การปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงานโดยการจัดตารางแบบฮิวริสติกพลวัตในการจ่ายน้ำมันของคลังน้ำมัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้นำเสนอการปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงานโดยการจัดตารางการเติมน้ำมันให้กับรถบรรทุกน้ำมันที่เข้ามารับน้ำมันในคลังน้ำมันกรณีศึกษา โดยการจัดตารางการรับน้ำมันจะคำนึงถึงความสำคัญของปั๊มมากกว่าคำสั่งซื้อน้ำมัน และคำสั่งซื้อที่ถูกจัดตารางเป็นคำสั่งซื้อที่สามารถรับน้ำมันได้หลายชนิดในเวลาเดียวกัน ประกอบกับการใช้งานปั๊มที่ปั๊มแต่ละตัวสามารถจ่ายน้ำมันให้กับรถบรรทุกน้ำมัน 2–5 คันพร้อมๆ กัน ซึ่งกระบวนการจัดตารางจะเป็นแบบฮิวริสติกพลวัต (Dynamic Heuristic) โดยอาศัยกฎ Least Operation Remaining และ Largest Total Processing Time ในการจัดลำดับความสำคัญของใบคำสั่งซื้อ และการจัดตารางเวลาที่คำนึงถึงจำนวนหัวจ่ายที่ถูกใช้งาน งานที่เหลืออยู่ในระบบและการใช้พลังงานของปั๊มที่เปลี่ยนแปลงตามเวลา จากการจัดตารางด้วยฮิวริสติกพลวัตทั้งหมด 2 วิธี พบว่า ค่าพลังงานที่ใช้ต่อปริมาณน้ำมัน 1 ลิตรลดลงร้อยละ 42 จากการใช้พลังงานเฉลี่ยเดิม 0.42 วัตต์ชั่วโมงต่อลิตร เหลือเพียง 0.24 วัตต์ชั่วโมงต่อลิตร มีผลให้ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเฉลี่ยของปั๊มเป็นจำนวนเงิน 199,006.25 บาทต่อเดือน ทั้งนี้การจัดตารางดังกล่าวดำเนินการภายใต้กระบวนการจัดตารางที่รู้จำนวนงานล่วงหน้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนงานระหว่างการจัดตารางที่ถูกออกแบบโดยการคำนึงถึงลักษณะทางกายภาพของคลังน้ำมันเป็นหลัก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น
References
S. S Panwalkar, and W. Iskander, “A survey of scheduling rules,” Operations Research, vol. 25, no.1, pp. 45–61, 1977.
P. Chutima, Operation Scheduling Techniques, Chulalongkorn University Press, BKK, Thailand, 2012 (in Thai).
C. C. New, “Job shop scheduling: Is application of dispatching rules feasible?,” Journal of the Operational Research Society, vol. 26, no. 1, pp. 35–43, 1975.
P. Phatapipong, P. Sachakamol, and A. Treerattrakoon, “Production scheduling using hybrid heuristics method: A case study of ready-mixed concrete plant,” Engineering Journal Chang Mai University, vol. 25, no. 1, pp. 226–233, 2018 (in Thai).
T. C. Papadopoulou, “Application of lean scheduling and production control in nonrepetitive manufacturing system using intelligent agent decision support,” Ph.D Philosophy, Brunel University, Kingston Ln, London, Uxbridge UB8 3PH, UK, 2013.
Y. Nakpathom, “A study of job shop production scheduling on textile industry,” M.S. thesis, Industrial Engineering and Management, Faculty of Engineering and Industrial Technology, Silpakorn University, Bangkok, 2012 (in Thai).
S. Butdee, C. Numtong and P. Pareyai, “The hybrid heuristic scheduling for the best productivity,” in IE Network 2007, Prince of Songkla University, Songkla, 2007, pp. 1421–1426.
A. Chaimanee and W. Supithak, “Flexible flow shop scheduling problem with sequence dependent setup time under just-in-time philosophy,” The Journal of KMUTNB, vol. 25, no. 2, pp. 220–231, 2015 (in Thai).