การพัฒนารถเคลื่อนย้ายและถ่ายเทถังบรรจุสารเคมีเหลว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเคลื่อนย้ายและถ่ายเทสารเคมีจากถังเป็นกระบวนการที่พบได้ทั่วไป ปัญหาที่สำคัญ คือน้ำหนักของสารเคมีในถังบรรจุสารเคมีที่ทำให้เคลื่อนย้ายลำบาก ชนิดของสารเคมีที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน และการกำหนดปริมาณของสารเคมีที่ต้องการถ่ายเท ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อพัฒนารถที่สามารถเคลื่อนย้ายถังบรรจุสารเคมีและถ่ายเทสารเคมีจากถังบรรจุสารเคมีได้สะดวกและรวดเร็ว อีกทั้งยังสามารถกำหนดน้ำหนักของสารเคมีที่ต้องการถ่ายเทได้ รถที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ ชุดการเคลื่อนที่ ชุดจับยกและหมุนถัง และชุดถ่ายเทสารเคมี โดยชุดการเคลื่อนที่ถูกออกแบบให้มีฐานและล้อที่แข็งแรงเพื่อรองรับน้ำหนักของสารเคมี ชุดจับยกและหมุนถังถูกออกแบบให้มีแขนทำหน้าที่จับยึดถังสารเคมี เมื่อจับยึดแล้วใช้ก้านสูบไฮดรอลิกยกถังขึ้น แล้วใช้มอเตอร์หมุนถังคว่ำลง ชุดถ่ายเทสารเคมีทำหน้าที่ถ่ายเทสารเคมีตามน้ำหนักที่ต้องการถ่ายเท พร้อมทั้งมีลมช่วยในการดันสารเคมี สารเคมีที่ใช้ในการทดสอบ คือ PBTC และ AA/AMPS ผลการทดลองพบว่า อัตราการถ่ายเทสารเคมีชนิด PBTC คือ 30.0 กิโลกรัมต่อนาที ในขณะที่อัตราการถ่ายเทสารเคมีชนิด AA/AMPS คือ 16.8 กิโลกรัมต่อนาที น้ำหนักของสารเคมีที่ถูกถ่ายเทไปใช้งานมีความผิดพลาดไม่เกิน +/–2.8 กิโลกรัม ดังนั้นรถที่พัฒนาขึ้นนี้ทำให้ง่ายในการถ่ายเทสารเคมี ลดเวลาในการถ่ายเทสารเคมีและลดการใช้แรงงาน
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น
References
[2] M. Hassan, “A framework for selection of material andling equipment in manufacturing and logistics facilities,” Journal of Manufacturing Technology Management, vol. 21, no. 2, pp. 246–268, 2010.
[3] P. Karande and S. Chakraborty, “Material handling equipment selection using weighted utility additive theory,” Journal of Industrial Engineering, vol. 2013, pp. 1–9, 2013.
[4] M. Bouh and D. Riopel, “Material handling equipment selection: New classifications of equipments and attributes,” presented at the 6th Industrial Engineering and Systems Management International Conference, Seville, Spain, October 2015.
[5] T. Aized, “Materials handling in flexible manufacturing systems,” in Future Manufacturing Systems, Rijeka: Intech, 2001, pp. 121–136.
[6] S. Khamsalai, W. Supitak, and S. Svetasreni, “Development of reach typed forklift truck working standard for the operation of warehouse with selective rack,” in Proceedings of the 15th National Kasetsart University Kamphaeng Saen Conference, 2016, pp. 683–691 (in Thai).
[7] B. Stewart, C. Clark, and P. Patton, “Materialshandling accident reduction in underground mines,” presented at the 6th International Symposium on Mine Mechanization and Automation, Spokane, WA, 2001.
[8] S. Sakai, M. Iida, K. Osuka, and M. Umeda, “Design and control of a heavy material handling manipulator for agricultural robots,” Autonomous Robots, vol. 25, no. 3, pp. 189–204, 2008.
[9] A. Sivasubramanian, M. Jagadish, and C. Sivaram, “Design and modification of semi automatic stacker,” Indian Journal of Applied Research, vol. 4, no. 4, pp. 174–178, 2011.
[10] R. Gujar, A. Arole, K. Barhate, S. Gawande, and M. Viroff, “Design and development of attachment for hydraulic stacker,” International Journal of Engineering Science and Technology, vol. 2, no. 5, pp. 796–801, 2010.