พัฒนาการพอลิเมอร์ชีวภาพสู่นวัตกรรมพลาสติกรักษ์โลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการสะสมของขยะพลาสติกอย่างมากในขณะนี้ ทำให้นานาประเทศทั่วโลกตื่นตัวต่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง นอกจากการรณรงค์ให้ลดการใช้พลาสติกที่ผลิตจากกระบวนการทางปิโตรเคมีแล้วการส่งเสริมการพัฒนาวัสดุทางเลือก ได้แก่ พลาสติกชีวภาพจึงเป็นที่สนใจอย่างยิ่งต่อทั้งนักวิจัยในแวดวงวิชาการและนักลงทุนในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมทั่วโลก ส่งผลต่อกระแสรักษ์สิ่งแวดล้อมในประเทศไทย โดยเฉพาะนโยบายจากภาครัฐในการลดการใช้ถุงพลาสติกจากปิโตรเคมีที่ได้เริ่มดำเนินการอย่างจริงจังนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นมาซึ่งสามารถลดจำนวนถุงพลาสติกในท้องตลาดกว่า 20% ของทั้งประเทศ เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นสังคมปลอดขยะ(Zero Waste Society) ทำให้เกิดการวิเคราะห์ทิศทางและโอกาสทางธุรกิจของนวัตกรรมพลาสติกชีวภาพอย่างแพร่หลายมากขึ้น อาทิ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่าความต้องการพลาสติกชีวภาพทั่วโลกจะขยายตัวอย่างรวดเร็วจาก 4% เป็น 40% ภายใน 10 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะตลาดบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่เป็นผลิตภัณฑ์ใช้ครั้งเดียว (Single-use Plastics)
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น
References
[2] J. Marudkla, W. C. Lee, S. Wannawilai, Y. Chisti, and S. Sirisansaneeyakul, “Model of inhibitory acetic acid-affected growth and poly (3-hydroxybutyrate (PHB) production by Cupriavidus necator DSM 545,” Journal of Biotechnology, vol. 268, pp. 12–20, 2018.
[3] N. Kongklom, C. Chuensangjun, Y. Chisti, and S. Sirisansaneeyakul. “Improved keeping quality of Dendrobium “Bom” orchids using nutrients entrapped in a biodegradable hydrogel,” Scientia Horticulturae, vol. 234, pp. 184–192, 2018.