การพัฒนาชุดฝึกอบรมสำหรับพนักงานในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อลดการเกิดของเสียจากกระบวนการผลิต

Main Article Content

สุรพล ชามาตย์
ธีรวุฒิ บุณยโสภณ
วิฑูรย์ สิมะโชคดี
ยุทธชัย บันเทิงจิตร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือ การพัฒนาชุดฝึกอบรมสำหรับพนักงานในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ให้มีศักยภาพในการลดการเกิดของเสียในกระบวนการผลิต อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ถูกเลือกมาเป็นกรณีศึกษาเพราะเป็นอุตสาหกรรมประเภทที่มีผลกระทบต่อรายได้ของประเทศอย่างมาก และเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐบาลให้การสนับสนุน จากการจัดทำแบบสอบถามเพื่อวิเคราะห์หาปัญหาที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมประเภทนี้ พบว่าปัญหาการเกิดของเสียในกระบวนการผลิตเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้เกิดความสูญเสียมากที่สุด จึงได้จัดทำชุดฝึกอบรมสำหรับพัฒนาพนักงานให้มีศักยภาพดังกล่าว ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่อาจแก้ไขปัญหานี้ได้ ชุดฝึกอบรมที่ได้พัฒนาขึ้นเป็นเอกสารวิชาการที่ออกแบบโดยเฉพาะสำหรับโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ประกอบด้วย 4 ชุดย่อย ได้แก่ 1) กลุ่มปรับปรุงคุณภาพ 2) พื้นฐานทางสถิติเพื่อการควบคุมคุณภาพ 3) การศึกษาดูงานการลดการเกิดของเสียในโรงงานตัวอย่าง และ 4) กลุ่มกิจกรรมปรับปรุงคุณภาพโดยใช้เวลาในการฝึกอบรมรวม 2 วัน เมื่อชุดฝึกอบรมได้ถูกจัดทำเสร็จสิ้น จึงได้จัดการวิพากย์ชุดฝึกอบรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 10 ท่าน ซึ่งมาจากสถาบันยานยนต์4 ท่าน ผู้ประกอบการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 2 ท่าน และอาจารย์ในมหาวิทยาลัย 4 ท่าน หลังจากได้จัดวิพากย์ชุดฝึกอบรมและได้ปรับปรุงตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิได้แนะนำแล้ว จึงได้นำไปใช้ฝึกอบรมพนักงานของโรงงานตัวอย่างซึ่งสุ่มมา 3 โรงงานจากประชากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสม12 โรงงาน เพื่อทดสอบผลสัมฤทธิ์ของชุดฝึกอบรมที่ได้จัดทำขึ้น โดยสุ่มได้ โรงงาน A, B และ C แต่ละโรงงานส่งตัวแทนมารับการฝึกอบรม โรงงานละ 3 คน รวมทั้งหมด9 คน ในระหว่างการฝึกอบรมมีผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 2 คนได้ประเมินการฝึกอบรม ผลการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวอยู่ในระดับดี เมื่อตัวแทนของพนักงานทั้ง 3โรงงานกลับไปทำงานก็ได้นำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรม เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมกลุ่มปรับปรุงคุณภาพในโรงงานของตัวเอง โดยได้เลือกสินค้าที่มีของเสียมากที่สุด เป็นสินค้านำร่องทดลอง โรงงานทั้งสามดังกล่าว ได้เลือกลดของเสียจากสินค้า Guide Stock, PlateFloor Side 696 และการตัดขั้นต้น (Blank) ตามลำดับจำนวนของเสียของทั้ง 3 สินค้าก่อนการฝึกอบรมเฉลี่ยร้อยละ 3.4 หลังจากได้ใช้ความรู้ที่ได้รับจากชุดฝึกอบรมมาดำเนินโครงการลดของเสียแล้วและดำเนินการไปได้2 เดือน จำนวนของเสียเฉลี่ยลดลงเหลือร้อยละ 0.6ซึ่งสรุปได้ว่าชุดฝึกอบรมมีผลสัมฤทธิ์ทำให้ผู้ได้รับการฝึกอบรมมีศักยภาพในเชิงลดของเสียในกระบวนการผลิตได้เป็นอย่างดี จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นสรุปได้ว่าจำนวนของเสียลดลงร้อยละ 82

คำสำคัญ: การพัฒนาชุดฝึกอบรม พนักงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ และ โรงงานอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์

Abstract

The objective of this study was to develop atraining module for employees of automotive partindustry to deal with defect reduction in themanufacturing process. This type of industry wasselected because of its significant impact to the nation’sincome. Also, this industry was one of the targetindustries of the government. After selecting theindustry, a questionnaire was made to find the mostimportant problem resulting in maximum loss for theindustry. The survey results indicated that the defectsgenerated in the process was the most importantproblem. Therefore, it was important to seek thesolution for this problem by developing the trainingmodule to train the employees to meet the requiredpotentials. The module was specially designed onlyfor the automobile part factories which comprised 4sub-modules: 1) quality improvement group, 2) basicstatistics for quality control, 3) visiting factories withsuccess in defect reduction, and 4) QCC activitygroups. The appropriate training time of the modulewas 2 days. After finishing the training module, afocus group was arranged by the participating of 10professional persons: 4 from the Automotive Institute,2 from automotive part manufacturers, and 4from university professors. After the focus groupactivities and improving the module, the trainingsessions were ready to be carried out. Three sampledfactories were randomly selected from 12 appropriatefactories. The selected factory were A, B, and C. Eachof the factories sent 3 employees to attend the trainingcourse. The total of 9 employees were included in thetraining program. During the training the evaluationwas done by 2 specialists showing good level. Afterfinishing the training, the trained employees organizeddefect reduction activities. Each factory selected themost defective product to challenge the knowledge ofthe trained employees. The selected product of the 3sampled factories were Guide Stock, Plate Floor Side696, and blank cutting. Before the training, the averagenumber of defects was 3.4 percents. Two months afterthe training on defect reduction program, the numberof average defects was 0.6 percent. According to theresult, it could be concluded that the training modulewas very effective in reducing the number of defectsby 82%.

Keywords: Training Module Development,Employees in Automotive Part industryand Automotive Part Factories

Article Details

บท
บทความวิจัย