การจัดกลุ่มพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนราง ตามคุณลักษณะสถานีตามแนวคิด Transit Oriented Development (TOD) กรณีศึกษารถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต-อ่อนนุช) และรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน (บางซื่อ-หัวลำโพง)
Main Article Content
บทคัดย่อ
กรุงเทพมหานครและปริมณฑลพบปัญหาจราจรและมลพิษทางอากาศที่เริ่มทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นทั้งจากปัญหาจราจรติดขัดและการเกิดอาคารสูงหนาแน่นในเขตพื้นที่เมือง อันเนื่องมาจากการวางแผนการพัฒนาพื้นที่ยังไม่สอดคล้องกับความต้องการใช้พื้นที่ หรือเกิดการพัฒนาที่การเข้าถึงการใช้งานเป็นไปอย่างยากลำบาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเข้าใจถึงคุณลักษณะความเป็นย่านของพื้นที่รอบสถานี ในการกำหนดแนวทางการพัฒนาจำแนกคุณลักษณะของย่านสถานีบริเวณพื้นที่ 500 เมตรจากจุดกึ่งกลาง (Centroid) ของแต่ละสถานี ด้วยปัจจัย 5 ด้าน ประกอบด้วย ความหนาแน่น (Density) ความหลากหลายในการใช้พื้นที่ (Diversity) การออกแบบสภาพแวดล้อมของพื้นที่ (Design) ระยะทางในการเดินทางไปยังสถานีรถไฟฟ้า (Distance to Transit) และ ความสามารถในการเข้าถึงพื้นที่ (Destination Accessibility) โดยใช้ เทคนิคการจำแนกกลุ่มของคุณลักษณะโดยใช้การจำแนกองค์ประกอบปัจจัย (Factor Analysis) และจัดกลุ่มปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กัน ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์จัดกลุ่ม (Cluster Analysis) โดยวิธี Hierarchical Cluster Analysis ในการแบ่งกลุ่มแบบ Between-groups linkage ซึ่งเป็นการคำนวณหาระยะห่างเฉลี่ยของทุกคู่ของ Case และพิจารณาการแบ่งกลุ่มของสถานีจาก Dendrogram ผลการศึกษาสามารถจำแนกได้เป็น 4 กลุ่มสถานี คือ ย่านศูนย์กลางพาณิชยกรรมรอง (Sub CBD) ย่านชุมชนเมือง (Urban) ย่านศูนย์กลางทางธุรกิจใจกลางเมืองกรุงเทพ (CBD) และย่านนวัตกรรม (Innovation District) อันเป็นแนวทางการส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ให้สอดคล้องกับความเป็นย่าน และลดปัญหาจากการจราจรติดขัดรวมถึงมลพิษทางอากาศ เพื่อให้เกิดการพัฒนาสภาพแวดล้อมและกิจกรรมโดยรอบสถานีอย่างยั่งยืน
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น
References
[2] Maryland Department of Transportation. (2018, December). Transit Oriented Development Task Force. [Online]. Available: http://www.mdot.maryland.gov/newMDOT/Planning/TOD/TOD_Designation_New.html
[3] R. Joshi, J. Yogi, P. Kavina, and D. Vishal. (2019, January). Transit-Oriented Development: Lessons from Indian Experiences. [Online]. Available: https://cept.ac.in/UserFiles/File/CUE/Working
[4] B. Angela. (2019, January). Transit-Oriented Development. [Online]. Available: http://tram.mcgill.ca/Teaching/srp/documents/Brinklow_SRP.pdf
[5] Calthorpe Associates. (2018, December). Transit-oriented development design guidelines. [Online]. Available: https://planning.saccounty.net/PlansandProjectsInProgress/Documents/General%20Plan%202030/GP%20Elements/TOD%20Guide-lines.pdf
[6] G. Lyu, L. Bertolini, and K. Pfeffer, “Developing a TOD typology for Beijing metro station areas,” Journal of Transport Geography, vol. 55, pp. 40–50, 2016.
[7] D. Shinkle. (2018, December). Transit-oriented Development in the States. [Online]. Available: http://www.ncsl.org/documents/transportation/TOD_final.pdf
[8] F. Carl. (2018, November). Walkability of transit-oriented development: Evaluating the pedestrian environment of Metro Vancouver’s Regional City Centres. [Online]. Available: https://qspace.library.queensu.ca/bitstream/handle/1974/7212/Funk_Carl_R_201205_MPL.pdf?sequence=1&isAllowed=y
[9] ITDP. (2018, November). TOD Standard. [Online]. Available:https://www.itdp.in/wpcontent/uploads/2014/04/01.TOD-Standard_Final.pdf
[10] Ontario. (2018, November). Transit-supportive Guidelines. [Online]. Available: http://www.mto.gov.on.ca/english/transit/pdfs/transitsupportive-guidelines.pdf
[11] I. Pawinee and P. Apinya, “Land use and transport integration to promote pedestrian accessibility in the proximity of mass transit stations,” Urban Rail Transit: in Proceeding of the 6th Thailand Rail Academic Symposium of Thailand, 2019, pp. 1–20.