การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยการวางแผนการบำรุงรักษา กรณีศึกษาเครื่องจักรสายพานลำเลียงภายในห้องรับ-จ่ายวัตถุดิบ

Main Article Content

สมชาย เปรียงพรม
สุชาดี ธำรงสุข
วรรณลภย์ อนันตเจริญโชติ

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาหาแนวทางสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยการวางแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรสายพานลำเลียงภายในห้องรับ-จ่ายวัตถุดิบ (บริษัทกรณีศึกษา) การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักคือเพิ่มประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (OEE) รวมถึงการลดการสูญเสียจากกระบวนการผลิต จากการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องพบปัญหาคือรูปแบบการบำรุงรักษาของเครื่องจักรดังกล่าวมีการจัดการการบำรุงรักษาเป็นแบบซ่อมเมื่อเสียหรือซ่อมตามสภาพ อีกทั้งยังมีเศษวัตถุดิบตกหล่นกลายเป็นของเสียในกระบวนจ่ายวัตถุดิบอันเนื่องมาจากชิ้นส่วนเครื่องจักรที่ใช้งานมาอย่างยาวนาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบการผลิตและการเสียโอกาสทางการผลิต ดังนั้นผู้ศึกษาจึงเริ่มด้วยการวางแผนเปลี่ยนและปรับชิ้นส่วนอะไหล่เครื่องจักรที่มีความความเสี่ยงต่อการเกิดการชำรุดเสียหาย ออกแบบใบตรวจเช็คเครื่องจักรรวมถึงออกแบบอุปกรณ์ช่วยลดปริมาณของเสียที่เกิดจากกระบวนการจ่ายวัตถุดิบหลังจากการดำเนินการตามแผนการบำรุงรักษาดังกล่าวข้างต้นพบว่า สามารถเพิ่มประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (OEE) ได้ร้อยละ 4 จากเดิมร้อยละ 75 เป็นร้อยละ 79 ซึ่งสามารถเพิ่มระยะเวลาเฉลี่ยก่อนเครื่องจักรชำรุด (MTBF) โดยรวมเพิ่มขึ้น และลดระยะเวลาในการซ่อมเฉลี่ย (MTTR) โดยรวมลดลง การติดตั้งอุปกรณ์ช่วยป้องกันเศษวัตถุดิบตกหล่นสามารถลดปริมาณของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนแรก คือ การติดตั้งแปลงปัดเศษวัตถุดิบสามารถลดปริมาณของเสียได้ร้อยละ 91.82 จากเดิมโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 5.50 กิโลกรัมต่อวัน เหลือ 0.45 กิโลกรัมต่อวัน และส่วนที่สอง คือ การติดตั้งแผ่นประคองวัตถุดิบสามารถลดปริมาณของเสียได้ร้อยละ 93.75 จากเดิมโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1.60 กิโลกรัมต่อวัน เหลือ 0.10 กิโลกรัมต่อวัน

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านวิศวกรรมศาสตร์

References

[1] S. Phoolee and P. Chutima, “Maintenance improvement to increase energy efficiency in a production process,” Journal of Energy Research, vol. 9, no. 1, pp. 30–46, 2012 (inThai).

[2] S. Singthanu, J. Pinthong, P. Kajonwutnuntharchai, and N. Thumprasit, “Improvement of machinery maintenance efficiency in production line: KZL model gear kick spindle part a case study of auto part production industries,” Journal of Industrial Technology, vol. 10, no. 3, pp. 45–60, 2015 (inThai).

[3] S. Talabgaew, “The machine maintenance strategies based on operating conditions,” The Journal of KMUTNB, vol. 10, no. 1, pp. 45–60, 2015 (inThai).

[4] S. Wongjirattikarn and S. Ratanakuakangwan, “Improvement of preventive maintenance planning of an automobile shaft manufacturer by FMEA technique,” The Journal of KMUTNB, vol. 23, no. 3, pp. 643–653, 2013 (inThai).

[5] N. Ponsri, K. Sri-surin, and V. Viphoouparakhot, “Increasing the efficiency of machinery by using principle of preventive maintenance: Case study of ethanal plant,” in Proceedings RTUNC2019 The 4th National Conference, 2016, pp. 1905−1918.

[6] N. Wuttisak, “Performance machine improve kraft paper manufacture (TPM) in an kraft paper manufactures,” M.S. thesis, Department of Industrial Engineering Faculty of Engineering. Thammasat University, 2015 (inThai).

[7] N. Ratchawut, P. Vongyuttakrai, and O. Sukwan, “Design and construction of engine parts oil cleaning machine,” Srinakharinwirot University (Journal of Science and Technology), vol. 4, no. 7, 2012 (in Thai).

[8] T. Manavid, “Waste reduction in blow molding bottle manufacturing,” M.S. thesis, Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering, Chulalongkorn University, 2010 (in Thai).