การพัฒนาสมรรถนะแกนกลางสำหรับอาชีพช่างซ่อมรถยนต์ของประเทศไทย: กรณีศึกษาด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของสถานประกอบการ

Main Article Content

วีระยุทธ สุดสมบูรณ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของช่างซ่อมรถยนต์สถานประกอบการจำเป็นที่จะต้องพัฒนาและสนับสนุนให้ช่างซ่อมรถยนต์เข้าใจเกี่ยวกับสมรรถนะแกนกลาง เนื่องจากความสามารถในการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการจะเป็นปัจจัยส่งเสริมในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับสถานประกอบการได้อย่างยั่งยืน วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อพัฒนาสมรรถนะแกนกลางสำหรับช่างซ่อมรถยนต์ของประเทศไทยด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของสถานประกอบการ ระเบียบวิธีการวิจัยที่ใช้ในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ผู้วิจัยใช้เทคนิคการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและการศึกษาขั้นตอนการปฏิบัติงานร่วมกับช่างซ่อมรถยนต์ จำนวน 5 คน ในสังกัดบริษัท มิตซูออโต้ซิตี้ จำกัด และ ขั้นตอนที่ 2 ผู้วิจัยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่มร่วมกับผู้จัดการฝ่ายฝึกอบรมและครูฝึกอบรม จำนวน 6 คน ของบริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส(ประเทศไทย) จำกัด การเก็บข้อมูลในขั้นตอนที่ 1 ประกอบด้วยแบบฟอร์มการวิเคราะห์งาน แบบฟอร์มการสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสังเกตการณ์การปฏิบัติงานการเก็บข้อมูลในขั้นตอนที่ 2 ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ชนิดปลายเปิด แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ผังดาคัมและแบบฟอร์มการหาความเที่ยงตรงเพื่อกำหนดสมรรถนะแกนกลาง การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย การวิเคราะห์เอกสาร การวิเคราะห์งาน และการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า มี 8 พิสัยหลักที่จัดเป็นสมรรถนะแกนกลางที่จำเป็นต่อการพัฒนาความเป็นช่างยนต์มืออาชีพ และสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานจำนวน 25 สมรรถนะ ผลของการนำเสนอผลงานวิจัยครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมรูปแบบการพัฒนาขีดความสามารถของช่างซ่อมรถยนต์โดยมุ่งเน้นการสร้างความยั่งยืนเพื่อสอดรับกับความต้องการกำลังคนของสถานประกอบการ

คำสำคัญ: การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันช่างซ่อมรถยนต์ สมรรถนะแกนกลาง

Abstract

In order to increase automotive servicetechnician competitiveness, companies have anongoing need to develop and foster core competenciesfor automotive service technicians. Because ofan appropriately competent workforce, is crucialto an effective sustained competitive advantage.This study was to develop core competencies forThai automotive service technicians with thestakeholder-driven consensus approach. Theresearch methodology in this study was conductedby qualitative method. In order to successfullyachieve, this study was divided into 2 phases:Phase 1 employed the on-site observationstechnique, with 5 practitioners to achieve a consensusin exploring skills and task analysis on retentionfrom Mitsuauto City, Co., Ltd. and Phase 2 involved theFocus Group Discussion technique with 6 trainingmanger and instructors from the Mitsubishi Motors(Thailand) Co., Ltd. In Phase 1, data were collectedby task analysis form, in-depth interview form,and work instruction sheet. In Phase 2, data werecollected by open-ended interview form, DACUMchart, and validating the core competenciesdomains form. Data were analyzed by the documentanalysis, task analysis and content analysis. Theyare used to illustrate and further analyze thesefindings. The competencies required in Thaiautomotiveservice technicians included 8 domains;competencies were 25 applied to provide the potentialtraining program for Thai automotive industrysectors. The results obtained those social demands,breakdown of competency elements and facultyrequirements for sustainability in workforce capacitydevelopment.

Keywords: Competitiveness Advantage, AutomotiveService Technicians, Core Competencies

Article Details

บท
บทความวิจัย