การพัฒนารูปแบบศักยภาพของผู้จัดการโครงการในอุตสาหกรรมก่อสร้างอาคารสูงในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบ พัฒนารูปแบบ และจัดทำคู่มือแนวทางการพัฒนาศักยภาพของผู้จัดการโครงการในอุตสาหกรรมก่อสร้างอาคารสูงในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi) โดยผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 26 คน คัดเลือกแบบเจาะจงเลือก ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญจากสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นนักวิชาการด้านวิศวกรรมโยธา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามปลายเปิดสำหรับการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ในรอบที่ 1 และแบบสอบถามปลายปิด รอบที่ 2 และ 3 โดยได้มีการประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 16 คน เพื่อประเมินรูปแบบ และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ประเมินคู่มือ สถิติวิเคราะห์ ที่ใช้ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัธยฐาน (Median) และค่าพิสัยระหว่างควลไทล์ (IQR) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบศักยภาพของผู้จัดการโครงการในอุตสาหกรรมก่อสร้างอาคารสูงในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก และ 24 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) ด้านการวางแผน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบย่อย คือ 1.1) การวางแผนการดำเนินงาน 1.2) การวางแผนด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 1.3) การวางแผนด้านความเสี่ยงและความปลอดภัย 1.4) การวางแผนการใช้ทรัพยากรดำเนินงาน และ 1.5 การวางแผนด้านการเงินและงบประมาณ 2) ด้านการจัดองค์การ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบย่อย คือ 2.1) การกำหนดโครงสร้างหน่วยงาน 2.2) การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ 2.3) การกำหนดระเบียบข้อบังคับ และ 2.4) การบริหารคนและบริหารงาน 3) ด้านการสั่งการ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบย่อย คือ 3.1) การมอบหมายงาน 3.2) การตัดสินใจ 3.3) การพัฒนาระบบการทำงาน 3.4) การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมก่อสร้าง และ 3.5) การสร้างขวัญและกำลังใจ 4) ด้านการประสานงาน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบย่อย คือ 4.1) การกำหนดการวางแผนร่วมกัน 4.2) การติดต่อประสานงานภายในและภายนอก 4.3) การสื่อสารด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ 4.4) การประชุมชี้แจงข้อมูล และ 4.5) การให้คำปรึกษาการทำงาน และ 5) ด้านการควบคุม ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบย่อย คือ 5.1) การกำหนดระบบการติดตามงาน 5.2) การบันทึกและรายงานข้อมูล 5.3) การควบคุมความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมการทำงาน 5.4) การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง และ 5.5) การบริหารสัญญา โดยมีผลการประเมินรูปแบบจากการจัดประชุมสนทนากลุ่มย่อย โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 16 คน มีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นว่ารูปแบบการพัฒนาศักยภาพของผู้จัดการโครงการในอุตสาหกรรมก่อสร้างอาคารสูงในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล มีความเหมาะสม และคู่มือแนวทางการพัฒนาศักยภาพของผู้จัดการโครงการในอุตสาหกรรมก่อสร้างอาคารสูงในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 ท่าน มีความคิดเห็นสอดคล้องกันทุกคนโดยเห็นว่าคู่มือมีความเหมาะสมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น
References
Kasikorn Bank. (2022, May). Construction Business Analysis 2022. [Online] (in Thai). Available: http://www.kasikornbank.com/th/business/ sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/ Pages/construction2022.aspx
I. Thanakijsombat and B. Julasai, “Condominiumsin Bangkok (1981–2017),” Sarasatr Academic Journal, vol. 3, no. 1, pp. 54–67, 2019.
Building Control Act. (2023, December). B.E.2522 (1979), Given on May 8, 1979, being the 34th year of the reign of His Late Majesty King Bhumibol Adulyadej [Online]. (in Thai). https://www.ubu.ac.th/web/filesup/00045f2021 030310303373.pdf
H. Fayol, General and Industrial Management. London: Sir Isaac Pitman & Sons., 1949.
S. Kasamjaru, T. Boonyasopon, M. Chuphaka, and S. Inthapichai, “The development of complete service construction business management model to enhance competitiveness capability” The Journal of KMUTNB, vol. 32, no. 2, 2022.
Y. Panitanwong, T. Boonyasopon, S. Wisuttipaet and T. Roopsing, “The development model of the management’s potential in construction service industry for Thailand 4.0,” According to the Country Model 4.0,” The Journal of KMUTNB, vol. 30, no. 2, 2020.
T. Akarathitiphong, “A model of managerial competency development for medium construction projects,” Ph.D. dissertation, Administration Program in Marketing, Siam University, 2013.
S. Panyawaew, C. Choitwong, and P. Attavinijtrakarn, “The potential development model of engineering system contractors in the construction industry,” Journal of MCU Humanities Review, vol.8 no. 1, 2022.
N. Khaodee, T. Boonyasopon, S. Wisuttipat, and S. Siengchin, “Competency Development Model for Cost Engineer in the Construction Industry,” The Journal of KMUTNB, vol. 34, no. 2, 2024.
N. Yamoat, A. Pongsuwan, and T. Triwong, “Factors affecting success of high rise building construction projects in administrators and practitioners’opinions,” Electronic Journal of Open and Distance Innovative Learning (e-JODIL), vol. 11, no. 12, pp. 225–239, 2021.
P. Intapichai, S. Wisuttipaet, T. Boonyasopon, and P. Attawinijtrakarn, “The Development of the essential competency model for safety manager in construction in the railway industry,” The Journal of KMUTNB, vol. 33, no. 3, 2023.
Y. Chonratana, “Residential high rise building construction management using critical success factors technique,” M.S. thesis, Engineering Management. Bangkok: Siam University, 2017.