คุณสมบัติเชิงกลและต้นทุนด้านวัสดุของคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็กที่มีค่ากำลังรับแรงดึงต่างกัน

Main Article Content

Suriyawan Kongtun
Piti Sukontasukkul
Wisoot Jiradamkerng

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติเชิงกลและต้นทุนด้านวัสดุของคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็กที่มีค่ากำลังรับแรงดึงและสัดส่วนผสมที่แตกต่างกัน โดยไฟเบอร์ที่นำมาใช้ประกอบด้วยเส้นใยเหล็ก 3 ชนิด ที่มีค่ากำลังรับแรงดึง 1225, 1800 และ 2300 MPa โดยนำผสมกับคอนกรีตที่มีค่ากำลังรับแรงอัด 28, 35 และ 60 MPa ในสัดส่วนผสมของเส้นใยที่ 30, 40 และ 50 กก/ลบ.ม จากนั้นทำการทดสอบกำลังรับแรงอัดของตัวอย่างที่อายุ 28 วัน นำค่าที่ได้มาศึกษาผลกระทบของปริมาณและชนิดของเส้นใยต่อกำลังรับแรงอัดของคอนกรีตเสริมเส้นใยในคอนกรีตที่มีกำลังอัดพื้นฐานต่างกัน จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์เชิงต้นทุนด้านวัสดุที่นำไปสู่การเลือกชนิดและปริมาณของเส้นใยที่เหมาะสมเพื่อให้กำลังรับแรงอัดตามที่ต้องการในราคาที่เหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านวิศวกรรมศาสตร์

References

[1] P. Sukontasukkul, Concrete. Pathum Thani: Wankawee Publisher, 2013 (in Thai).

[2] P. Balugaru and S.P. Shah, Fibre Reinforced Cement Composites. McGraw-Hill, 1992.

[3] A. Bentur and S. Mindess, “Fiber reinforced cementitious composites,” Journal of Cement and Concrete Research, vol. 20, pp. 324–340, 1990.

[4] P. N. Balagura and S. P. Shah, Fiber Reinforced Cement Composite. New York: McGraw-Hill, 1992

[5] M. Pajak and T. Ponikiewski, “Flexural behavior of self-compacting concrete reinforced with different types of steel fibers,” Construction and Building Materials, vol.47, pp. 397–408, 2013.

[6] K. Holschemacher, T. Mueller, and Y. Ribakov, “Effect of steel fibres on mechanical properties of high-strength concrete,” Materials and Design, vol.31, pp. 2604–2615, 2010.

[7] D. Y. Yoo, J. J. Park, and S. W. Kim, “Fiber pullout behavior of HPFRCC: Effects of matrix strength and fiber type,” Composite Structures vol.174, pp. 263–276, 2017.