รูปแบบการจัดการความรู้สู่ทุนทางปัญญาในอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคม

Main Article Content

Dhanyaras Pettigrew
Supatta Pinthapataya
Teravuti Boonyasopon
Wichien Ketsingha

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องรูปแบบการจัดการความรู้สู่ทุนทางปัญญาในอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบรูปแบบการจัดการความรู้สู่ทุนทางปัญญาในอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคม 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความรู้สู่ทุนทางปัญญาในอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคม 3) พัฒนารูปแบบการจัดการความรู้สู่ทุนทางปัญญาในอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคมตามสมการโครงสร้าง และ 4) สร้างคู่มือการจัดการความรู้สู่ทุนทางปัญญาในอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคม การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีศึกษาเชิงผสมผสานเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การศึกษาเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านการจัดการความรู้และด้านอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคม การศึกษาเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นพนักงานระดับผู้บริหารและระดับผู้ปฏิบัติการในอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคม และใช้การสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้ความเห็นชอบรูปแบบและคู่มือการจัดการความรู้สู่ทุนทางปัญญาในอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณทางสถิติด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการความรู้สู่ทุนทางปัญญาในอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคมตามสมมติฐานสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ได้รูปแบบการจัดการความรู้สู่ทุนทางปัญญาในอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคมตามสมการโครงสร้าง ประกอบด้วย กระบวนการจัดการความรู้ และปัจจัยสำเร็จในการจัดการความรู้ที่มีอิทธิพลทางบวกต่อทุนทางปัญญา และปัจจัยสำเร็จในการจัดการความรู้มีอิทธิพลทางบวกต่อกระบวนการจัดการความรู้ซึ่งมีค่าสถิติทดสอบผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คู่มือการจัดการความรู้สู่ทุนทางปัญญาในอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคมแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 บทนำ ส่วนที่ 2 มิติและองค์ประกอบรูปแบบการจัดการความรู้ และส่วนที่ 3 มาตรการส่งเสริมทุนทางปัญญา รูปแบบการจัดการความรู้และคู่มือการจัดการความรู้สู่ทุนทางปัญญาในอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคมได้รับความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิด้วยมติเอกฉันท์ในด้านความเหมาะสมในการนำไปใช้

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม

References

[1] Adding value to the knowledge base, Office of the National Economic and Social Development Board, Bangkok, 2006.

[2] S. Maesincee, Business Smart; Pracharath cooperates with Thailand 4.0, Bangkok, 2016.

[3] D. Thienphut, HR the Next Decade, 4th ed. Bangkok: Expernet, 2008.

[4] National Industrial Development Master Plan 2012–2031, Government Information System, Bangkok, 2011 (in Thai).

[5] P. Phasukyud, Knowledge Management (KM); powered by LO. Bangkok: Yaimai, 2006 (in Thai).

[6] Digital Economy and Social Development Plan 2016, Ministry Of Digital Economy and Society, Bangkok, 2016 (in Thai).

[7] P. Chaikongkiat, “A causal relationship model among intelletual capital management knowledge management and organizational effectiveness of nursing colleges under the ministry of public health,” Ph.D. dissertation, Kasetsart University, 2008 (in Thai).

[8] W. Rerkpattanakit, “Knowledge management of listed companies in the stock exchange of Thailand process to develop intellectual capital,” Ph.D. dissertation, Ramkhamhaeng University, 2008 (in Thai).

[9] M. J. Marquardt, Building the Learning Organization: Mastering the 5 Elements for Corporate Learning. Polo Alto: Davies-Black Publishing, 2002.

[10] M. Alavi, One Giant Brain. Boston, MA.: Harvard Business School Press, 1997.

[11] S. Klinngam, “Development of knowledge management model in Rajabhat Universities,” Ph.D. dissertation, Ramkhamhaeng University, 2008 (in Thai).

[12] T. H. Davenport, D. W. De Long, and M. C. Beers, “Successful knowledge management projects,” Sloan Management Review, vol. 39, no. 2, pp. 43–57, 1998.

[13] R. J. Trapp. (1999, July). Observations of nontornadic low-level mesocyclones and attendant tornadogenesis failure during VORTEX. Journals online. American Meteorological Society [Online]. Available: http://journals.ametsoc.org/doi/abs/10.1175/1520-0493%281999%29127%3C1693%3AOONLLM%3E2.0.CO%3B2

[14] U. J. Gelinas, S. G. Sutto, and J. Fedorowicz, Business Processes and Information Technology. Mason, OH: Thomson/South- Western, 2004.

[15] S. E. Jackson, A. DeNisi, and M. A. Hitt, Managing Knowledge for Sustained Competitive Advantage: Designing Strategies for Effective Human Resource Management. San Francisco: Jossey-Bass, 2003.

[16] T. Lorsuwannarat, The Knowledge Organization: from Concept to Practice. Bangkok: Sat Four Printing, 2005 (in Thai).

[17] M. Ismail, “The influence of intellectual capital on the performance of Telekom Malaysia (Telco),” unpublished Doctoral dissertation, Business & Advanced Technology Centre, University of Technology Malaysia, Skudai. 2005.

[18] N. Bontis, “Assessing knowledge assets: A review of the models used to measure intellectual capital,” International Journal of Management Reviews, vol. 3, no. 1, pp. 41–60, 2001.

[19] O. Henrie and M. Hedgepeth, “Size is important in knowledge management,” Journal of Knowledge Management Practice, vol. 4, no. 6, pp. 25–38, 2003.

[20] A. Mayo, “The role of employee development in the growth of intellectual capital,” Personnel Review, vol. 29, no. 4, pp. 521–533, 2000.