อิทธิพลของเศษเมลามีนฟอร์มาลดีไฮด์ต่อการหน่วงปฏิกิริยารีไฮเดรชันของยิปซัม

Main Article Content

บรรเทิง จุนใจ
สมศักดิ์ ศิวดำรงพงศ์
สุภกิจ รูปขันธ์
เฉลิมชัย ไชยธงรัตน์

บทคัดย่อ

เศษเมลามีนฟอร์มาลดีไฮด์เป็นขยะพลาสติกประเภทเทอร์โมเซ็ตติงที่ไม่สามารถนำกลับมารีไซเคิลด้วยความร้อน ปัจจุบันขยะพลาสติกประเภทเทอร์โมเซ็ตติงมีการกำจัดโดยวิธีการฝังกลบ ซึ่งเป็นวิธีที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การศึกษาวัสดุสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตแผ่นยิปซัมเพื่อให้ได้คุณสมบัติตรงตามความต้องการใช้งาน มีหลากหลายชนิด หนึ่งในนั้นคือวัสดุสำหรับใช้เป็นสารหน่วงปฏิกิริยารีไฮเดรชันของยิปซัม ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของเศษเมลามีนฟอร์มาลดีไฮด์ต่อการหน่วงปฏิกิริยาการผลิตแผ่นยิปซัม พร้อมทั้งศึกษาแนวทางในการรีไซเคิลเศษเมลามีนฟอร์มาลดีไฮด์ โดยในงานวิจัยนี้ใช้เศษเมลามีนฟอร์มาลดีไฮด์แบบผงที่มีขนาด <200, 200–500, 500–1,000 และ 1,000–5,000 ไมโครเมตร ที่สัดส่วนผสมเศษเมลามีนฟอร์มาลดีไฮด์ร้อยละ 5, 10 และ 20 โดยน้ำหนักของปูนปลาสเตอร์ และอัตราส่วนน้ำต่อปูนปลาสเตอร์ทั้งที่ผสมและยังไม่ผสมเศษเมลามีนฟอร์มาลดีไฮด์คงที่เท่ากับ 0.75 การศึกษาสมบัติต่างๆ ของงานวิจัยประกอบด้วย สมบัติทางกายภาพและสมบัติทางกลของชิ้นตัวอย่างยิปซัม อีกทั้งยังศึกษาการก่อตัวระยะต้น การก่อตัวระยะปลาย ความหนาแน่นกำลังรับแรงดัด กำลังรับแรงอัด ความแข็งผิว การดูดซึมน้ำ และโครงสร้างจุลภาคของชิ้นตัวอย่างปูนปลาสเตอร์ที่มีส่วนผสมของเศษเมลามีนฟอร์มาลดีไฮด์ ผลการศึกษาพบว่า เศษเมลามีนฟอร์มาลดีไฮด์มีความสามารถในการหน่วงปฏิกิริยารีไฮเดรชันของยิปซัม ส่งผลให้การก่อตัวระยะต้นและระยะปลายเพิ่มขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยในการปรับปรุงสมบัติความแข็งผิวของยิปซัมที่ดีขึ้น การดูดซึมน้ำของชิ้นตัวอย่างปูนปลาสเตอร์ผสมเศษเมลามีนเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งความสามารถของกำลังรับแรงดัดและกำลังรับแรงอัดผ่านเกณฑ์มาตรฐาน UNE-EN 13276-1: 2009

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านวิศวกรรมศาสตร์

References

[1] C. Chaitongrat, “Influence of melamine formaldehyde waste on mechanical properties of lightweight concrete,” Ph.D dissertation, School of Mechanical Engineering, Suranaree University of Technology, Thailand, 2016 (in Thai).

[2] A. J. Rivero, A. G. Báez, and J. G. Navarro, “New composite gypsum plaster – ground waste rubber coming from pipe foam insulation,” Construction and Building Materials, vol. 55, pp. 146–152, 2014.

[3] Y. Ding, Y. Fang, H. Fang, Q. Zhang, F. Zhang, and W. C. Oh, “Study on the retarding mechanism and strength loss of gypsum from hydrolyzed wheat protein retarder,” Journal of the Korean Ceramic Society, vol. 52, no. 1, pp. 28–32, 2015.

[4] M. Mahai, “Mechanical properties of recycled material from waste melamine at various compositions formed by hot molding and cold molding processes,” M.S. thesis, School of Mechanical Engineering, Suranaree University of Technology, Thailand, 2012 (in Thai).

[5] Gypsum binders and gypsum plasters — Part 2 : Test methods, UNE-EN 13279–2, 2006.

[6] A. A. Khalila, A. Tawfika, A. A. Hegazya, and M. F. El-Shahatb, “Effect of some waste additives on the physical and mechanical properties of gypsum plaster composites,” Construction and Building Materials, vol. 68, pp. 580–586, 2014.

[7] S. Serrano, C. Barreneche, A. Navarro, L. Haurie, A. I. S. Fernandez, and L. F. Cabeza, “Study of fresh and hardening process properties of gypsum with three different PCM inclusion methods,” Materials, vol. 8, no. 10, pp. 6589–6596, 2015.

[8] Gypsum binders and gypsum plasters — Part 1: Definitions and requirements, UNE-EN 13279–1, 2009.

[9] Standard methods for physical testing of gypsum, ASTM. C472–499, 2009.

[10] Standard specification for gypsum board, ASTM. C1396 / C1396M–17, 2017.