การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมสู่วิสาหกิจเพื่อสังคมของชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์หาองค์ประกอบที่สำคัญในการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมของโรงงานอุตสาหกรรมสู่วิสาหกิจเพื่อสังคมของชุมชน 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมของโรงงานอุตสาหกรรมสู่วิสาหกิจเพื่อสังคมของชุมชน 3) เพื่อจัดทำคู่มือแนวทางการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม สู่วิสาหกิจเพื่อสังคมของชุมชน การวจิ ยั นอี้ อกแบบเป็นการวจิ ยั แบบผสมผสานการวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพได้แก่ 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญสำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญระดับผู้บริหาร ภาครัฐ กลุ่ม และภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นอันตราย 2) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมสนทนากลุ่มย่อย เพื่อตรวจสอบ ประเมินความสอดคล้องของรูปแบบและคู่มือแนวทางการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมสู่วิสาหกิจเพื่อสังคมของชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ในการวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากกากของเสีย กระทรวงอุตสาหกรรมและผู้บริหารโรงงานอุตสาหกรรม เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS เพื่อหาค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบที่สำคัญของรูปแบบการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมของโรงงานอุตสาหกรรมสู่วิสาหกิจเพื่อสังคมของชุมชน ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบหลัก15 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) การสร้างธุรกิจชุมชน ประกอบด้วย วางแผนธุรกิจ ศักยภาพชุมชน เทคโนโลยี ความรับผิดชอบต่อสังคม เครือข่ายความร่วมมือ และช่องทางการตลาด 2) วิสาหกิจชุมชน ประกอบด้วย แผนธุรกิจแบบมีส่วนร่วม ผู้นำชุมชนและสิ่งแวดล้อม 3) ไตรภาคีสัมพันธ์ ประกอบด้วย กลไกการสร้างมูลค่าเพิ่ม 4) สิทธิประโยชน์ ประกอบด้วย กฎหมายวิสาหกิจเพื่อสังคม และคุณค่าการส่งมอบ 5) การเข้าถึงชุมชน ประกอบด้วย ความผูกพันกับชุมชน 6) การจัดการความรู้ ประกอบด้วยวัฒนธรรมและภูมิปัญญา และ 7) การพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ คู่มือแนวทางการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมสู่วิสาหกิจเพื่อสังคมของชุมชน ประกอบด้วย 2 ส่วน และ 7 หมวด รูปแบบการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมสู่วิสาหกิจเพื่อสังคมของชุมชนได้รับความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิด้วยมติเป็นเอกฉันท์ และคู่มือแนวทางการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมสู่วิสาหกิจเพื่อสังคมของชุมชน ได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญด้านความเหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้ร้อยละ 98.65
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น
References
[2] W. Ketsing, A Guide to Research. Bangkok: Charoenpol publishing house, 2000 (in Thai).
[3] A. Osterwalder and Y. Pigneur. (2010). Business Model Generation. (10 th ed.). [Online]. Available: https://profesores.virtual.uniandes.edu.co/~isis1404/dokuwiki/lib/exe/fetch.php?media=bibliografia:9_business_model_generation.pdf
[4] S. Techaatik, “Community learning process and knowledge management for community organization,” Digital Research Information Center. Bangkok, Thailand, 2002 (in Thai).
[5] D. Wiboonsakchai, “A development of a model for research collaboration between university and industry,” Ph.D. dissertation, Division of Higher Education, Srinakharinwirot University, 2012 (in Thai).
[6] W. Martyna. “Analyzing the success of social enterprises-critical success factors perspective,” in Proceedings Active Citizenship by Knowledge Management & Innovation, Zardar, Croatia, 2013, pp. 593–605.
[7] S. Siriphattrasophon, “A conceptual study of social enterprise development in Thailand,” Journal of the Association of Researchers, vol. 20, no. 2, pp. 30–47, 2015.
[8] R. Sangkhasuk, K. Naklungka, W. Ekphon, and W. Surasawadee, “Development of E-commerce channel among community enterprises network,” Phranakhon Rajabhat Research Journal (Humanities and Social Sciences), vol. 12, no. 1, pp. 38-49, 2017 (in Thai).
[9] J. Juyjingam, “A synthesis of knowledge management model of social enterprise an empirical study in Thailand context,” Ph.D. dissertation, Program in Management Graduate School, Silpakorn University, 2014 (in Thai).
[10] J. Juyjingam, “A synthesis of knowledge management model of social enterprise an empirical study in Thailand context,” Ph.D. dissertation, Program in Management Graduate School, Silpakorn University, 2014 (in Thai).
[11] N. Christine and D. Carranza, “Networks for social enterprise: Applying a systems perspective to case studies in Latin America,” International Journal of Business and Social Research (IJBSR), vol. 2, no. 6, pp. 1–17, 2012.
[12] R. Gajanandana, Circular Economy. Bangkok: The Secretariat of the House of Representatives, 2019 (in Thai).
[13] W. Rojanawongse and O. Khongmalai, “Supporting methods for social enterprise in Thailand,” Suan Dusit Graduate School Academic Journal, vol. 14 no. 1, 2018 (in Thai).
[14] O. Kasorn. (2018, December) “Promoting the community economy and the laws that should be known, part1,” [Online]. Available: http://202.28.109.66/journalfiles/mcu59_2_04.pdfhtml