การศึกษาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ของประเทศไทยบนแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก

Main Article Content

ศิวศิษฎ์ ปิจมิตร
ปริดา จิ๋วปัญญา
ภาคภูมิ ใจชมภู

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ การศึกษาสถานการณ์ปัญหาปัจจุบันของโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ของประเทศไทยตามเส้นทางตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor; EWEC) และวิเคราะห์ความต้องการโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) คัดเลือกผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคล และ 3) การสนทนากลุ่มที่คัดเลือกแบบการสุ่มแบบเจาะจง รวมทั้งหมด 40 หน่วยงาน โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาโดยใช้การวิเคราะห์ SWOT PESTEL และ TOWS Matrix รวมถึงการนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงกลยุทธ์ที่สามารถนำไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานได้ ซึ่งการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์เป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ดังนั้น จังหวัดที่ตั้งอยู่บริเวณเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจฯจึงถือเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่เชื่อมโยงการคมนาคม สาธารณูปโภค และการสาธารณสุข อันเป็นการส่งเสริมการค้าการลงทุน ระหว่างอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงได้เป็นอย่างดี จากการศึกษาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ของจังหวัดที่ตั้งอยู่บริเวณเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจฯของพบว่าเส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่สามารถเชื่อมโยงการขนส่งรูปแบบอื่นๆ ได้ เช่น มีเส้นทางรถไฟตัดผ่าน เป็นเส้นทางสนับสนุนการท่องเที่ยว เป็นเส้นทางที่เชื่อมด่านชายแดนระหว่างประเทศพม่า ประเทศไทย และประเทศลาว ซึ่งเป็นประตูการค้าการลงทุนที่สำคัญ แต่ปัญหาความไม่สมบูรณ์ของระบบโครงสร้างพื้นฐานบนเส้นทางนี้ คือ บางช่วงยังมีสภาพเป็นทาง 2 ช่องจราจร มีการกระจุกตัวของสถานศึกษาในเขตเมือง เกิดการหลั่งไหลของแรงงานต่างด้าวทำให้กระทบต่อปัญหาสาธารณสุข การขาดการบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำให้การดำเนินการล่าช้า เป็นต้น จากการวิเคราะห์ผลการศึกษาของเส้นทางได้มีข้อเสนอแนะแนวทางเชิงกลยุทธ์ เช่น การพัฒนาโครงข่ายเชื่อมโยงระบบขนส่ง การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมระหว่างเมือง การปรับปรุงโครงข่ายถนนให้มีความสะดวกปลอดภัย การสร้างเครือข่ายศูนย์ประสานงานบริการประชาชนเพื่อเชื่อมโยงข้อมูล การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม เป็นต้น ดังนั้นควรมีการบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรต่างๆ รวมทั้ง ผู้มีส่วนได้เสีย ที่จะต้องให้ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านวิศวกรรมศาสตร์

References

International Institute for Trade and Development (Public Organization). (2015). Sources, guidelines and measures for the development of special economic zones in the Thai border area. [Online] (in Thai). Available: https://www.boi. go.th/upload/content/BOI_November57_ 30162.pdf

P. Chitraphan and P. Teranantana, “Keepaneye on east – West Economic Corridor: Does Thailand Really get Benefit?,” in Proceedings of 2020 Journal of Economics Ramkhamhaeng University, Ramkhamhaeng University, 2020, pp. 35–42 (in Thai).

Private Sector and Special Affairs Cooperation Development Division Office of the Permanent Secretary for the Interior. (2014). the establishment of a special economic zone on the Kanchanaburi border. [Online] (in Thai). Available: http://www.jpp.moi.go.th/detail. php?section

M. Lord. (2009, May). East-west economic corridor (EWEC) strategy and action plan. Munich Personal RePEc Archive. Manila, Philippines. [Online]. Available: https://mpra. ub.uni-muenchen.de/41147/

P. Suvakuntan, K. Uthongsap, S. Lertpusit, and T. Bualom, “The impacts of maesot (Thailand) – Myawaddy special economic zone (Myanmar) under ASEAN economic community,” Political Science and Public Administration Journal, vol. 7, no. 2, pp. 30–44, 2016.

N. Phakdisorawit, P. Jaroennonthasit, and N. Vejchapunth, “Guidelines for the development of special economic zones A case study of the Management of Tak Province of Thailand,” Journal of Social Science for Local Rajabhat Mahasarakham University, vol. 5, no. 2, pp. 304–312, 2021 (in Thai).

D. Madani, A review of the role and impact of export processing zones. Development Research Group. Washington DC: The World Bank publication, 1999.

T. Boontod and C. Santivarangkana, “Factors influencing effectiveness in logistics management: A case study of mukdahan special economic zone,” Pathumthani University Academic Journal, vol. 10, no. 1, pp. 295–300, 2018 (in Thai).

K. Ampha and W. Chanwichit, “The development of East-West Economic Corridor (EWEC) route and collaborative planning process,” Journal of Roi Et Rajabhat University: Science and Technology, vol. 2, no. 1, pp. 1–14, 2021 (in Thai).

C. Kolitawong, C. Saengow, P. Koseeyaporn, and N. Moonpa “Scientific and technical workforce requirements in Thailand” The Journal of KMUTNB, vol. 28, no.3, pp. 699–712, 2018 (in Thai).