การศึกษาประสิทธิภาพการบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำบางปะกง–ปราจีนบุรี ด้วยโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และอ่างเก็บน้ำคลองพระสะทึง

Main Article Content

Don Krue-hom
Bancha Kwanyuen

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำบางปะกง–ปราจีนบุรี จากโครงการที่กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่ของกรมชลประทานคือ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการอ่างเก็บน้ำคลองพระสะทึง โดยพัฒนาแบบจำลอง InfoWork ICM และประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพในการบรรเทาอุทกภัยด้วยอ่างเก็บน้ำห้วยโสมงและอ่างเก็บน้ำคลองพระสะทึง โดยจำลองเหตุการณ์อุทกภัยที่คัดเลือกในปี พ.ศ. 2548 พ.ศ. 2549 และปี พ.ศ. 2556 ซึ่งเป็นปีที่พื้นที่ส่วนใหญ่ในพื้นที่การศึกษาประสบปัญหาอุทกภัย จากนั้นจะนำมาประมวลผลตามกรณีศึกษาย่อย (Scenario) คือ 1) กรณีไม่มีอ่างเก็บน้ำทั้ง 2 แห่ง 2) กรณีมีการ Operate อ่างเก็บน้ำห้วยโสมง และอ่างเก็บน้ำคลองพระสะทึง และนำผลมาเปรียบเทียบกันเพื่อพิจารณาประสิทธิภาพในการช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยจากการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำบริเวณจุดพิจารณาทั้งหมด 3 ตำแหน่ง ได้แก่ สถานีวัดน้ำท่า KGT.3, KGT.6 และ KGT.1 ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการบรรเทาปัญหาอุทกภัยของกรณีศึกษา เมื่อพิจารณาที่ 1) สถานี KGT.3 พบว่า สามารถลดอัตราการไหลลงได้ 26.97 ลบ.ม./วินาที ในปี พ.ศ. 2548, 54.31ลบ.ม./วินาที ในปี พ.ศ. 2549 และ 37.36 ลบ.ม./วินาที ในปี พ.ศ. 2556 หรือคิดเป็นร้อยละ 4.88, 9.59 และ 5.12 ตามลำดับ 2) สถานี KGT.6 พบว่า สามารถลดอัตราการไหลลงได้ 24.62 ลบ.ม./วินาที ในปี พ.ศ. 2548, 30.80 ลบ.ม./วินาที ในปี พ.ศ. 2549 และ 60.89 ลบ.ม./วินาที ในปี พ.ศ. 2556 หรือคิดเป็นร้อยละ 4.30, 4.94 และ 6.79 ตามลำดับ และ 3) สถานี KGT.1 พบว่าสามารถลดอัตราการไหลลงได้ 25.27 ลบ.ม./วินาที ในปี พ.ศ. 2548, 38.21 ลบ.ม./วินาที ในปี พ.ศ. 2549 และ 19.60 ลบ.ม./วินาที ในปี พ.ศ. 2556 หรือคิดเป็นร้อยละ 3.62, 5.42 และ 2.06 ตามลำดับ จากผลการวิเคราะห์ข้างต้นจะเห็นได้ว่าการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยโสมงและอ่างเก็บน้ำคลองพระสะทึง มีประสิทธิภาพในการบรรเทาอุทกภัย โดยสามารถแก้ปัญหาอุทกภัยได้เพียงบางส่วนเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุการเกิดน้ำท่วมขึ้นกับลักษณะการเกิดฝนและตำแหน่งการเกิดฝนตก ดังนั้นในการแก้ปัญหาด้านอุทกภัยในพื้นที่ศึกษา ก็ยังจำเป็นต้องพิจารณาแนวทางอื่นๆ เพิ่มเติมควบคู่ไปเพื่อให้สามารถบรรเทาอุทกภัยได้เพิ่มขึ้น ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย ด้านวิศวกรรมศาสตร์

References

[1] Department of Water Resources, Ministry of Natural Resources and Environment, “Integrated plan for water resources management in Bang Pakong-Prachin Buri Basins,” Final Report (Main Report), Bangkok, Thailand. 2004 (in Thai).

[2] Department of Public Works and Town & Country Planning, Ministry of Interior, “Feasibility study and detailed design of flood protection and drainage systems of Prachinburi Province,” Master Plan Report (Main Report), Bangkok, Thailand. 2013 (in Thai).

[3] Y. Chanda, “Flood forecasting in banpakong river basin by mike 11,” M.S. thesis, Department of Water Resources Engineering, Kasetsart University, Bangkok, Thailand. 1998 (in Thai).

[4] A. Chamnanvejchakij, “Flood study in the lower Chou Phaya river basin by Mathematical Model ISIS,” M.S. thesis, Department of Water Resources Engineering, Kasetsart University, Bangkok, Thailand. 1998 (in Thai).

[5] R. Thiramanas, “Effectiveness on flood mitigation of Kaeng Sua Ten Reservoir,” M.S. thesis, Department of Water Resources Engineering, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand. 2004 (in Thai).

[6] N. Kampom, “The study of flood alleviation of lower Chou Phaya river basin using existing natural retention area,” M.S. thesis, Department of Water Resources Engineering, Kasetsart University, Bangkok, Thailand. 2001 (in Thai).

[7] T. Tingsanchali, “Flood plain modeling”, Ph.D. thesis, Asian Institute of Technology, Pathum Thani, Thailand, 1974.

[8] Asian Institute of Technology, Danish Hydraulic Institute and Acres International Limited, “Chao Phraya Flood Management Review,” Final Report, Pathum Thani, Thailand, 1996.


[9] T. Kim, J. Heo, D. Bae, and J. Kim, “Single-reservoir operating rules for a year using multiobjective genetic algorithm,” Journal of Hydroinformatics, vol. 10, no. 2, pp. 163–179, 2008.

[10] Department of Water Resources, Ministry of Natural Resources and Environment, Bangkok, “Increase in efficiency of the Forecasting and Warning System,” Final Report (Mathematical Model InfoWorks ICM and ICMLive Manaul), Thailand. 2016 (in Thai).

[11] Royal Irrigation Department, Ministry of Agriculture and Cooperatives, “Work Manual,” Reservoir Operation Rule Curves, vol. 9, no. 16, Bangkok, Thailand. 2014 (in Thai).

[12] L. Chen, J. McPhee, and W. W.- G. Yeh, “A diversified multiobjective GA for optimizing reservoir rule curves,” Advances Water Resources, vol. 30, no. 5, pp. 1082–1093, May 2007.