ผลของหมู่ฟังก์ชันและความขรุขระบนพื้นผิวของแก้วพรุนต่อการดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยวิธีการสร้างแบบจำลองมอนติคาร์โล

Main Article Content

Chontira Boonfung
Niphat Ketprasoet
Chaiyot Tangsathitkulchai
Atichat Wongkoblap

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษากระบวนการดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ด้วยแก้วพรุน โดยใช้วิธีการสร้างแบบจำลองระดับโมเลกุลด้วยวิธีมอนติคาร์โล (Monte Carlo) โดยจำลองการดูดซับแก๊สที่มีขนาดรูพรุนระหว่าง 10 ถึง 60 Å ที่อุณหภูมิ 283 K จนถึงความดันสูงสุด 4500 kPa เพื่อศึกษาผลของหมู่ฟังก์ชันที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูดซับแก๊สภายในรูพรุน โครงสร้างแก้วพรุนจะถูกจำลองให้มีผนังสองด้านขนานกันและมีระยะห่างระหว่างผนังทั้งสองเท่ากับความกว้างของรูพรุน แต่ละโมเลกุลของผลึกซิลิคอนเตตระออกไซด์ (SiO4) บนผนังจะจัดเรียงตัวกันแบบเตตระฮีดรอลซึ่งอาจจะปรากฏหมู่ฟังก์ชันหรือไม่มีหมู่ฟังก์ชัน ผลการทดลองพบว่าไอโซเทิร์มการดูดซับแก๊สที่ความดันต่ำจะมีปริมาณการดูดซับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากนั้นการดูดซับจะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ เมื่อความดันเพิ่มขึ้นหมู่ฟังก์ชันไม่มีผลต่อการดูดซับ CO2 ในขณะที่พื้นผิวขรุขระจะช่วยให้การดูดซับแก๊สเริ่มเกิดขึ้นที่ความดันต่ำกว่า

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านวิศวกรรมศาสตร์

References

[1] J. G. Harris and K. H. Yung, “Carbon dioxide’s liquid-vapor coexistence curve and critical properties as predicted by a simple molecular model,” The Journal of Physical Chemistry, vol. 99, no. 31, pp. 12021–12024, 1995.

[2] D. D. Do and H. D. Do, “Pore characterization of carbonaceous materials by DFT and GCMC simulations: A review,” Adsorption Science & Technology, vol. 21, no. 5, pp. 389–423, 2003.

[3] J. P. Jeffrey and J. I. Siepman, “Vapor–liquid equilibria of mixtures containing alkanes, carbon dioxide, and nitrogen,” AIChE Journal, vol. 47, no.7, pp. 1676–1682, 2001.

[4] C. M. Tenney and C. M. Lastoskie, “Molecular simulation of carbon dioxide adsorption in chemically and structurally heterogeneous porous carbons,” AIChE Journal, vol. 25, no. 4, pp. 343–354, 2003.

[5] S. Calero, D. Dubbeldam, R. Krishna, B. Smit, T. J. H. Wlugt, J. F. M. Denayer, J. A. Martens, and T. L. M. Maesen, “Understanding the role of sodium during adsorption: A force field for alkanes in sodium-exchanged faujasites,” Journal of the America Chemical Society, vol. 126, pp. 11377–11386, 2004.

[6] Y. Liu and J. Wilcox, “Effects of surface heterogeneity on the adsorption of CO2 in microporous carbons,” Environmental Science & Technology, vol. 46, pp. 1940–1947, 2012.

[7] D. Frenkel and B. Smit, Understanding Molecular Simulation, 2nd ed., New York: Academic Press, 2002.

[8] S. Samios, A .K. Stubos, N. K. Kanellopoulos, R. F. Cracknell, G. K. Papadopoulos, and D. Nicholson, “Determination of micropore size distribution from grand canonical monte carlo simulations and experimental CO2 isotherm data,” Langmuir, vol. 13, pp. 2795–2802, 1997.