รูปแบบการพัฒนาผู้ประกอบการในธุรกิจผลิตภัณฑ์ขนมปังขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างยั่งยืน

Main Article Content

Nathseth Yurawan
Somnuk Wisutthipat
Taweesak Roopsing

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานและปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาผู้ประกอบการในธุรกิจผลิตภัณฑ์ขนมปัง และเพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาผู้ประกอบการในธุรกิจผลิตภัณฑ์ขนมปังขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างยั่งยืน โดยเป็นการวิจัยและพัฒนาตามกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการและผู้บริหารในธุรกิจผลิตภัณฑ์ขนมปังขนาดกลางและขนาดย่อม จำนวน 10 คน และการประชุมสนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ประกอบการ รวมจำนวน 13 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วยเจ้าของและผู้บริหารธุรกิจขนมปังจำนวน 400 คน ในส่วนของสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ จากนั้นนำมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาผู้ประกอบการในธุรกิจผลิตภัณฑ์ขนมปังขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างยั่งยืนแบบถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการพัฒนาผู้ประกอบการในธุรกิจผลิตภัณฑ์ขนมปังขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างยั่งยืน ประกอบด้วยองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยดังนี้ องค์ประกอบหลักด้านการบริหารประกอบด้วย องค์ประกอบย่อย 1) การกำหนดนโยบายและเป้าหมายองค์กร 2) การบริหารงานอย่างเป็นระบบ 3) การบริหารงบประมาณในการลงทุน องค์ประกอบหลักด้านทรัพยากรมนุษย์ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย 1) การสื่อสารภายในองค์กร 2) การรักษาไว้ซึ่งมาตรฐานที่ดีขององค์กร 3) คุณภาพของแรงงาน4) ความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า 5) ภาวะผู้นำของผู้ประกอบการ องค์ประกอบหลักด้านการตลาดประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย1) การดูแลคู่ค้า 2) ช่องทางการจัดจำหน่าย 3) เงื่อนไข/สัญญา/กฎหมายทางธุรกิจ องค์ประกอบหลักด้านการจัดการผลิตประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย 1) ราคาต้นทุน 2) คุณภาพวัตถุดิบ 3) สภาวะของเศรษฐกิจ 4) นวัตกรรมและเทคโนโลยีผลการประเมินพบว่า รูปแบบการพัฒนาผู้ประกอบการในธุรกิจผลิตภัณฑ์ขนมปังขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างยั่งยืนมีความเหมาะสมและเป็นไปได้ในการนำไปปรับใช้กับธุรกิจผลิตภัณฑ์ขนมปังขนาดกลางและขนาดย่อม

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม

References

[1] Office of Industrial Economics. (2017, January). Thailand Industrial Economic Development Plan. Office of Industrial Economics. Bangkok, Thailand [Online]. Available: http://www.oie.go.th/academic/industryplan

[2] The Revenue Department. (2018, May). Tax Management Division in Small and Medium Business: Characteristics of SMEs. The Revenue Department. Bangkok, Thailand [Online]. Available: https://www.rd.go.th/publish/38056.0.html

[3] Office of Small and Medium Enterprise Promotion. (2017, February). Situation report of Small and Medium Enterprises. The Office of SMEs Promotion. Bangkok, Thailand [Online]. Available: http://www.sme.go.th/th/download.php?modulekey=215&cid=0

[4] N. Wiset, “Factors influencing business operations of small and medium enterprise entrepreneurs in Nonthaburi province,” Panyapiwat Journal, vol. 9, no. 1, pp. 13–24, 2012 (in Thai).

[5] A. Kaewjomnong,“Leadership with success of SMEs in entering the ASEAN economic community: A case study of Songkhla,” Journal of Business Administration The Association of Private Higher Education Institutions of Thailand, vol. 7, no. 2, 2018 (in Thai).

[6] C. wangbenmet and T. Bindulem, “The key success factors for small and medium enterprises in Muang Hadyai, Songkha province,” Journal of Faculty of Management Science, vol. 1, no. 1, pp. 109–123, 2014 (in Thai).

[7] S. Punnitamai, “Overall potential development of bread factory in case study AAA bakery company,” M.S. thesis, Department of logistic management, University of the Thai Chamber of Commerce, 2012 (in Thai).

[8] M. Kaenchuwongk and C. Vongprasert, “A study of small and medium enterprises process to value creation,” Journal of Faculty of Humanities and Social Sciences, vol. 11, no. 2, 2015 (in Thai).