ผลของอุณหภูมิและชนิดของสารละลายที่มีต่อการลอกล่อนของแล็กเกอร์ในกระป๋องอาหารด้วยการทดสอบทางเคมีไฟฟ้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในงานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของอุณหภูมิและชนิดของสารละลายต่อการลอกล่อนของแล็กเกอร์สำหรับพัฒนาวิธีการตรวจสอบแล็กเกอร์ที่เคลือบโลหะในอุตสาหกรรมกระป๋อง ให้สามารถใช้เวลาในการทดสอบที่รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้นโดยจะนำเทคนิค ACET หรือ AC/DC/AC ที่นิยมใช้กันมากในอุตสาหกรรม ควบคู่ไปกับการตรวจสอบด้วยค่าประจุไฟฟ้าแอโนดิก และประจุไฟฟ้าแคโทดิก จากเทคนิคโพเทนชิโอสแตติก ทำโดยการตรวจสอบสภาพของกระป๋องเคลือบแล็กเกอร์ด้วยเทคนิค EIS (AC) และแอโนดิกโพลาไรเซชัน จากนั้นทำการทดสอบด้วยเทคนิค แคโทดิกดีลามิเนชัน (DC) พร้อมกับการให้ความร้อนที่อุณหภูมิต่างๆ แล้วศึกษาด้วยเทคนิค EIS และแอโนดิกโพลาไรเซชันอีกครั้ง ชิ้นงานที่ศึกษาในโครงงานนี้คือ กระป๋องเคลือบดีบุกเคลือบด้วยแล็กเกอร์พอลิเอสเตอร์/ออร์แกโนซอล กระป๋องเคลือบดีบุกเคลือบด้วยแล็กเกอร์อีพ็อกซี-ฟีนอลิก และกระป๋องเคลือบดีบุกเคลือบด้วยแล็กเกอร์ออร์แกโนซอล สารละลายที่ใช้ทดสอบคือ สารละลาย 1% w/v โซเดียมคลอไรด์ สารละลายผสม 1% w/v โซเดียมคลอไรด์กับ 1% w/v โซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ และสารละลายผสม 1% w/v โซเดียมคลอไรด์กับ 1% w/v โซเดียมไฮดรอกไซด์ อุณหภูมิที่ใช้ทดสอบคือ อุณหภูมิห้อง 40, 60 และ 80oC โดยเทคนิค EIS ที่ใช้เป็นระบบอิเล็กโทรดสามขั้ว เทคนิคแคโทดิกดีลามิเนชัน เป็นการป้อนศักย์ไฟฟ้ากระแสตรง –6 โวลต์ เป็นเวลา 10 นาทีส่วนเทคนิคแอโนดิกโพลาไรเซชัน เป็นการป้อนไฟฟ้ากระแสตรง +6 โวลต์ เป็นเวลา 5 วินาที ค่าประจุไฟฟ้าแอโนดิก และประจุไฟฟ้าแคโทดิกและภาพถ่ายจากกล้องมือถือให้ผลสอดคล้องกับผลการศึกษาด้วยเทคนิค EIS จากผลการทดลองพบว่าผลของอุณหภูมิที่ทำให้เกิดการลอกล่อนของแล็กเกอร์อีพอกซี-ฟีนอลิกเริ่มที่อุณหภูมิห้อง ส่วนของแล็กเกอร์ออแกโนซอลเริ่มที่ 40oC ขณะที่ของแล็กเกอร์พอลิเอสเตอร์/ออแกโนซอลเริ่มที่ 80oC ส่วนสารลายละลายที่ทำให้แล็กเกอร์เกิดการลอกล่อนมากที่สุดคือ สารละลายผสม 1% w/v โซเดียมคลอไรด์กับ 1% w/v โซเดียมไฮดรอกไซด์ แล็กเกอร์ที่เกิดความเสียหายน้อยที่สุดคือ แล็กเกอร์พอลิเอสเตอร์/ออร์แกโนซอล
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น
References
[2] A. De Vooys, B. Boelen, and D. Van der Weijde, “Screening of coated metal packaging cans using EIS,” Progress in Organic Coating, vol. 73, no. 2–3, pp. 202–210, 2012.
[3] A. Herzka, “Technical aspects of aerosol packaging,” Journal of The Society of Cosmetic Chemists, vol. 7, no. 4, pp. 120–131, 1956.
[4] Epoxy Technology Inc. (2016, July 6). Tg - Glass Transition Temperature for Epoxies. Epoxy Technology Inc. Billerica, MA 01821 [Online]. Available: http:// http://www.epotek.com/site/files/Techtips/pdfs/tip23.pdf
[5] E. O. Eltai, J. D. Scantlebury, and E. V. Koroleva, “Protective properties of intact unpigmented epoxy coated mild steel under cathodic protection,” Progress in Organic Coatings, vol. 73, pp. 8–13, 2013.