformed into technical requirements prior to the improvement of instructional framework for the discipline of computer science. Consequently, 6 dimensions were derived in the descending order, i.e. 1) pedagogical module 2) inference engine 3) mentoring aspect 4) student information 5) knowledge domain and 6) interface module.
Keyword: Practical Learning, Computer Disciplines,Quality Function Deployment (QFD)
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น