แบบจำลองเชิงเส้นผสมจำนวนเต็มสำหรับ การวางแผนการผลิตรวมในโซ่อุปทานสับปะรดพันธุ์ควีน

Main Article Content

ชัยมงคล ลิ้มเพียรชอบ
วงศ์ผกา วงศ์รัตน์
ปริญญา พัฒนวสันต์พร
สมยศ เชิญอักษร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ปัญหาการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ที่เกิดขึ้นกับสับปะรดพันธุ์เพชรบุรี ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มสับปะรดพันธุ์ควีน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ด้านหลัก คือ ด้านการจัดการด้านแปลงปลูก ซึ่งเกษตรกรสามารถใช้แปลงปลูกได้เพียงปีละหนึ่งครั้งเท่านั้น โดยเกษตรกรต้องรอเก็บเกี่ยวและเก็บหน่อสับปะรดเสร็จเรียบร้อยแล้วถึงสามารถใช้เป็นแปลงปลูกสับปะรดในรุ่นถัดไป รวมถึงการวางแผนการใส่ปุ๋ยและฉีดสารเร่งดอกให้มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการและสัมพันธ์กับช่วงเวลาที่สับปะรดกำลังเจริญเติบโต ปัญหาอีกด้านหนึ่ง คือ การหมุนเวียนใช้แปลงปลูกซึ่งเป็นปัญหาหลักที่เกษตรกรรายใหม่ประสบอยู่ หากเกษตรกรมีจำนวนแปลงปลูกมาก การหมุนเวียนใช้แปลงปลูกให้มีผลผลิตออกมาอย่างต่อเนื่องก็เป็นเรื่องที่ลำบากเช่นกันเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้แบบจำลองเชิงเส้นผสมจำนวนเต็มโดยสร้างเป็นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อใช้ในการวางแผนการการเพาะปลูกการใส่ปุ๋ยและฉีดสารเร่งดอก ตลอดจนการหมุนเวียนใช้แปลงปลูกให้มีผลผลิตออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลลัพธ์ที่เหมาะสมที่สุดจากโปรแกรม CPLEX แสดงให้เห็นว่าสามารถลดต้นทุนการดำเนินการรวมได้ถึง 2.47%เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนก่อนการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์

คำสำคัญ: การจัดการโซ่อุปทาน โลจิสติกส์ สับปะรดพันธุ์เพชรบุรี แบบจำลองเชิงเส้นตรงผสมจำนวนเต็ม

Abstract

The problems of supply chain and logistics forPhetchaburi pineapple, which is one of the Queenpineapple species, consists mainly of plantingmanagement and the land plantation cycle. Farmerscan use the land for planting only once a year andmust wait for harvesting to be completed before the landcan be used for the next crop. In addition, balancingthe planning of fertilization and the injection offlorigen period planning is important since it isrelated to the time the plant needs to grow. The landplanting cycle is another main problem faced by newfarmers. If farmers have many planting areas, cyclingthe fields for successive production is difficult as well.To solve the above problems, mixed-integerlinear programming models were developed by creatingmathematical models, starting from the planning ofplanting to fertilizing and the injection of florigen,including cycling the fields for successive production.Optimum results were obtained from the CPLEX 8.0program, which showed that total cost qA reducedto 2.47% when compared to the cost before using themodels.

Keywords: Supply Chain Management, LogisticsPhetchaburi Pineapple, Mixed-integerLinear Programming

Article Details

บท
บทความวิจัย