การประเมินปริมาณฝนสูงสุดที่อาจเป็นไปได้ของเขื่อนรัชชประภา และเขื่อนบางลาง

Main Article Content

Apinyaporn Intavong
Chaiyapong Thepprasit

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประเมินปริมาณฝนสูงสุดที่อาจเป็นไปได้ (Probable Maximum Precipitation; PMP) โดยวิธีการเคลื่อนย้ายพายุฝน และวิธีทางสถิติในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย โดยทำการศึกษาในพื้นที่รับน้ำฝนของเขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา และทำการเปรียบเทียบผลการประเมินค่า PMP ทั้งสองวิธีและผลการศึกษาในอดีต ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ข้อมูลพายุที่เคยเกิดขึ้น และมีอิทธิพลสูงสุดต่อพื้นที่ภาคใต้รวมจำนวน 14 ลูก และพิจารณาร่วมกับข้อมูลอุณหภูมิจุดน้ำค้าง เพื่อคำนวณหาค่าปริมาณน้ำในบรรยากาศที่อาจเป็นไปได้สูงสุด และข้อมูลปริมาณฝนสูงสุดช่วงเวลา 1 วัน 2 วัน และ 3 วัน ที่สถานีวัดน้ำฝน สำหรับผลการศึกษาประเมิน PMP โดยวิธีเคลื่อนย้ายพายุฝนพบว่า พายุฝนที่ให้ค่า PMP สูงสุดสำหรับช่วงเวลา 1 วัน 2 วัน และ 3 วัน ได้แก่ พายุดีเปรสชันรหัส 076 เกิดระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม ถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2512 โดยมีศูนย์กลางพายุใกล้กับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อเคลื่อนย้ายพายุดังกล่าวไปยังเขื่อนรัชชประภาให้ค่า PMP เท่ากับ 892.74, 1,254.45 และ 1,510.91 มิลลิเมตร ตามลำดับ และเมื่อเคลื่อนย้ายพายุฝนไปยังเขื่อนบางลางให้ค่า PMP เท่ากับ 575.13, 808.15 และ 973.38 มิลลิเมตร ตามลำดับ สำหรับผลการศึกษาประเมิน PMP โดยวิธีทางสถิติพบว่า สถานีวัดน้ำฝนรหัส 610062 ตำบลท่าขนอน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสถานีที่ให้ค่า PMP สูงสุดสำหรับช่วงเวลา 1 วัน 2 วัน และ 3 วัน สำหรับพื้นที่รับน้ำของเขื่อนรัชชประภา มีค่าเท่ากับ 734.90, 1,205.13 และ 1,829.36 มิลลิเมตร และสถานีวัดน้ำฝนรหัส 710101 ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา เป็นสถานีที่ให้ค่า PMP สูงสุดสำหรับช่วงเวลา 1 วัน 2 วัน และ 3 วัน ของพื้นที่รับน้ำเขื่อนบางลางมีค่าเท่ากับ 612.80, 960.06 และ 1,292.97 มิลลิเมตร เมื่อทำการเปรียบเทียบผลทั้งสองวิธีพบว่า การประเมิน PMP โดยวิธีทางสถิติให้ค่า PMP ที่สูงกว่าวิธีเคลื่อนย้ายพายุฝน คิดเป็นร้อยละ 21.08 สำหรับเขื่อนรัชชประภา และร้อยละ 32.83 สำหรับเขื่อนบางลาง และเมื่อทำการเปรียบเทียบผลการศึกษา PMP เดิม ของเขื่อนรัชชประภา และเขื่อนบางลาง พบว่า วิธีทางสถิติยังคงให้ค่าที่สูงกว่า วิธีเคลื่อนย้ายพายุฝน จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สำหรับพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งปริมาณฝนโดยมากเกิดจากอิทธิพลของร่องความกดอากาศต่ำ มากกว่าพายุฝน การใช้วิธีทางสถิติในการประเมินค่า PMP ให้ค่าที่เหมาะสมต่อการนำไปวิเคราะห์ปริมาณน้ำหลากสูงสุดที่อาจเป็นไปได้ (Probable Maximum Flood; PMF) มากกว่าวิธีการเคลื่อนย้ายพายุฝน เนื่องจากโดยทั่วไปการออกแบบอาคารระบายน้ำล้นของเขื่อนของใหญ่ที่ต้องการความปลอดภัยสูง การประเมินปริมาณน้ำหลากจะพิจารณาในกรณีที่เกิดภาวะวิกฤติสูงสุด (Extreme Flood Event)

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านวิศวกรรมศาสตร์

References

[1] WMO, “Manual on Estimation of Probable Maximum Precipitation (PMP),” Geneva, Switzerland, WMO Report No. 1045, 2009.

[2] C. Jothityangkoon, C. Hirunteeyakul, K. Boonrawd, and M. Sivapalan, “Assessing the impact of climate and land use changes on extreme floods in a large tropical catchment,” Journal of Hydrology, vol. 490, pp. 88–105, 2013.

[3] Thai Meteorological Department. (2017). Tropical cyclone in Thailand. Thai Meteorological Department. Bangkok, Thailand [Online] Available: https://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=24

[4] P. Aueteerasarun, K. Sukosi, C. Thepprasit, and N. Marjang, “Probable maximum precipitation and probable maximum flood,” in Proceedings THAICID NATIONAL SYMPOSIUM, Bangkok, 2018, pp. 92–102 (in Thai).

[5] N. Wangwongwiroj and C. Khemngoen, ”Probable maximum precipitation for northern and northeastern parts of Thailand,” KMUTT Research and Development Journal, vol. 40, no. 2, pp. 255–270, 2017 (in Thai).

[6] E. M. Hansen, F. K. Schwarz, and J. T. Riedel, “Probable maximum precipitation estimates, Colorado River and Great Basin drainages,” U.S. Government Printing Office, Washington, D.C., hydrometeorological Report No. 49, 1984.

[7] Hydrometeorological Branch Office of Hydrology Weather Bureau, “Probable Maximum Precipitation, Mekong River Basin,” U.S. Government Printing Office, Washington, D.C., hydrometeorological Report No. 46, 1970.

[8] W.M. Gray, ”Global view of the origin of tropical disturbances and storms,” Monthly Weather Review, vol. 96, no. 10, pp. 669–700, 1968.

[9] S. R. Chavana and V. V. Srinivasa, “Probable maximum precipitation estimation for catchments in Mahanadi river basin,” Aquatic Procedia, vol. 4, 2015, pp. 892–899.

[10] D. M. Hershfield, ”Method for estimating probable maximum rainfall,” Journal American Water Works Association, vol. 57, no. 8, pp. 965–972, 1965.

[11] V.T. Chow, D.R. Maidment, and L.W. Mays, “Frequency analysis,” in Applied Hydrology, McGraw-Hill, Inc., 1988, pp. 389–391.

[12] D. M. Hershfield, ”Estimating the probable maximum precipitation,” Journal of the Hydraulic Division, vol. 87, no. 5, pp. 99–116, 1961.

[13] L. L. Weiss, “Ratio of true to fixed interval maximum rainfall,” Journal of the Hydraulics Division, vol. 90, no. 1, pp. 77–82, 1964.

[14] Sverdrup & Parcel International, Inc., “Pattani River Project Feasibility,” Royal Irrigation Department, Thailand, 1969.