คุณสมบัติของไม้ไผ่และไม้ยางพาราประกับกาว

Main Article Content

Svit Piriyasurawong
Songklod Jarusombuti
Terdsak Tachakitkachorn

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติเชิงกลของไม้ไผ่และไม้ยางพาราประกับกาว และศึกษาพฤติกรรมการรับแรงประลัยของไม้ไผ่และไม้ยางพาราประกับกาว การวิจัยได้ออกแบบต้นแบบไม้ไผ่และไม้ยางพาราประกับกาวออกเป็น 3 แบบได้แก่ แบบ Single Layer, Double Layer และ H Layer ตัดวัสดุต้นแบบขนาด หนา 30 มิลลิเมตร กว้าง 30 มิลลิเมตร ยาว 600 มิลลิเมตร จากการศึกษาพบว่า ไม้ไผ่และไม้ยางพาราประกับสามารถคืนตัวและรับแรงต่อได้เมื่อเกิดการเสียรูปในครั้งแรกในขณะที่พฤติกรรมของไม้ยางพาราประกับกาว เมื่อเกิดการวิบัติของไม้ยางพาราประกับกาว มีลักษณะเสียรูปทันทีเมื่อเกิดการวิบัติ และไม่สามารถรับแรงได้ต่อไป เมื่อเปรียบเทียบกับพฤติกรรมของไม้ไผ่และไม้ยางพาราประกับกาว ไม้ไผ่และไม้ยางพาราประกับกาว รูปแบบ H Layer มีค่าความต้านทานแรงดัดสูงสุดที่ 76.97 เมกะปาสกาล หรือเทียบเท่า 784.875569 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และมีพฤติกรรมการรับน้ำหนักที่สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้นานที่สุด มีอัตราการคืนตัว (Toughness) มากสุดที่ 0.1574 มิลลิเมตร ส่วนรูปแบบ Double Layer มีค่าความต้านทานแรงดัดสูงสุดที่ 56.48 เมกะปาสกาล เมื่อมีค่าความเค้นคราก (Yield Strength) สูงสุดที่ 2.184 กิโลนิวตัน มีอัตราการคืนตัว (Toughness) มากสุดที่ 0.1396 มิลลิเมตรขั้นตอนการผลิตในรูปแบบอุตสาหกรรมไม้แปรรูป รูปแบบ H Layer มีขั้นตอนมากกว่าไม้ไผ่และไม้ยางพารารูปแบบ Double Layer ในขั้นตอนการประกับกาว

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านสถาปัตยกรรม

References

[1] M. Jeleč, D. Varevac, and V. Rajčić, “Crosslaminated timber (CLT) – a state of the art report,” GRAĐEVINAR, vol.70, no.2, pp. 75–95, 2018.

[2] S. Piriyasurawong and T.Tachakitkachorn, “Development of glued laminated timber in Thailand,” Journal of Environmental Design, Faculty of Architecture Chiang Mai University, vol. 7, no.1, 2019 (in Thai).

[3] W. Chunwarin, Culm structure and composition of three thai bamboos: Forest research bulletin number 47. Bangkok: Kasetsart University, Faculty of Forestry, 1976 (in Thai).

[4] A. M. Harte, “Mass timber – the emergence of a modern construction material,” Journal of Structural Integrity and Maintenance, vol. 2, no. 3, pp. 121–132, 2017.

[5] JF. Correal and F. Ramirez, “Adhesive bond performance in glue line shear and bending for glued laminated guadua bamboo,” Journal of Tropical Science, vol. 22, no. 4, pp. 433–439, 2010.

[6] Standard test methods for small clear specimens of timber, ASTM D143-14, 2016.