ก้าวเล็กๆ สู่อวกาศ: ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การส่งดาวเทียมขนาดนาโน (Nanosatellite, 1-10 กิโลกรัม) รูปแบบคิวแซท (CubeSat) ขึ้นโคจรรอบโลกกลายเป็นก้าวเล็กๆ สู่อวกาศของหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย โดยปัจจุบันทั่วโลกมีการส่งดาวเทียมคิวแซทไปแล้วมากกว่า 1,300 ดวง ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา เนื่องจากความซับซ้อนของการจัดสร้าง เวลาในการพัฒนา ต้นทุนการสร้าง และค่าจัดส่งขึ้นสู่อวกาศของดาวเทียมคิวแซทลดลงอย่างต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ได้เริ่มทำการวิจัยและพัฒนาดาวเทียมคิวแซทในปี 2012 จนกระทั่งได้ส่งดาวเทียมชื่อ KNACKSAT ขึ้นโคจรรอบโลกในปี 2018 ประเทศมาเลเซียเป็นอีกประเทศในอาเซียนที่มีการจัดสร้างดาวเทียมทั้งดวงภายในประเทศเองชื่อว่า InnoSat-2 และถูกส่งขึ้นโคจรรอบโลกในปี 2018 เช่นกัน ประเทศสิงคโปร์ถือว่าเป็นประเทศในอาเซียนที่มีความโดดเด่นในด้านอวกาศมากที่สุด และเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่ได้ออกแบบและจัดสร้างดาวเทียมทั้งดวงภายในประเทศเอง ชื่อว่า X-Sat โดย Nanyang Technological University (NTU) ซึ่งได้ถูกส่งขึ้นโคจรรอบโลกในปี 2011 และปัจจุบัน NTU ได้สร้างและจัดส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศไปแล้วทั้งหมด 9 ดวง นอกจากนี้ ประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย เช่น ประเทศเวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ มองโกเลีย เนปาล และภูฏาน ได้มีการเริ่มต้นส่งนักศึกษาและนักวิจัยไปเข้าร่วมออกแบบและจัดสร้างดาวเทียมคิวแซทในประเทศญี่ปุ่น ภายใต้โครงการดาวเทียม BIRDS ของ Kyushu Institute of Technology (KYUTECH) ก้าวเล็กๆ เหล่านี้ถือว่าเป็นการเตรียมความพร้อมของประเทศ เพื่อรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจอวกาศใหม่ (New Space Economy) ซึ่งกำลังอยู่ในความสนใจอย่างมากทั่วโลก
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น
References
[2] M.A. Swartwout. (2019). Cubesat Database. [Online]. Available: https://sites.google.com/a/slu.edu/swartwout/home/cubesat-database
[3] eoPortal Directory. (2003, June). CubeSat - Launch 1. [Online]. Available: https://earth.esa.int/web/eoportal/satellite-missions/cmissions/cubesat-launch-1
[4] KNACKSAT. (2019, December). Launch. [Online]. Available: https://www.knacksat.space/launch
[5] BCCSAT-1. Mission and background. [Online]. Available: http://bccsat.bcc.ac.th/background/
[6] I. Adebolu, G. Maeda, S. Kim, H. Masui, and M. Cho, “Overview of Joint Global Multi-Nation Birds Satellite project,” presented at the 8th Nano-Satellite Symposium, Matsuyama. Ehime, Japan, June, 2017.
[7] E. Kulu. (2020, April). InnoSat-2 (Innovative Satellite 2). [Online]. Available: https://www.nanosats.eu/sat/innosat-2
[8] Nanyang Technological University. Summary of Satellites. [Online]. Available: http://www.eee.ntu.edu.sg/research/SaRC/Research/Pages/Summary.aspx