วงจรควบคุมค่าตัวต้านทานแบบลอยชนิดบวก/ลบ ที่เป็นอิสระจากอุณหภูมิและ สามารถควบคุมได้ด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ DV-CCTA เพียงตัวเดียว

Main Article Content

กังวาล พยัคฆกุล
ธาดา คำแดง
มนตรี ศิริปรัชญานันท์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอ วงจรควบคุมค่าตัวต้านทานแบบลอยชนิดบวก/ลบ โดยใช้ DV-CCTA ลักษณะเด่นของวงจรที่นำเสนอคือ ค่าความต้านทานที่ได้เป็นอิสระจากอุณหภูมิ โดยปราศจากเงื่อนไขการทำงาน สามารถควบคุมค่าความต้านทานได้ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ วงจรที่ออกแบบจะมีโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อนประกอบไปด้วยDV-CCTA หนึ่งตัวต่อร่วมกับตัวต้านทานต่อลงกราวนด์อีกหนึ่งตัว วงจรที่นำเสนอจึงเหมาะสมที่จะพัฒนาเป็นวงจรรวม ผลจำลองด้วยโปรแกรม PSpice พบว่าเมื่อกำหนดให้วงจรมีค่าความต้านทาน ±1kΩ พบว่าค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยของตัวต้านทานแบบบวกและแบบลบ เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงในช่วง -100°C ถึง 100°C มีค่าเท่ากับ0.272% และ 0.356% ตามลำดับ วงจรมีอัตราดึงกำลังไฟฟ้าเพียง 1.92mW ที่ไฟเลี้ยง ±1.5V พบว่าการทำงานของวงจรสอดคล้องตามที่คาดการณ์ไว้ในทฤษฎี

คำสำคัญ: วงจรสายพานกระแสส่งผ่านความนำแบบเปรียบเทียบแรงดันผลต่างอินพุต ค่าตัวต้านทานแบบลอยชนิดบวก/ลบ

Abstract

This article describes the positive and negativeresistances control circuit, based on DifferentialVoltage Current Conveyor TransconductanceAmplifier (DV-CCTA). The distinguished featuresof the proposed circuit are that the obtainedresistances are ideally temperature-insensitive withoutany matching constraint and the resistances canbe electronically controlled. The circuit consists ofmerely 1 DV-CCTA and 1 grounded resistor. By usingonly a grounded element and a simple circuit design,the proposed circuit is then suitable for IC architecture.The PSpice simulation results are depicted. Theyshow that at the controlled resistance of ±1kΩ, theaverage deviations of positive/negative resistances arerespectively 0.272% and 0.356%, with temperaturevariation from -100°C to 100°C. The total powerconsumption is approximately 1.92mW at ±1.5V powersupply. The given results agree well with the theoreticalhypothesis.

Keyword: Differential Voltage Current ConveyorTransconductance Amplifier, Positive andNegative Resistances Control Circuit

Article Details

บท
บทความวิจัย