การออกแบบและเปรียบเทียบพื้นที่หยิบความเร็วสูงสำหรับผลิตภัณฑ์แสงสว่าง

Main Article Content

จินตชาติ ชาติพาณิชย์
โอฬาร กิตติธีรพรชัย

บทคัดย่อ

จากสภาพความไม่แน่นอนของความต้องการลูกค้าและเวลาการนำเข้าสินค้า ทำให้ศูนย์กระจายสินค้าเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการควบคุมการไหลของสินค้าภายในห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้นศูนย์กระจายสินค้าจึงมีความจำเป็นต้องเข้าใจและใช้ประโยชน์จากรูปแบบของความต้องการเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่รวดเร็วและควบคุมต้นทุนการดำเนินการ ดังเช่นศูนย์กระจายสินค้าประเภทไฟฟ้าแสงสว่างกรณีศึกษาซึ่งจัดเก็บและกระจายสินค้าที่ขนาดแตกต่างกัน อีกทั้งยังแตกหักง่ายต้องระมัดระวังในการขนย้าย ด้วยสภาพและธรรมชาติของสินค้าข้างต้นทำให้กิจกรรมหยิบสินค้าเป็นกิจกรรมที่มีชั่วโมงแรงงาน-คนมากที่สุด นอกจากนี้การวิเคราะห์ข้อมูลในเบื้องต้นพบว่า คำสั่งซื้อส่วนใหญ่มีจำนวนรายการสินค้ามากแต่กระจุกเพียงบางแบรนด์เท่านั้น ดังนั้นงานวิจัยฉบับนี้จึงนำเสนอพื้นที่จัดเก็บเฉพาะสินค้าเคลื่อนไหวเร็ว (Fast Picking Area; FPA) สำหรับสินค้าที่มีการหยิบความถี่ในการหยิบสูงและมีขนาดเล็กเพื่อลดเวลาการเดินทางและเวลาการค้นหา การออกแบบพื้นที่ FPA อาศัยแนวคิดของไหลซึ่งลำดับสินค้า จากสัดส่วนระหว่างจำนวนครั้งที่หยิบและรากที่สองของปริมาตรของสินค้าการประเมินการออกแบบและกำหนดค่าพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องของพื้นที่ FPA ทำโดยสร้างแบบจำลองสถานการณ์แบบมอนติคาร์โล (Monte Carlo) เพื่อวิเคราะห์กิจกรรมที่เกิดขึ้นและเวลาที่ใช้ไปในการดำเนินงานภายในศูนย์กระจายสินค้าแสงสว่างทั้งหมดแห่งนี้

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านวิศวกรรมศาสตร์

References

[1] O. Kittithreerapronchai and N. Phumchusri, “Warehouse management system,” Journal of Engineering, vol. 5, no. 2, pp. 49–62, 2013 (in Thai).

[2] E. Frazelle. World-Class Warehousing and Material Handling. New York: McGraw-Hill Education, 2002.

[3] J. Gu, M. Goetschalckx, and L. McGinnis, “Research on warehouse operation: A comprehensive review,” European Journal of Operation Research, vol. 177, pp. 1–21, 2007.

[4] J. J. Bartholdi and S. T. Hackman, (2017, August). Warehouse & Distribution Science. (Release 0.98) [Online]. Available: https://www.warehousescience.com/book/editions/wh-sci-0.98.1.pdf

[5] J. Gu, M. Goetschalckx, and L. McGinnis, “Research on warehouse operation: A comprehensive review,” European Journal of Operation Research, vol. 203, pp. 539–549, 2010.

[6] O. Kittithreerapronchai, “Improve picking activity,” Warehouse and Warehousing Management. Bangkok: Industrial Engineering Chulalongkorn University, 2018 (in Thai).

[7] B. Yongprasert and O. Kittithreerapronchai, “Design of fast-moving area for automotive assembly plant,” Kasetsart Engineering Journal, vol. 91, pp. 71–81, 2015 (in Thai).

[8] J. Gagliardi, J. Renaud, and A. Ruiz, “A simulation model to improve warehouse operations,” in Proceedings of the 2007 Winter Simulation Conference, 2007, pp. 2012–2018.

[9] J. J. Bartholdi and S. T. Hackman, “Allocating space in a forward pick area of a distribution center for small parts,” IIE Transactions, vol. 40, no. 11, pp. 1046–1053, 2008.

[10] M. Napolitano, “Warehouse time standards,” in The Time, Space & Cost Guide to Better Warehouse Design, 2nd ed. New York: Distribution Center Management, 2003, pp. 18–35.

[11] P. Chaovalitwongse, “Probabilistic inventory model,” Determining Inventory Policy Theories and a Systematic Thinking Approach. Bangkok: Chulalongkorn University Press, 2018 (in Thai).

[12] O. Jones, R. Maillardet, and A. Robinsin, Introduction to Scientific Programming and Simulation Using R. Parkville, Australia: University of Melbourne, 2014.