ปัจจัยด้านการบริหารงานและความเชื่อมั่นที่มีผลต่อการจ้างเหมาบริการซ่อมบำรุงเครื่องจักรอุตสาหกรรมในยุคดิจิทัล

Main Article Content

Supatta Pinthapataya
Teerawat Boonyasopon
Jutharat Pinthapataya

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารงานบริการซ่อมบำรุงเครื่องจักรของการบริการรับจ้างเหมา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยความเชื่อมั่นในการจ้างเหมาการบริการซ่อมบำรุงเครื่องจักรที่มีผลต่อการจ้างเหมาบริการซ่อมบำรุงเครื่องจักร การวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลในการการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มที่ 1 ได้แก่ พนักงานระดับหัวหน้างานในหน่วยงานซ่อมบำรุงและผู้บริหารในอุตสาหกรรมที่มีเครื่องจักรขนาดใหญ่ในเขตอุตสาหกรรมภาคตะวันออก เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามด้านการบริหารของผู้รับเหมา กลุ่มที่ 2 ได้แก่ผู้บริหารที่มีอำนาจในการจ้างงาน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามความเชื่อมั่นในการจ้างเหมา แบบสอบถามใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า T-Test และ One-Way ANOVA และ กลุ่มที่ 3 ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการซ่อมบำรุง เพื่อขอความเห็นชอบต่อปัจจัยการบริหารงานและปัจจัยความเชื่อมั่นที่มีผลต่อการจ้างเหมาบริการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในยุคดิจิทัล ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มที่ 1 ให้ความสำคัญต่อปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการจ้างเหมาบริการซ่อมบำรุงเครื่องจักรเรียงลำดับ ได้แก่ 1) ด้านการวางแผน 2) ด้านการสั่งงาน 3) ด้านการจัดองค์กร 4) ด้านการติดตามประเมินผล และ 5) ด้านการประสานงาน ตามลำดับ กลุ่มที่ 2 ให้ความสำคัญต่อปัจจัยความเชื่อมั่นที่มีผลต่อการจ้างเหมาบริการซ่อมบำรุงเครื่องจักร เรียงลำดับ ได้แก่ 1) ด้านคุณภาพของงานซ่อมบำรุง 2) ด้านการดำเนินการตามสัญญาว่าจ้าง (TOR) 3) ด้านคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน 4) ด้านการทำงานเป็นทีม และ 5) ด้านการใช้เทคโนโลยีในการซ่อมบำรุง และเมื่อนำมาจัดเรียงอันดับ พบว่า ด้านการใช้เทคโนโลยีในการซ่อมบำรุง มีอันดับความสำคัญ มากกว่า ด้านการทำงานเป็นทีม กลุ่มที่ 3 ผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้ความเห็นชอบในระดับความสำคัญของปัจจัยการบริหารงานของผู้รับเหมาและปัจจัยความเชื่อมั่นของผู้จ้างเหมาที่มีผลต่อการจ้างเหมาบริการซ่อมบำรุงเครื่องจักรด้วยมติเป็นเอกฉันท์ โดยให้การยอมรับการจัดเรียงอันดับปัจจัยความเชื่อมั่นว่ามีความเหมาะสมในการนำไปใช้เป็นปัจจัยในการตัดสินใจจ้างเหมาบริการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในทุกกรณี

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม

References

[1] S. Naewlar and S. Sangmahachai, “Outsourcing management in Thai electricity public enterprises: A case studyof the electricity generating authority of Thailand (EGAT), the metropolitan electricity authority (MEA), and theprovincial electricity authority (PEA),” Dhammathas Academic Journal, vol. 19, no. 3, 2019 (in Thai).

[2] B. Watchrakul. (2008). Outsourcing strategy information technology. [Online]. (in Thai). Available: https://techspace.co.th/blog/2017/08/itoutsourcing/

[3] S. Farangthon. (2005). Which organization should lead outsourcing to use. [Online] Available: www.nidambe11.net/ekonomiz/2005q1/article2005february24p5.htm

[4] S. Assaf, A. Mohammad, Ab. Hassanianl, M. Al-Hammad, and A. Al Nehmi, “Factorsaffecting outsourcing decisions ofmaintenance service in Saudi Arabianuniversities,” Property Management, vol. 29, no. 2, pp. 195–212, 2011.

[5] T. Boonyasopon, S. Yuphong, and P. Atawinijtrakarn, “Development of a maintenance management model for small and medium manufacturing enterprises: Case study air-conditioner factory,” The Journal of KMUTNB, vol. 24, no. 3, pp. 657–666, 2014 (in Thai).

[6] L. Dominguez, The Manager’s Step-by-Step Guide to Outsourcing. NewYork: McGraw-Hill, 2005.

[7] S. Jangruxsakul and P. Pecharak, “Astudy of factors affecting decision making on outsourcing service in logistics of auto part industry,” in the 13th KU-KPS Conference, 2016, pp. 1385–1394 (in Thai).

[8] P. Plongputsa, “A survey study of contractingout highway - routine maintenance work of Nakhon Ratchasima highway authority 2,” M.Eng. thesis, Civil Engineering, Institute of Engineering, Suranaree University of Technology, 2013 (in Thai).

[9] A. Harris, L. C. Giunipero, and G. T. M. Hult, “Impact of organizational and contract flexibility on outsourcing contracts,” Industrial Marketing Management, vol. 27, no. 5, pp. 373–384, 1998.

[10] M. Yongrakkiat and S. Chongthamchinda, “Success factors affecting the selection of external resources in the field of aircraft maintenance,” B.Sc., Faculty of Engineering, Kasetsart University, 2010 (in Thai).

[11] F. M. Corbett, (2004). The Outsourcing Resolution: getAbstract. [Online] Available: https://www.economist.com/media/globale x ecutive/outsourcing_revolution_e_02.pdf

[12] T. Kremic, O. I. Tukel, and O. W. Rom, “Outsourcing decision support: A survey of benefits, risks, and decision factors,” Supply Chain Management, vol. 11, no. 6, pp. 467–482, 2006.

[13] M. F. Greaver, Strategic Outsourcing: A Structured Approach to Outsourcing Decisions and Initiatives. Amacom, 1999.

[14] V. Wijit, N. Kanjanawatcharakul, and B. Mekapiganon, “Management of mechanical maintenance outsource affecting customer satisfaction,” Special Problem, Department of Industrial Business and Human Resource Development, Faculty of Business and Industrial Development, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, 2016 (in Thai).