การศึกษาเชิงเทคนิคระบบกักเก็บความเย็นร่วมกับสารเปลี่ยนสถานะสำหรับการปรับอากาศภายในอาคาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการทำงานเบื้องต้นของระบบกักเก็บความเย็นด้วยสารเปลี่ยนสถานะสำหรับการปรับอากาศ โดยนำระบบกักเก็บความเย็นทำงานร่วมกับระบบทำความเย็นขนาด 11,601 บีทียูต่อชั่วโมง ที่ความถี่ไฟฟ้า 50 เฮิรตซ์ ในห้องปฏิบัติการที่ได้รับมาตรฐาน ISO 17025 บริษัท บิทไว้ส์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อทดสอบประสิทธิภาพในการกักเก็บความเย็นของระบบ จากผลการทดสอบพบว่าในกระบวนการประจุความเย็นของเครื่องกักเก็บความเย็น ใช้ระยะเวลาเฉลี่ย 45 นาที สามารถทำให้สารเปลี่ยนสถานะเย็นตัวลงได้อุณหภูมิ -3.42 องศาเซลเซียส สำหรับการทดสอบกระบวนการคายความเย็นของเครื่องกักเก็บความเย็น โดยควบคุมอากาศที่ไหลผ่านให้มีอุณหภูมิอยู่ที่ 30 องศาเซลเซียส ที่ความเร็วลมเฉลี่ย 2.30 เมตรต่อวินาที พบว่าสามารถลดอุณหภูมิอากาศลงได้สูงสุด 10.37 องศาเซลเซียส คิดเป็นค่าเฉลี่ยผลต่างประมาณ 3.90 องศาเซลเซียส ซึ่งระบบจะหยุดคายความเย็น เมื่ออุณหภูมิสารเปลี่ยนสถานะเท่ากับ 30 องศาเซลเซียส โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 30 นาที และมีประสิทธิภาพการกักเก็บความเย็นอยู่ที่ร้อยละ 67.91 คิดเป็นปริมาณพลังงานเฉลี่ย 2,910.12 บีทียูต่อชั่วโมง ดังนั้นระบบกักเก็บความเย็นร่วมกับสารเปลี่ยนสถานะสามารถนำมาใช้ในการปรับอากาศภายในกรอบอาคารคอนกรีตมวลเบาได้ และจะทำการศึกษาความเป็นไปได้ของระบบกักเก็บความเย็นร่วมกับสารเปลี่ยนสถานะโดยใช้แหล่งพลังงานการระบบเซลล์แสงอาทิตย์แบบผสมผสานได้ในอนาคต
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น
References
[2] F. Souayfane, F. Fardoun, and P.-H. Biwole, “Phase change materials (PCM) for cooling applications in buildings: A review,” Energy and Buildings, vol. 129, pp. 396–431, 2016.
[3] A. Castell, I. Martorell, M. Medrano, G. Pérez, and L.F.Cabeza, “Experimental study of using PCM in brick constructive solutions for passive cooling,” Energy and Buildings, vol. 42, no. 4, pp. 534–540, 2010.
[4] S. A. Memon, “Phase change materials integrated in building walls: A state of the art review,” Renewable and Sustainable Energy Reviews, vol. 31, pp. 870–906, 2014.
[5] P. Evans. (2017, December). Cooling Load Calculation – Cold Room. [Online]. Available: theengineeringmindset.com/cooling-loadcalculation-cold-room
[6] V. Palomba, V. Brancato, and A. Frazzica, “Experimental investigation of a latent heat storage for solar cooling applications,” Applied Energy, vol. 199, pp. 347–358, 2017.
[7] N. Ozisik. (2018, July). Steady heat conduction. [Online]. Available: cecs.wright.edu/~sthomas/htchapter03.pdf