การศึกษาเบื้องต้นถึงผลกระทบของแผ่นวิสโคอีลาสติกพอลิเมอร์ต่อคุณสมบัติด้านการสั่นสะเทือนและเสียงของแผ่นคอนกรีตหล่อสำเร็จ

Main Article Content

จิระวิน สงวนสิน
ภัทรชัย พงศ์โสภา
ปิติ สุคนธสุขกุล
เขมพัฒน์ ตันติวัฒนกูล

บทคัดย่อ

ปัญหามลพิษทางเสียงภายในที่พักอาศัยเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไขสำหรับอาคารสูงในประเทศไทย ในปัจจุบันอาคารโดยส่วนมากก่อสร้างด้วยระบบผนังคอนกรีตสำเร็จรูปที่มีผิวเรียบและมีความหนาแน่นสูง ทำให้เกิดการสะท้อนของเสียงที่สูง รวมถึงการที่ใช้ผนังภายในที่บางทำให้เกิดการส่งผ่านของเสียงจากภายนอกและระหว่างห้องได้ งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาผนังวัสดุประกอบกันเสียง โดยนำวัสดุวิสโคอีลาสติกพอลิเมอร์ ซึ่งเป็นวัสดุหน่วง มีความสามารถในการดูดซับและสลายการสั่นสะเทือนได้ดี โดยคาดหวังว่าเมื่อนำวัสดุวิสโคอีลาสติกพอลิเมอร์ มาติดตั้งภายในแผ่นคอนกรีตจะสามารถลดการสั่นสะเทือนของผนังได้และอาจนำไปสู่การปรับปรุงสมรรถนะทางเสียงด้วยเช่นกัน โดยผลการทดลองที่นำเสนอในบทความนี้เป็นผลการทดลองเบื้องต้นประกอบไปด้วย การวัดค่าการอัตราการหน่วงการสั่นของแผ่นคอนกรีตที่ติดด้วยแผ่นวัสดุวิสโคอีลาสติกพอลิเมอร์ในรูปแบบต่างๆ และคุณสมบัติพื้นฐานอื่นๆ เช่น ค่ากำลังรับแรงอัด ความหนาแน่น และค่าการดูดซึมน้ำ

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านวิศวกรรมศาสตร์

References

[1] N. G. McCrum, C. P. Buckley, and C. B. Bucknell, Principles of Polymer Engineering, Oxford University Pass Inc., pp.117–176, 2003.

[2] F. Goran, Viscoelastic damping technology can achieve 70% noise reduction, Off-shore magazine, 2000.

[3] R. D. Mohan, “Recent applications of viscoelastic damping for noise control in automobiles and commercial airplanes,” Journal of Sound and Vibration, vol. 262, no. 3, pp. 457–474, 2003.

[4] K. S. Lee, J. I. Choi, S. K. Kim, B. K. Lee, J. S. Hwang, and B. Y. Lee, “Damping and mechanical properties of composite composed of polyurethane matrix and preplaced aggregates,” Construction and Building Materials, vol. 145, pp. 68–75, 2017.

[5] K. S. Lee, J. I. Choi, S. E. Park, J. S. Hwang, and B.Y. Lee, “Damping property of prepacked concrete incorporating coarse aggregates coated with polyurethane,” Cement and Concrete Composites, vol. 93, pp. 301–308, 2018.

[6] L. Marshall, Architectural Acoustics. Elsevier Academic Press, 2006.

[7] R. D. Blevins, Formulas for natural frequency and mode shape. Van Norstrand, 2001.

[8] R. del Rey, J. Alba, L. Bertó, and A. Gregori, “Smallsized reverberation chamber for the measurement of sound absorption,” Materiales de Construcción, vol. 67, no. 328, e139, 2017.