การเปรียบเทียบองค์ประกอบของน้ำมันหอมระเหยจากฟางแมงลัก Ocimum citriodourum Vis. ที่ได้จากการสกัดด้วยเฮกเซน คาร์บอนไดออกไซด์ภาวะเหนือวิกฤตและการต้มกลั่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การสกัดน้ำมันหอมระเหยจากต้นแมงลักที่สีเมล็ดออกแล้ว (ฟางแมงลัก) ด้วยเฮกเซน คาร์บอนไดออกไซด์ภาวะเหนือวิกฤต (SCCO2) และการต้มกลั่น วิเคราะห์ตัวอย่างที่สกัดได้ด้วยเครื่อง GC-MS เพื่อหาองค์ประกอบน้ำมันหอมระเหยการสกัดด้วยเฮกเซนในเครื่องสกัดแบบซอกส์เลตมีค่าร้อยละผลได้การสกัดสูงสุดเท่ากับ 4.04 ร้อยละผลได้ของการสกัดด้วยSCCO2 (350 บาร์ และ 70 องศาเซลเซียส) และการต้มกลั่น เท่ากับ 1.50 และ 0.29 ตามลำดับ องค์ประกอบหลักที่ได้จากการสกัดด้วยเฮกเซนประกอบไปด้วย คารีโอฟิลลีนออกไซด์ นีรอล เจอแรนเนียล เช่นเดียวกับการสกัดด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ภาวะเหนือวิกฤต การต้มกลั่นสารสกัดประกอบไปด้วย คารีโอฟิลลีนออกไซด์ ทรานส์แอลฟาเบอร์กาโมทีน ลินาลูออลเป็นองค์ประกอบหลัก
Article Details
บทความที่ลงตีพิมพ์เป็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น
ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความนั้น
References
[2] V. R. Preedy, Essential Oils in Food Preservation. Flavor and safety, Academic Press, 2016 , pp. 231–238.
[3] G. Wenqiang, L. Shufen, Y. Ruixiang, T. Shaokun, and Q. Can, “Comparison of essential oils of clove buds extracted with supercritical carbon dioxide and other three traditional extraction methods,” Food Chemistry, vol. 101, no. 4, pp. 1558–1564, 2007.
[4] S. Zhao and D. Zhang, “Supercritical CO2 extraction of Eucalyptus leaves oil and comparison with Soxhlet extraction and hydro-distillation methods,” Separation and Purification Technology, vol. 133, no. 8, pp. 443–451, 2014.