Differential Fruit Maturity Plays an Important Role in Chili Anthracnose Infection

Main Article Content

Patiporn Temiyakul
Paul W.J. Taylor
Orarat Mongkolporn

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ได้ศึกษาความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและชีวเคมีที่เกิดขึ้นระหว่างการพัฒนาการสุกแก่ของผลพริก Capsicum baccatum สายพันธุ์ ‘PBC80’กับการเข้าทำลายของเชื้อ Colletotrichum acutatumซึ่งเป็นสาเหตุโรคแอนแทรคโนส พบว่าความแน่นเนื้อปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ สีผิวของผล และปริมาณกรดที่ไตรเตรทได้ (TA) มีค่าเพิ่มขึ้นในระหว่างที่ผลพริกมีการพัฒนามีเพียงค่า ‘a’ ของสีผล และ TA มีความสัมพันธ์ในเชิงลบต่อขนาดแผลโรคแอนแทรคโนสที่ได้รับการปลูกเชื้อ C. acutatum ‘MJ8’ (R2= -0.48 และ-0.66 ตามลำดับ) อาการโรคแอนแทรคโนส ซึ่งวัดจากขนาดแผลบนผลพริกที่อายุ 4-12 สัปดาห์ภายหลังดอกบาน มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จากระยะผลอ่อนสู่ผลแก่ (ผลยังมีสีเขียว) พบช่วงวิกฤตที่เชื้อไม่สามารถเข้าทำลายผลพริกได้ คือที่ประมาณอายุผล 9 สัปดาห์และมีการเปลี่ยนแปลงของค่า ‘a’ อย่างรวดเร็วจากค่าลบเป็นบวก เมื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงค่า ‘a’ ในทุก 3วันหลังดอกบาน พบว่าผลพริกที่อายุ 65 วัน ยังมีค่า ‘a’ เป็นลบ แต่เชื้อไม่สามารถเข้าทำลายผลพริกตั้งแต่ที่่อายุ 59 วันแล้ว จากแนวโน้มที่ผลพริกเป็นโรคแอนแทรคโนสน้อยลงเมื่อผลแก่ขึ้น ชี้ให้เห็นว่าผลพริกแสดงความต้านทานโรคที่ระยะผลเขียวแก่จัด ก่อนเปลี่ยนสี ถึงแม้ว่าค่า ‘a’ สามารถบ่งชี้พริกที่ระยะผลสุกแก่ได้ แต่ไม่สามารถแยกความแตกต่างของผลพริกที่ระยะเขียวและเขียวแก่ได้ ดังนั้น ค่า ‘a’ จึงไม่สามารถใช้เป็นดัชนีการเก็บเกี่ยวผลพริกที่ระยะเขียวแก่ สำหรับการทดสอบความต้านทานโรคได้

คำสำคัญ: การเข้าทำลายของเชื้อแอนแทรคโนส อายุผลพริก

Abstract

Correlation between physiological and biochemicalchanges that occurred during fruit ripeningof Capsicum baccatum PBC80 and infection byColletotrichum acutatum that caused anthracnosedisease was studied. Fruit firmness, total solublesolids, pericarp color and % titratable acid (TA)increased during fruit development. Only the pericarp color (‘a’ value) and TA showed negative correlation(R2= -0.48 and -0.66 respectively) with lesion sizeafter infection by C. acutatum MJ8 during fruitdevelopment. Lesion size on fruit inoculated atweekly intervals from 4 to 12 weeks after flowering(WAF) gradually decreased during the developmentfrom immature green to mature green fruit. A criticalwindow where C. acutatum was unable to infectfruit occurred around 9 WAF depending on thegrowing season. Pericarp color (‘a’ value) showeda sudden change from negative to positive valuesduring the critical window period. However when the‘a’ value and anthracnose infection were reinvestigatedat more frequent 3-day intervals, the ‘a’ valuesremained negative until 65 days after flowering,while C. acutatum was unable to infect chili fruit6 days earlier. The decreasing trend in lesion sizeduring fruit development suggested that fruit becamefully resistant at the late mature green fruit stage,prior to fruit color change. Although the ‘a’ valuecould be used as a phenotypic marker to identifythe fully ripe stage of chili it could not define theimmature green from the mature green fruit stages.Hence making the ‘a’ value is an unreliable phenotypicmarker to select for mature green fruit resistance.

Keywords: Capsicum baccatum, Colletotrichumacutatum, Differential infection, Fruitmaturity

Article Details

บท
Research Article