รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารระดับกลางในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องรูปแบบการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารระดับกลางในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของศักยภาพที่จำเป็นในการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับกลางในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี 2) พัฒนาและสร้างรูปแบบศักยภาพของผู้บริหารระดับกลางในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และ 3) จัดทำคู่มือแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพของผู้บริหารระดับกลางในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี 7 คน ผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมสัมมนากลุ่มและประเมินคู่มือ 13 คน 2) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารระดับกลาง 359 คน จาก 5 บริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่มีการดำเนินกิจการด้านการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีในประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในนการวิจัยได้แก่แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้าง การบันทึกข้อมูลการประชุมสัมมนากลุ่ม และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการประเมินความตรงเชิงเนื้อหา (CVR) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์ทางสถิติโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการวิจัย พบว่ารูปแบบการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารระดับกลางในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก 77 องค์ประกอบย่อยดังนี้ 1) องค์ประกอบด้านการจัดการและกำหนดเป้าหมายของงาน มี 44 องค์ประกอบย่อย 2) องค์ประกอบด้านการประสานงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มี 11 องค์ประกอบย่อย 3) องค์ประกอบด้านการสั่งการและสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพมี 7 องค์ประกอบย่อย 4) องค์ประกอบด้านการวางแผนและพัฒนาองค์การ มี 13 องค์ประกอบย่อย และ 5) องค์ประกอบด้านการควบคุมงานด้วยความร่วมมือ มี 2 องค์ประกอบย่อย คู่มือแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพของผู้บริหารระดับกลางในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 บทนำ ส่วนที่ 2 รูปแบบศักยภาพของผู้บริหารระดับกลางในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ส่วนที่ 3 แนวทางการเสริมสร้างศักยภาพของผู้บริหารระดับกลางในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารระดับกลางในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และคู่มือแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพของผู้บริหารระดับกลางในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี พบว่ารูปแบบศักยภาพของผู้บริหารระดับกลางในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมสัมมนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้วยมติเอกฉันท์ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และคู่มือแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพของผู้บริหารระดับกลางในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในภาพรวมมีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากเช่นกัน
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น
References
[2] P. F. Drucker. Managing in the Time of Great Change. New York: Truman Talley Book/Dutton, 1995.
[3] L. M. Spencer and S. M. Spencer. Competence at Work. New York: Wiley, 1993.
[4] G. Dessler, Management: Principles and Practices for Tomorrow’s Leaders, 3 rd ed. UG/GGS Information Services, 2004.
[5] C. Jittaruttha, Organizational Theory : Philosophy, Paradigm and Concept. Bangkok: Chulalongkorn University Textbook Publishing Center, 2018, pp. 119–120.
[6] J. Rassmithammachote, Organization Development and Change. Bangkok: Thunwa 4 Arts Co., Ltd., 2015, pp. 86–98.