การประเมินสภาพฝายด้วยเทคนิควิธีดัชนีสภาพและกระบวนการวิเคราะห์ลำดับชั้น

Main Article Content

นันทณัฐ เยื่อบางไทร
ไชยาพงษ์ เทพประสิทธิ์
วราวุธ วุฒิวณิชย์

บทคัดย่อ

เนื่องจากการตรวจและประเมินสภาพฝายยังไม่มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการตรวจสภาพฝาย โดยเลือกฝายของกรมชลประทานจำนวน 58 แห่ง เป็นกรณีศึกษา ในการประเมินแบ่งองค์ประกอบฝายออกเป็น 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ส่วนป้องกันเหนือน้ำ ส่วนเหนือน้ำ ส่วนควบคุมน้ำ ส่วนท้ายน้ำ และส่วนป้องกันท้ายน้ำ 16 องค์ประกอบย่อย และ 1 ในองค์ประกอบย่อย คือ ประตู/ช่องระบายทราย ถูกแบ่งเพิ่มออกเป็น 4 องค์ประกอบย่อยและทำการประเมินสภาพความเสียหายของแต่ละองค์ประกอบย่อย โดยพิจารณาจากสภาพความเสียหาย ซึ่งเกิดจากการกัดเซาะ การทรุดตัว การแตกร้าว ฯลฯ รวม 10 สภาพความเสียหาย โดยทำการแบ่งเกณฑ์คะแนนสภาพความเสียหายออกเป็น 4 ระดับ โดยใช้คะแนน 1 ถึง 4 โดย 1) คือ สภาพสมบูรณ์หรือระดับปกติ 2) คือ สภาพความเสียหายเพียงเล็กน้อย 3) คือ สภาพความเสียหายระดับที่ต้องติดตามประเมินความปลอดภัยในการใช้งานเป็นพิเศษแต่ยังสามารถรอการซ่อมแซมได้ และ 4) คือ สภาพความเสียหายมาก จนมีผลต่อความปลอดภัย และต้องการซ่อมแซมทันที จากนั้นนำผลการตรวจสภาพฝายมาประเมินความมั่นคงโดยใช้ 4 เกณฑ์ความมั่นคง ประกอบด้วย 1) การกัดเซาะภายในตัวฝาย 2) การเลื่อนตัว 3) การพลิกคว่ำ และ 4) การรับน้ำหนักกดของดินใต้ฐาน และใช้กระบวนการวิเคราะห์ลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process) เพื่อหาค่าน้ำหนักความสำคัญของเกณฑ์ และองค์ประกอบต่างๆ โดยใช้ความเห็นของ 9 ผู้เชี่ยวชาญ และสุดท้ายทำการประเมินค่าดัชนีสภาพฝายจากผลรวมของผลคูณระหว่างคะแนนสภาพความเสียหาย และน้ำหนักความสำคัญของเกณฑ์ และ/หรือองค์ประกอบในแต่ละชั้นผลการประเมินค่าน้ำหนักองค์ประกอบพบว่า ส่วนป้องกันเหนือน้ำ (Upstream Protection Section) และส่วนป้องกันท้ายน้ำ (Downstream Protection Section) คือองค์ประกอบหลักมีน้ำหนักความสำคัญมากกว่าอีก 3 องค์ประกอบ ผลการประเมินค่าดัชนีสภาพของฝายทั้ง 58 แห่ง พบว่า ฝายจำนวน 52 แห่ง มีค่าดัชนีสภาพอยู่ในช่วง 3.00–3.94 หรือสภาพฝายมีความเสียหายเล็กน้อย และพบว่า ฝายจำนวน 6 แห่ง มีค่าดัชนีสภาพอยู่ในช่วง 2.57–2.98 หรือสภาพฝายมีความเสียหายระดับที่ต้องติดตามประเมินความปลอดภัยเป็นพิเศษ นอกจากนี้ผลการวิจัยพบว่า ค่าดัชนีสภาพฝายจากการศึกษานี้สามารถใช้ระบุสภาพฝายว่าอยู่ในสภาพดี หรือมีองค์ประกอบใดที่ต้องติดตาม แก้ไข หรือปรับปรุง และสามารถนำไปใช้ในการกำหนดระดับความสำคัญในการจัดสรรงบประมาณในการซ่อมแซมหรือปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านวิศวกรรมศาสตร์

References

[1] Royal Irrigation Department. (2011, July). Dam Assessment Manual by Condition Index Method, Dam Safety Division, Bangkok [Online]. Available: http://water.rid.go.th/damsafety/document/2557/CI%202011%20v.3.2.pdf

[2] S. Soralump, Dam Safety Engineering for Design and Maintenance. Bangkok: Kasetsart University Press, 2012 (in Thai).

[3] T. L. Saaty, The Analytic Hierarchy Process. Mcgraw-Hill, 1980.

[4] T. L. Saaty, Multicriteria Decision Making: The Analytic Hierarchy Process, 2nd ed., Pittsburgh: RWS Publications, 1990.

[5] S. H. Ghodsypour and C. O'Brien, “A decision support system for supplier selection using an integrated analytic hierarchy process and linear programming,” International Journal of Production Economics, vol. 56, no. 1, pp. 199–212, 1998.

[6] L. Benyoucef, H. Ding, and X. Xie, “Supplier Selection Problem: Selection Criteria and Methods,” Unite de recherche INRIA Lorraine, Nancy Cedex, France, RR-4726, 2003.

[7] W. Ho, D. J. Bennett, K. L. Mak, K. B. Chuah, C. K. M. Lee, and M. J. Hall, “Strategic logistics outsourcing: An integrated QFD and AHP approach,” in Proceedings of the 2009 IEEE International Conference on Industrial Engineering and Engineering Management, 2009, pp. 1434–1438.

[8] V. Vudhivanich. (2013, January). Decision Making by Analysis Hierarchy Process. [Online]. Available:http://irre.ku.ac.th/PubArt/PubArt/53-AHP-paper.pdf

[9] T. L. Saaty, “Decision making with the analytic hierarchy process,” International Journal of Services Sciences, vol. 9, no. 3, pp. 215–229, 2008.

[10] K. R. E. Huizingh and H. C. J. Vrolijk, “Decision support for information systems management: Applying analytic hierarchy process,” s.n., 1995.

[11] G. B. Sahoo, “Multicriteria irrigation planning: phitsanulok irrigation project,” M.Eng. thesis, Asian institute of technology, Pathum Thani, 1998 (in Thai).

[12] S. Tongpumnuk, “Proposed code of practices for weir design and energy dissipators,” Department of Irrigation Engineering, Faculty of Engineering at Kamphaengsaen, Kasetsart University, Nakhon Pathom, 2009 (in Thai).