แนวทางความสำเร็จในการพัฒนาธุรกิจเพื่อรองรับไทยแลนด์ 4.0 ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางความสำเร็จในการพัฒนาธุรกิจเพื่อรองรับไทยแลนด์ 4.0 ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม ผลการวิจัยสรุปตามขั้นตอนได้ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับแนวทางความสำเร็จในการพัฒนาธุรกิจเพื่อรองรับไทยแลนด์ 4.0 ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พบว่า ตัวชี้วัดการพัฒนาธุรกิจเพื่อรองรับไทยแลนด์ 4.0 ประกอบด้วย 1) การเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ 2) การเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางธุรกิจ 3) การแปลงระบบดิจิทัล และ 4) การเปลี่ยนแปลงทรัพยากรมนุษย์ และตัวชี้วัดความพร้อมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อรองรับไทยแลนด์ 4.0 ประกอบด้วย 1) ศักยภาพทางการแข่งขัน 2) การวัดผลการดำเนินงานทางการเงิน 3) ความยืดหยุ่น 4) การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด 5) นวัตกรรม และ 6) คุณภาพการบริการ ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางความสำเร็จในการพัฒนาธุรกิจเพื่อรองรับไทยแลนด์ 4.0 ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พบว่า 1) ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 36-45 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี มีจำนวนพนักงานต่ำกว่า 20 คน มีทุนจดทะเบียนครั้งแรกและทุนจดทะเบียนในปัจจุบันไม่เกิน 25 ล้านบาท ระยะเวลาที่ประกอบธุรกิจ SMEs มากกว่า 20 ปีขึ้นไป ลักษณะของธุรกิจ SMEs เป็นกิจการให้บริการ ประเภทของอุตสาหกรรมเป็นกลุ่มการบริการ 2) ผลความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจเพื่อรองรับไทยแลนด์ 4.0 โดยรวมและรายด้านของผู้ประกอบการ SMEs อยู่ในระดับมาก 3) ผลความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 4) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจเพื่อรองรับไทยแลนด์ 4.0 ของผู้ประกอบการ SMEs พบว่า ผู้ประกอบการที่มีทุนจดทะเบียนครั้งแรก ระยะเวลาที่ประกอบธุรกิจ SMEs ลักษณะของธุรกิจ SMEs ประเภทธุรกิจอุตสาหกรรม ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจเพื่อรองรับไทยแลนด์ 4.0 โดยรวม แตกต่างกัน 5) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของผู้ประกอบการ SMEs พบว่า ผู้ประกอบการที่มีจำนวนพนักงาน ทุนจดทะเบียนครั้งแรก ทุนจดทะเบียนในปัจจุบัน ระยะเวลาที่ประกอบธุรกิจ SMEs ลักษณะของธุรกิจ SMEs ประเภทธุรกิจอุตสาหกรรม แตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยรวม แตกต่างกัน 6) การพัฒนาธุรกิจเพื่อรองรับไทยแลนด์ 4.0 มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับผลการดำเนินงานของ SMEs โดยรวม และมีตัวแปรที่พยากรณ์โดยเรียงตามลำดับได้ ดังนี้ ด้านการเปลี่ยนแปลงระบบดิจิทัล ด้านการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางธุรกิจ ด้านการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรมนุษย์ และด้านการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น
References
[2] S. Maesincee, (2018, Novermber). Editing Thailand 4.0 Code, Create a New Economy Step over the trap Middle Income. [Online]. Available: https://www.thairath.co.th/content/613903
[3] Ministry of Education Thailand. (2018, Novermber.). Education in the era of Thailand 4.0. [Online]. Available: www.moe.go.th
[4] The Office of SMEs Promotion, SMEs Situation Report 2018. Bangkok: The Office of SMEs Promotion, 2019 (in Thai).
[5] Bank of Thailand, “Economic recovery in the new normal,” BOT Phra Siam Magazine, vol. 43, no. 3, pp. 1–60, 2020 (in Thai).
[6] The Office of SMEs Promotion, SMEs Situation Report 2018. Bangkok: The Office of SMEs Promotion, 2019 (in Thai).
[7] T. Yamane, Elementary Sampling Theory, (1st ed.). New Jersey: Prentice Hall, Inc., 1967.
[8] S. Malisuwan, “Digital transformation for Thailand 4.0,” NBTC Journal, Special Articles, pp. 24–42, 2018 (in Thai).
[9] P. F. Buller and G. M. McEvoy, “Strategy human resource management and performance: Sharpening line of sight,” Human Resource Management Review, vol. 22, no. 1, p. 43–56, 2012.
[10] N. Hamadi, G. Abderraouf, and R. Nadira, “The impact of leadership on creativity and innovation,” International Journal of Humanities and Social Science Invention, vol. 6, no. 6, pp. 55–62, 2017.
[11] W. Tengwongwattana, “Service quality, price consciousness, brand image, and word of mouth affecting the decision to use private companies’ domestic parcel shipping services of customers in Bangkok,” M.S. thesis, School of Business Administration, Bangkok University, 2015 (in Thai).
[12] K. Yaemnam, “Barriers and possible solutions for small and medium-sized family-owned enterprises to digital tranformation,” M.S. thesis, Information Technology Management and Policy, College of Innovation, Thammasat University, 2017 (in Thai).
[13] Brian Solis and Altimeter Group. (2016). State of Digital Transformation Report [Online]. Available: https://www.slideshare.net/42medien/the-2016-state-of-digital-transformationaltimeter
[14] B. Piphop and C. Kusalasaiyanon, “The effect of employees’ innovation work behavior on business performance of small and medium enterprises in Thailand,” The Journal of KMUTNB, vol. 30, no. 2, pp. 333–342, 2019.