การผลิตน้ำตาลรีดิวซ์จากทะลายเปล่าปาล์มด้วยเอนไซม์ Cellic Ctec2®

Main Article Content

Anusith Thanapimmetha
Suwatipat Tiyanusorn
Penjit Srinophakun
Maythee Saisriyoot

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการผลิตน้ำตาลรีดิวซ์จากทะลายเปล่าปาล์ม (Oil Palm Empty Fruit Bunches) ด้วยเอนไซม์Cellic Ctec2® โดยทะลายเปล่าปาล์มจัดว่าเป็นวัสดุหมักประเภทลิกโนเซลลูโลสที่มีความเหมาะสมในการผลิตเป็นน้ำตาลรีดิวซ์ เมื่อทำการศึกษาองค์ประกอบเบื้องต้นของทะลายเปล่าปาล์มพบว่ามีปริมาณเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนินเท่ากับ54.74, 21.73 และ 16.17 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ตามลำดับ หลังการทำการปรับสภาพด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ความเข้มข้น10, 15 และ 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นระยะเวลา 60 นาที พบว่าการปรับสภาพทะลายเปล่าปาล์มด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ความเข้มข้น 15 เปอร์เซ็นต์ นั้นมีความเหมาะสมมากที่สุดโดยมีปริมาณเซลลูโลสเพิ่มขึ้น 14.28 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก และลิกนินลดลง 3.41 เปอร์เซ็นโดยน้ำหนัก จากนั้นนำเยื่อทะลายเปล่าปาล์มที่ผ่านการปรับสภาพแล้วที่ปริมาณ 5, 7, 10 และ 15 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักแห้งต่อปริมาตร มาทำการไฮโดรไลซิสด้วยเอนไซม์ Cellic Ctec2® ที่ความเข้มข้น 20 FPU/g substrate อัตราการเขย่าที่ 140 รอบต่อนาที เป็นระยะเวลา 5 วัน ซึ่งผลจากการทดลองพบว่าที่ระยะเวลา 5 วัน ของการไฮโดรไลซิส เยื่อทะลายเปล่าปาล์มที่ผ่านการปรับสภาพแล้วที่ปริมาณ 10 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักต่อปริมาตร ให้ค่าน้ำตาลรีดิวซ์สูงสุดที่ 85.79 กรัมต่อลิตร จากนั้นนำไปหาชนิดและปริมาณน้ำตาลด้วยเครื่อง HPLC โดยมีปริมาณน้ำตาลกลูโคสและไซโลสเท่ากับ 60.29 และ 12.51 กรัมต่อลิตร

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านวิศวกรรมศาสตร์

References

[1] X. Cui, X. Zhao, J. Zeng, S. K. Loh, Y. M. Choo, and D. Liu, “Robust enzymatic hydrolysis of Formiline-pretreated oil palm Empty Fruit Bunches (EFB) for efficient conversion of polysaccharide to sugars and ethanol,” Bioresour Technol, vol. 166, pp. 584–591, 2014.

[2] S. Sumathi, S. P. Chai, and A. R. Mohamed, “Utilization of oil palm as a source of renewable energy in Malaysia,” Renewable and Sustainable Energy Reviews, vol. 12, no. 9, pp. 2404–2421, 2008.

[3] F. Hamzah, A. Idris, and T.K. Shuan, “Preliminary study on enzymatic hydrolysis of treated oil palm (Elaeis) Empty Fruit Bunches Fibre (EFB) by using combination of cellulase and β 1-4 glucosidase,” Biomass and Bioenergy, vol. 35, no. 3, pp. 1055–1059, 2011.

[4] E. Triwahyuni, Muryanto, Y. Sudiyani, and H. Abimanyu, “The effect of substrate loading on simultaneous saccharification and fermentation process for bioethanol production from oil palm empty fruit bunches,” Energy Procedia, vol. 68, pp. 138–146, 2015.

[5] H. K. Goering and P. J. Van, Forage Fiber Analysis: Apparatus Reagents, Procedures, and Some Applications, U.S. Government Print. Office, DC: Washington, 1970.

[6] G. L. MILLER, “Use of dinitrosaiicyiic acid reagent for determination of reducing sugar,” Analytical Chemistry, vol. 31, no. 3, pp. 426–428, 1959.

[7] M. M. Ishola, Isroi, and M. J. Taherzadeh, “Effect of fungal and phosphoric acid pretreatment on ethanol production from Oil Palm Empty Fruit Bunches (OPEFB),” Bioresour Technol, vol. 165, pp. 9–12, 2014.

[8] D. Dahnum, S.O. Tasum, E. Triwahyuni, M. Nurdin, and H. Abimanyu, “Comparison of SHF and SSF processes using enzyme and dry yeast for optimization of bioethanol production from empty fruit bunch,” Energy Procedia, vol. 68, pp. 107–1165, 2015.

[9] L. W. Lai and A. Idris, Comparison of steam-alkalichemical and microwave-alkali pretreatment for enhancing the enzymatic saccharification of oil palm trunk, Renewable Energy, vol. 99, pp. 738–746, 2016.

[10] A. Modenbach, “Sodium hydroxide pretreatment of corn stover and subsequent enzymatic hydrolysis: An investigation of yields, kinetic modeling and glucose recovery,” Ph.D. dissertation, Department of Biosystems and Agricultural Engineering, University of Kentucky, USA, 2013.