Journal Information
ข้อมูลสำหรับผู้แต่ง
คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์
https://docs.google.com/document/d/1ehMHBWPrsJCaqaDhBnNQfRIHuw-_u98_hGHVMPGH01I/edit?usp=sharing
การเตรียมต้นฉบับ
- ต้นฉบับพิมพ์เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ แต่ละเรื่องจะต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยมีองค์ประกอบดังนี้ ชื่อเรื่อง (Title) ชื่อผู้นิพนธ์ (ทุกคน) (Authors) บทคัดย่อ (Abstract) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คำสำคัญ (Keywords) บทนำ (Introduction) วัสดุอุปกรณ์และวิธีการศึกษา (Materials and Methods) ผลการศึกษา (Results) วิจารณ์และสรุปผล (Discussion and Conclusion) กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) (Acknowledgements) เอกสารอ้างอิง (References) การใช้ภาษาไทยให้ยึดหลักการใช้คำศัพท์และการเขียนทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ตามหลักของราชบัณฑิตยสถาน ให้หลีกเลี่ยงการเขียนภาษาอังกฤษปะปนภาษาไทยในข้อความ ยกเว้นกรณีจำเป็น เช่น ศัพท์ทางวิชาการที่ไม่มีคำแปลหรือคำที่ใช้แล้ว ทำให้เข้าใจง่ายขึ้นคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เขียนปะปนภาษาไทยให้ใช้ตัวเล็กทั้งหมด ยกเว้นชื่อเฉพาะสำหรับต้นฉบับภาษาอังกฤษควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องด้านการใช้ภาษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษก่อน
- ขนาดของต้นฉบับ ใช้กระดาษขนาด A4 (8.5x11 นิ้ว) และพิมพ์โดยเว้นระยะห่างจากขอบกระดาษด้านละ 1 นิ้ว (2.54 เซนติเมตร) จัดหน้าพิมพ์เป็นคอลัมน์เดี่ยว โดยมีระยะห่างระหว่างบรรทัดเป็นแบบ double space เพื่อสะดวกในการอ่านและการแก้ไข ส่วนเนื้อด้านในใช้ระยะห่างระหว่างบรรทัดเท่าเดิม
- ชนิดและขนาดตัวอักษร ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษรแบบ TH Niramit โดยชื่อเรื่องใช้ตัวอักษรขนาด 16 pt. ตัวหนา ชื่อผู้นิพนธ์ใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวปกติ หัวข้อหลักใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวหนา หัวข้อรองใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวหนา บทคัดย่อและเนื้อเรื่องใช้ตัวอักษรขนาด 14 pt. ตัวปกติ เชิงอรรถหน้าแรกที่เป็นที่อยู่ของผู้นิพนธ์ ใช้อักษรขนาด 12 pt. ตัวปกติ เนื้อหาใช้การกระจายตัวอักษรแบบ Thai Distributed
- การส่งต้นฉบับ ผู้เสนอผลงานจะต้องส่งต้นฉบับแบบพิมพ์ จำนวน 3 ฉบับ และในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ “.doc”(MS Word) หรือ “.rft” (Rich text)
- จำนวนหน้า ความยาวของบทความไม่ควรเกิน 15 หน้า รวมตาราง รูปภาพ (JPEG.) และเอกสารอ้างอิง
- การอ้างอิงใช้รูปแบบ APA (The American Psychological Association) ในการอ้างอิงท้ายข้อความในเรื่องให้กำกับด้วยตัวเลขในวงเล็บ เช่น [1, 2, 3] และใช้ตัวเลขนำหน้าเอกสารอ้างอิงท้ายเรื่อง โดยมีการอ้างอิงภาษาไทยก่อนภาษาอังกฤษ
- รูปแบบการเขียนต้นฉบับ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทบทความรายงานผลงานวิจัย (research article/original article) และบทความวิชาการทันสมัยหรือบทความปริทัศน์ที่ได้จากการทบทวนเอกสารงานวิจัยใหม่ๆ ที่ผู้อื่นได้ทำไว้มาก่อน (review article)
- ใส่เลขหน้ากำกับทุกหน้า ด้านบนขวาของกระดาษ A4
การเรียงลำดับหัวข้อในบทความ
- ชื่อเรื่อง (Title) ควรสั้น กะทัดรัด และสื่อเป้าหมายหลักของงานวิจัย ไม่ใช้คำย่อ ความยาวไม่ควรเกิน 100 ตัวอักษร (ประมาณ 2 บรรทัด) ชื่อเรื่องให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ต้นฉบับภาษาไทยให้พิมพ์ชื่อเรื่องภาษาไทยก่อน แล้วตามด้วยภาษาอังกฤษ ดังตัวอย่าง “Local communities’ participation in sustainable tourism management along the Phayao Lake Rim”
- ชื่อผู้นิพนธ์ [Author(s)] และที่อยู่ ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และระบุหน่วยงานหรือสถาบันที่สังกัด และ E-mail address ของผู้นิพนธ์ เพื่อกองบรรณาธิการและผู้ที่สนใจบทนิพนธ์สามารถติดต่อได้
- บทคัดย่อ (Abstract) เป็นการย่อเนื้อความงานวิจัยทั้งเรื่องให้สั้นและมีเนื้อหาครบถ้วนตามเรื่องเต็ม ความยาวไม่เกิน 250 คำ ไม่ควรมีคำย่อ
- คำสำคัญ (Keywords) ใหระบุไว้ท้ายบทคัดย่อของแต่ละภาษา ไม่ควรเกิน 5 คำ
- บทนำ (Introduction) เป็นส่วนเริ่มต้นของเนื้อหาที่บอกความเป็นมา เหตุผล และวัตถุประสงค์ที่นำไปสู่การวิจัยนี้ ควรให้ข้อมูลทางวิชาการที่เกี่ยวข้องจากการตรวจเอกสารประกอบ
- วัสดุอุปกรณ์และวิธีการศึกษา (Materials and Methods) ให้ระบุรายละเอียดวัสดุ อุปกรณ์ สี่งที่นำมาศึกษา จำนวน ลักษณะเฉพาะของตัวอย่างที่ศึกษา อธิบายวิธีการศึกษา แผนการทดลองทางสถิติ วิธีการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ และการแปรผล
- ผลการศึกษา (Results) รายงานผลที่ค้นพบตามลำดับขั้นตอนของการวิจัยอย่างชัดเจนได้ใจความ ถ้าผลไม่ซับซ้อน และมีตัวเลขไม่มาก ควรใช้คำบรรยาย แต่ถ้ามีตัวเลขหรือตัวแปรมาก ควรใช้ตารางหรือแผนภูมิแทน และไม่ควรมีเกิน 5 ตารางหรือแผนภูมิ
- วิจารณ์และสรุปผล (Discussion and Conclusion) แสดงให้เห็นว่าผลการศึกษาตรงกับวัตถุประสงค์และเปรียบเทียบกับสมมติฐานของงานวิจัยที่ตั้งไว้ หรือแตกต่างไปจากผลงานที่มีรายงานไว้ก่อนหรือไม่ อย่างไร เหตุผลใดจึงเป็นเช่นนั้นและมีพื้นฐานอ้างอิงที่เชื่อถือได้ และให้จบด้วยข้อเสนอแนะที่จะนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ หรือทิ้งประเด็นคำถามการวิจัย ซึ่งเป็นแนวทางสำหรับการวิจัยต่อไป
- ตาราง รูปภาพ แผนภูมิ (Tables, Figures, and Diagrams) ควรคัดเลือกเฉพาะที่จำเป็นแทรกไว้ในเนื้อเรื่อง โดยเรียงลำดับให้สอดคล้องกับคำอธิบายในเนื้อเรื่อง และต้องมีคำอธิบายสั้นๆ ที่สื่อความหมายได้สาระครบถ้วน กรณีที่เป็นตารางให้คำอธิบายอยู่ด้านบน ถ้าเป็นรูปภาพ แผนภูมิ คำอธิบายอยู่ด้านล่าง (สำหรับรูปภาพจะต้องส่งในรูปแบบของอิเล็คทรอนิกส์ไฟล์ jpg.)
- กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) ระบุสั้นๆ ว่างานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนและความช่วยเหลือจากองค์กรใด หรือ ผู้ใดบ้าง
- ระบุรายการเอกสารที่นำมาใช้อ้างอิงให้ครบถ้วน โดยใช้อ้างอิงแบบ APA (American Psychological Association) คือ ให้เรียงเอกสารที่ใช้อ้างอิงทั้งหมดตามลำดับตัวอักษรตัวแรกของรายการทีอ้างอิง โดยยึดวิธีการเรียงลำดับตามแบบพจนานุกรม โดยมีเอกสารอ้างอิงภาษาไทยก่อนภาษาต่างประเทศ
ตัวอย่างการเขียนต้นฉบับบทความ (manuscript template)