วิธีการกำหนดจำนวนรถไฟฟ้าสำหรับใช้ให้บริการเดินรถและทำงานซ่อมบำรุง

Main Article Content

Yuwarat Sripraprutchai
Wipawee Tharmmaphornphilas

บทคัดย่อ

เนื่องจากรถไฟฟ้าซึ่งเป็นหัวใจหลักในธุรกิจการให้บริการเดินรถไฟฟ้ามีราคาแพงมาก จึงต้องมีการบริหารจัดการการใช้งานให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาจำนวนรถไฟฟ้าที่น้อยที่สุดสำหรับให้บริการและทำงานซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน โดยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ถูกนำมาใช้ในการหาจำนวนรถไฟฟ้าที่น้อยที่สุดสำหรับให้บริการตามตารางเดินรถที่กำหนด จากผลการคำนวณจะต้องการรถไฟฟ้าอย่างน้อยจำนวน 240 ขบวน สำหรับโครงการรถไฟฟ้าในอนาคตในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลซึ่งมีระยะทางการให้บริการรวม 509 กิโลเมตร โดยพบว่าระยะทางและเฮดเวย์ในการให้บริการเดินรถจะส่งผลต่อจำนวนรถไฟฟ้าที่ต้องการ ทั้งนี้รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนมักจะมีรถไฟฟ้าที่ว่างจากการให้บริการในชั่วโมงปกติระหว่างช่วงเวลาเร่งด่วน วิธีการฮิวริสติกจึงถูกนำมาใช้เพื่อจัดตารางเดินรถและจัดตารางงานซ่อมบำรุงในเวลาว่างจากการใช้บริการของรถไฟฟ้าซึ่งจะสามารถระบุจำนวนรถไฟฟ้าที่น้อยที่สุดที่ต้องการสำหรับให้บริการและทำงานซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านวิศวกรรมศาสตร์

References

[1] TEAM Consulting Engineering and Management Company Limited, TEAM Logistics and Transport Company Limited, and Daoreuk Communications Company Limited, “Mass Rapid Transit Master Plan in Bangkok Metropolitan Region: M-MAP,” Bangkok: Transportation and Traffic Policy Plan Office, 2010.

[2] Railway applications–The specification and demonstration of Reliability, Availability, Maintainability and Safety (RAMS) - Part 2: Guide to the application of EN 50126-1 for safety, CENELEC - CLC/TR 50126-2, 2007.

[3] A. Schrijver, “Minimum circulation of railway stock,” Cwi Quarterly, vol. 6, pp. 205–217, 1993.

[4] D. Canca, M. Sabido, and E. Barrena, “A rolling stock circulation model for railway rapid transit systems,” Transportation Research Procedia, vol. 3, pp. 680–689, 2014.

[5] R. K. Mobley, In Maintenance Fundamentals. Butterworth-Heinemann, 2011, pp. 1–10.

[6] G. Budai, D. Huisman, and R. Dekker, “Scheduling preventive railway maintenance activities,” Journal of the Operational Research Society, vol. 57, pp. 1035–1044, 2006.

[7] W. Tharmmaphornphilas, “Study and comparison of operations system for EMU maintenance depot,” Report NSTDA, Bangkok, Thailand, 2016.

[8] G. Maróti and L. Kroon, “Maintenance routing for train units: The interchange model,” Computers & Operations Research, vol. 34, pp. 1121–1140, 2007.

[9] J.-F. Cordeau, G. Desaulniers, N. Lingaya, F. Soumis, and J. Desrosiers, “Simultaneous locomotive and car assignment at VIA Rail Canada,” Transportation Research Part B:
Methodological, vol. 35, pp. 767–787, 2001.

[10] G. L. Giacco, D. Carillo, A. D’Ariano, D. Pacciarelli, and Á. G. Marín, “Short-term rail rolling stock rostering and maintenance scheduling,” Transportation Research Procedia, vol. 3, pp. 651–659, 2014.