กระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ กลุ่มอุตสาหกรรมนํ้าตาล กรณีศึกษาโรงงานนํ้าตาลกลุ่มวังขนาย

Main Article Content

Tayawut Pothongsangarun
Nataya Kumplanon

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ กลุ่มอุตสาหกรรมนํ้าตาลกรณีศึกษาโรงงานนํ้าตาลวังขนาย มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมนํ้าตาลในกลุ่มวังขนาย 2) เพื่อพัฒนากระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์อุตสาหกรรมนํ้าตาลของกลุ่มวังขนาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยโรงงานนํ้าตาลวังขนาย (บริษัทนํ้าตาลวังขนาย จำกัด) จังหวัดมหาสารคาม โรงงานนํ้าตาลอุตสาหกรรมอู่ทอง (บริษัทนํ้าตาลรีไฟน์ชัยมงคล จำกัด) จังหวัดสุพรรณบุรี โรงงานอุตสาหกรรมนํ้าตาล ที.เอ็น. (บริษัทอุตสาหกรรมนํ้าตาล ที.เอ็น. จำกัด) จังหวัดลพบุรี โรงงานนํ้าตาลราชสีมา (บริษัทอุตสาหกรรมอ่างเวียน จำกัด) จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างจำนวนบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการโลจิสติกส์จำนวน 285 คน ตอบแบบสอบถามกลับมา 104 คน คิดเป็นร้อยละ 36.49 การวิจัยนี้ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling) การสุ่มตัวอย่างโดยกำหนดโควตา (Quota Sampling) ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมนํ้าตาลในกลุ่มวังขนาย มีอยู่ 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1) ดำเนินงานในโซ่อุปทานและกิจกรรมตาม SCOR 2) กลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ 3) กระบวนการของโซ่อุปทาน 4) กระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ สำหรับการพัฒนากระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ พบว่าสมการโมเดลโครงสร้างของกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านโลจิสติกส์มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานในโซ่อุปทานและกิจกรรมตาม SCOR อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อธิบายความสัมพันธ์สมการโมเดลโครงสร้างได้ร้อยละ 95

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Office of the Cane and Sugar Board. (2015, May). Report of the sugar production of sugar factories throughout the country in the year 2014/2015. [Online]. Available: http://www.ocsb.go.th/th/home/index.php

[2] Manager Online. (2014, July). Wangkanai aimed to launch a sugar factory in Chainat Province, interested in SET after a reorganization. [Online]. Available: http://www.manager.co.th/iBiz Channel/ViewNewsaspx?NewID=9570000078057.

[3] R. Nanthapodej, S. Phutthala, and S. Pattanapairoj, “Principle of Supply Chain Operations Reference (SCOR) Model,” Khon Kaen University Engineering Journal, vol. 33, pp.325–335, July–August 2006.

[4] S. Angsuchote, S. Vijitwanna, and R. Pinyopanuwatt, Statistical Analysis for Research Social and Behavioral Science Techniques Using LISREL, 3 rd ed. Bangkok: Jalerndee Munkong Printing, 2011 (in Thai).

[5] R. S. Kaplan and D. P. Norton, “The balanced scorecard: Measures that drive performance,” Harvard Business Review, vol. 70, no. 1, pp. 71–79, January–Febuary 1992.

[6] W. E. Deming, Out of the Crisis, Cambridge, MIT Press, 2000.

[7] L. Saiyos and A. Saiyos, Technique of Educational Research, 5th ed. Bangkok: Suweeriyasarn, 1995 (in Thai).

[8] P. S. Theodore, B. K. Scott, and J. D. Patricia, “Supply chain collaboration and logistical service performances,” Journal of Business Logistics, vol.22, pp.29–48, 2001.

[9] Logistics Corner. (2009, Jul.). Integrated Logistics Management [Online]. Available: http://logidticscorner.com /Docfiles/logistics/integratedlogistics.pdf

[10] B. Hunchangsith, Human Resources Economics: Population, Workforce, Education, Training, Buddhism teaching, Ethics, Health and Sanitation, and Environment. 3rd ed. Bangkok: O.S. Printing House Co., Ltd, 2006.