การประเมินความผิดพลาดของการติดตั้งสลักย้ำอากาศยานด้วยการวิเคราะห์ต้นไม้แห่งความล้มเหลว
Main Article Content
บทคัดย่อ
โครงสร้างอากาศยานหลายชิ้นส่วนถูกยึดเข้าด้วยกันอย่างถาวรด้วยสลักย้ำอากาศยาน (Aircraft Riveting) หากชิ้นส่วนหนึ่งส่วนใดได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุ (Accident) หรือ การกัดกร่อน (Corrosion) ผู้ปฏิบัติหน้าที่นายช่างภาคพื้นดินจำเป็นต้องมีความชำนาญในการย้ำสลัก (Rivet Installation) โดยการย้ำสลักมีขั้นตอนที่เป็นมาตรฐานในการติดตั้ง แต่อย่างไรก็ตามขั้นตอนมาตรฐานดังกล่าวไม่ได้อธิบายวิธีการอย่างละเอียด ทำให้การฝึกปฏิบัติย้ำสลักต้องใช้ระยะเวลาและประสบการณ์ ดังนั้นงานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาสาเหตุความผิดพลาดของขั้นตอนการฝึกปฏิบัติย้ำสลักด้วยการวิเคราะห์ต้นไม้แห่งความล้มเหลว (Fault Tree Analysis : FTA) แล้วนำผลการประเมินความผิดพลาดนี้ไปพัฒนาขั้นตอน หรือเทคนิควิธีการฝึกปฏิบัติย้ำสลัก อาจจะทำให้ผู้ฝึกปฏิบัติเกิดความเข้าใจและมีความชำนาญได้รวดเร็ว ซึ่งงานวิจัยนี้ได้รวมบรวมข้อมูลการประเมินผลงานและขั้นตอนการปฏิบัติงานของนักศึกษาหลักสูตรนายช่างบำรุงรักษาอากาศยาน สถาบันการบินพลเรือน ประจำปีการศึกษา 2561 จำนวน 10 ชิ้นงาน ชิ้นงานฝึกปฏิบัติถูกติดตั้งสลักย้ำจำนวน 6 ตัวต่อหนึ่งชิ้นงาน โดยเลือกใช้สลักย้ำทั่วไป (Common Solid Shank Rivet) รหัส AN470AD4-4 ยึดกับแผ่นอะลูมิเนียมผสมรหัส 2024-T3 จำลองเป็นพื้นผิวโครงสร้างอากาศยาน จากนั้นนำข้อมูลดังกล่าวที่ถูกประเมินตามมาตรฐานแล้ววิเคราะห์ FTA และคำนวณหาค่าโอกาสการเกิดเหตุการณ์ ซึ่งผลการวิเคราะห์ต้นไม้แห่งความล้มเหลวสามารถแยกลักษณะความเสียหายได้เป็น 3 ลักษณะได้แก่ ความเสียหายต่อพื้นผิวของชิ้นงาน, ความเสียหายต่อหัวสลักยำและความเสียหายต่อแกนสลักย้ำ ผลการคำนวณความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์และโอกาสการเกิดเหตุการณ์พบว่าเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อความเสียหายมากที่สุด คือ ความเสียหายต่อหัวสลักย้ำมีโอกาสเกิดเหตุการณ์มากที่สุดอยู่ที่ร้อยละ 76 ซึ่งเหตุการณ์ย่อยที่ส่งผลต่อความเสียหายมากที่สุด คือ หัวสลักย้ำไม่แนบชิดกับชิ้นงาน โดยมีสาเหตุพื้นฐานมาจากปืนสลักย้ำไม่คงที่ ซึ่งทำให้ปืนสลักย้ำเลื่อนออกจากหัวสลักย้ำแล้วปืนสลักย้ำกระแทกหัวสลักย้ำเอียง หรือ ไม่ตรงหัวสลักย้ำ โดยสาเหตุพื้นฐานของเหตุการณ์อื่นๆ เกิดจาก ผู้ปฏิบัติตั้งค่าแรงดันลมของปืนไม่ถูกต้องและร่างแบบเจาะไม่ถูกต้องส่งผลทำให้ได้แบบเจาะไม่เป็นไปตามแบบ ดังนั้นผู้วิจัยแนะนำให้ผู้ฝึกสอน สอนเน้นเทคนิคการใช้งานและควบคุมปืนสลักย้ำเพิ่มเติม เพื่อลดความผิดพลาดและความเสียหายของการติดตั้งสลักย้ำอากาศยาน หรือ ปรับปรุงขั้นตอนการฝึกปฏิบัติให้ละเอียดกว่าเดิม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น
References
T. Weerasombat, “Technicians’ skills demands in robotic and aviation (MRO) industries,” Human Resource and Organization Development Journal, vol. 12, no. 2, pp. 1–25, 2020 (in Thai).
N. Bonacci, Aircraft Sheet Metal. Frankfurt. GERMANY: Jeppesen Sanderson, 1987.
L. Reithmaier, Standard Aircraft Handbook for Mechanics and Technicians. McGraw Hill, 1999.
D. Hurst, Aircraft Structural Technician. Virginia: Avotek, 2001.
R. L. Brauer, Safety and Health for Engineers. New Jersey: Wiley, 2016.
P. Buapim and A. Ketsakorn, “Risk assessment by the fault tree analysis (FTA) and analytic hierarchy process (AHP) of infectious waste management in health promoting hospital,” The Journal of KMUTNB, vol. 29, no. 3, pp. 465–480, 2019 (in Thai).
X. Shu, Y. Guo, H. Yang, H. Zou, and K. Wei, “Reliability study of motor controller in electric vehicle by the approach of fault tree analysis,” Engineering Failure Analysis, vol. 121, pp. 105–165, 2021.
C. Theeraviriya, “Loss reduction in wire bonding process using risk management framework,” Journal of Science and Technology Ubon Ratchathani University, vol. 19, no. 2, pp. 86–97, 2017 (in Thai).
A. Lakhotia, R. Chang, D. Santos, and C. Greene, “Fault tree analysis to understand and improve reliability of memory modules used in data center server rack,” in Proceedings FAIM, 2020, pp. 989–997.
C. Thavornwat, R. Kanchana, S. Jarupinyo, and V. Wattanajitsiri, “The defect reduction in wire parts process for car seat,” Thai Industrial Engineering Network Journal, vol. 3, no. 1, pp. 25–33, 2017 (in Thai).
T. Somsirikanjanakoon and A. Inthadok, “Productivity improvement by maintenance techniques,” Thai Industrial Engineering Network Journal, vol. 1, no. 1, pp. 23–30, 2015 (in Thai).
Eastwood. (2016). Rivet Bucking Bar. [Online]. Available: https://www.eastwood.com/rivetbucking- bar.html
FAA. (2018). Aviation Maintenance Technician Handbook Airframe. USA. [Online]. Available: https://www.faa.gov/regulations_policies/ handbooks_manuals/aviation/media/amt_airframe_ hb_vol_1.pdf