การลดค่าใช้จ่ายรวมที่เกี่ยวข้องกับของเสียประเภทรอยของแผ่นรองเครื่องเล่นซีดี

Main Article Content

Pakorn Wiriyakobbun
Napassavong Osothsilp

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตชิ้นงานแผ่นรองเครื่องเล่นซีดีในรถยนต์ เพื่อลดของเสียจากข้อบกพร่องประเภทรอยมีค่าใช้จ่ายเท่ากับ 221,544 บาท ในระยะเวลา 2 เดือน หรือมีสัดส่วนของเสียเท่ากับร้อยละ 77.71 งานวิจัยนี้ประยุกต์ใช้เครื่องมือการปรับปรุงคุณภาพตามแนวทางการออกแบบการทดลอง โดยแบ่งเป็น 5 ระยะ ได้แก่ระยะการกำหนดหัวข้อปัญหา โดยเลือกปัญหาและอธิบายสภาพปัญหาที่จะปรับปรุง ระยะการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาโดยการระดมสมองเพื่อหาปัจจัยนำเข้าและการวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่อง และผลกระทบของกระบวนการ ซึ่งพบว่าปัจจัยที่มีผลกระทบ 6 ปัจจัย ที่ทำให้เกิดของเสียจากข้อบกพร่องประเภทรอยอันได้แก่ แรงกำหนดของเครื่องปั๊ม ความแข็งของยางยูรีเทน ระยะห่างระหว่างขอบชิ้นงานและขอบแผ่นเหล็ก อายุการใช้งานของแท่งตัดและแผ่นดายตัด อายุการใช้งานของยางยูรีเทน และความเร็วในการตัดเฉือน ระยะการออกแบบทดลอง โดยการกำหนดของปัจจัยที่ใช้ในการทดลองการออกแบบเมทริกซ์ออกแบบเพื่อใช้ในการทดลอง ระยะการวิเคราะห์ผลการทดลอง เพื่อพิสูจน์ความมีนัยสำคัญทางสถิติของปัจจัยนำเข้า และระยะการทดสอบเพื่อยืนยันผลหลังการปรับปรุง โดยหลังการปรับปรุงพบว่า ค่าใช้จ่ายรวมต่อหน่วยผลิตลดลงจาก 0.675 บาทต่อชิ้น เป็น 0.110 บาทต่อชิ้น หรือลดลงเป็นสัดส่วนเท่ากับร้อยละ 83.70 ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ 486,000 บาทต่อปี

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านวิศวกรรมศาสตร์

References

[1] B. Sornnil, Fachnde Metall. Bangkok: KMUTNB Textbook Publishing Center, 2012, pp. 92–97.

[2] Cold-reduced steel sheets and strip, Japanese Industrial Standard G3141, 2005.

[3] V. Premanond and O. Deawwanich, Mold and Die Material. TPA Publishing Center, 2014, pp. 2–3.

[4] C. Supprayakorn, P. Swasdisorn, and W. Prasertworanun, Die Design. TPA Publishing Center, 2014, pp. 9–11.

[5] V. Premanond and P. Keawtatip, Sheet Metal Die. TPA Publishing Center, 2014, pp. 66–68.

[6] S. Wongai and C. Jaturnonda, “Defect reduction of ring plate for bolt locking in progressive die process by design and analysis of experiment,” M.S. thesis, Department of Production Engineeing, Faculty of Engineeing King Mongkut’s University of Technology Thonburi, 2011 (in Thai).

[7] P. Leetrakul, “Influence of clearance in the piercing process to effecting the shaving process for alloy sheet,” M.S. thesis, Department of Manufacturing Engineeing, Faculty of Engineeing Rajamangala University of Technology Thanyaburi, 2011 (in Thai).

[8] P. Oonchuen “Reduction of defective rate from rough surface defects of casted product,” M.S. thesis, Department of Industrial Engineeing, Faculty of Engineeing Chalalongkorn University, 2016 (in Thai).

[9] Potential Failure Mode and Effects Analysis (FMEA), 4th ed., Automotive Industry action Group (AIAG), 2008, pp. 67–111.