Journal Information
Publication Ethics
มาตรฐานทางจริยธรรมของคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์ของวารสาร
จริยธรรมและความรับผิดชอบของบรรณาธิการ
บรรณาธิการควรจะต้องรับผิดชอบต่อทุกสิ่งที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ในความรับผิดชอบ คือ:
- บริหารและดำเนินงการงานวารสารให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร และหลักธรรมาภิบาลของวารสาร
- รักษาและรับรองมาตรฐานคุณภาพทางวิชาการของผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ของวารสาร
- ส่งเสริมและสนับสนุนใหผู้นิพนธ์แสดงความเห็นโดยเสรีที่ไม่ขัดกฎหมายและศรีธรรมอันดีงามของวารสาร
- พัฒนาคุณภาพของวารสารอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านรูปแบบ เนื้อหา และระบบการดำเนินการให้สอดคล้องกับวิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่
จริยธรรมของบรรณาธิการ (Editor)
ให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับผลงานทางวิชาการ และผลงานวิจัย ที่ตีพิมพ์ อาทิ ผู้นิพนธ์ สังกัดของผู้นิพนธ์นิพนธ์ ที่มาของผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัย ฯลฯ ให้ผู้อ่านได้ทราบ
- หน้าที่ของบรรณาธิการทำการประเมินบทความเบื้องต้นก่อนการพิจารณาคุณภาพ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่ตนรับผิดชอบ
- หน้าที่ของบรรณาธิการไม่เป็นผู้เปิดเผยข้อมูลของทั้งผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความวิชาการและบทความวิจัยในระหว่างการประเมินบทความดังกล่าว
- หน้าที่ของบรรณาธิการทำการพิจารณาและตัดสินใจคัดเลือกบทความเพื่อลงตีพิมพ์หลังผ่านกระบวนการประเมินบทความตามหลักเกณฑ์การประเมินของวารสาร ซึ่งพิจารณาจากความสำคัญของบทความให้มีความชัดเจน และความสอดคล้องของบริบทในบทความกับวัตถุประสงค์ของวารสาร
- หน้าที่ของบรรณาธิการไม่ตีพิมพ์บทความซ้ำซ้อนกับการตีพิมพ์จากวารสารอื่น
- หน้าที่ของบรรณาธิการไม่ปฏิเสธการตีพิมพ์บทความของนักวิจัย เพราะเหตุสงสัยหรือไม่แน่ใจบทความดังกล่าว เพราะฉะนั้นต้องหาหลักฐานเพื่อพิสูจน์ข้อสงสัยก่อน
- หน้าที่ของบรรณาธิการไม่มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้นิพนธ์ (นักวิจัย) ผู้ร่วมนิพนธ์ ผู้ประเมิน และผู้บริหารจัดการวารสาร
- หน้าที่ของบรรณาธิการมีการตรวจสอบบทความดังกล่าวที่มีการคัดลอกผลงานผู้อื่น (plagiarism) มาหรือไม่ โดยการใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้ เพื่อให้ความแน่ใจว่าบทความดังกล่าวที่ขอลงตีพิมพ์จะไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น แต่ถ้าหากพบทางวารสารจะยุติการส่งบทความให้กับผู้ประเมิน พร้อมทั้งแจ้งผู้นิพนธ์หลักทันที เพื่อขอคำชี้แจงในการส่งบทความที่คัดลอกเข้ามาประกอบการตอบรับหรือปฏิเสธ
- หน้าที่ของบรรณาธิการชี้แจงกระบวนการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัยในวารสารทุกขั้นตอนเป็นลายลักษณอักษร นับตั้งแต่รูปแบบการพิมพ์ การนำส่งการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพเบื้องต้น การประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่น้อยกว่า 3 คน แจ้งผลการประเมินคุณภาพไปยังผู้นิพนธ์ ซึ่งจะมีทั้งการให้ตีพิมพ์ การให้ตีพิมพ์โดยมีเงื่อนไข และการปฏิเสธการตีพิมพ์
- หน้าที่ของบรรณาธิการการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพของผลงานทางวิชาการ และวิจัย กองบรรณาธิการพิจารณาจากความถูกต้อง ความเหมาะสมและความชัดเจนของเนื้อหา และเทคนิควิธีการศึกษา ความสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
- หน้าที่ของบรรณาธิการในกรณีที่ผู้นิพนธ์มีความเห็นต่างจากคำแนะนำหรือข้อเสนอแนะของผู้ประเมินคุณภาพผลงานทางวิชาการ และผลงานวิจัย ผู้นิพนธ์สามารถอุทธรณ์หรือชี้แจงประเด็นที่มีความเห็นต่างดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังกองบรรณาธิการภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับเอกสารผลการประเมิน
จริยธรรมของผู้นิพนธ์ (Author)
- หน้าที่ของผู้นิพนธ์ ต้องทำการรับรองว่าบทความของผู้นิพนธ์ที่ส่งมา ไม่เคยเสนอหรือกำลังเสนอตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาจากวารสารอื่น
- หน้าที่ของผู้นิพนธ์ ควรเขียนบทความให้ต้องถูกตามระเบียบแบบฟอร์มของทางวารสารที่กำหนด
- หน้าที่ของผู้นิพนธ์ต้องเขียนในข้อเท็จจริงจากการทำวิจัยของตนเอง โดยไม่บิดเบือนข้อมูลในงานนั้น ๆ ซึ่งจะก่อให้เกิดข้อมูลที่เป็นเท็จได้
- หน้าที่ของผู้นิพนธ์ หากมีการอ้างอิงบทความของผู้อื่นที่นำมาใช้ในบทความของตัวเอง ต้องระบุการอ้างอิงชื่อบทความหรือผู้แต่งลงไปในเนื้อหาและเอกสารอ้างอิง
- หน้าที่ของผู้นิพนธ์จะต้องระบุชื่อของผู้นิพนธ์ทุกคนที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการวิจัยดังกล่าว
- หน้าที่ของผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งทุนที่ให้การสนับสนุนในการทำศึกษาทำวิจัยด้วยไว้ท้ายบทความ
- หน้าที่ของผู้นิพนธ์ต้องระบุให้ชัดเจนในเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อนที่จะเกิดขึ้นได้จากการตีพิมพ์บทความดังกล่าว
- หากบทความของผู้นิพนธ์มีความเกี่ยวข้องกับการใช้สัตว์ ผู้เข้าร่วม ผู้ให้สัมภาษณ์ ซึ่งส่งผลต่อผลการวิจัยมีประเด็นที่อ่อนไหวต่อผู้ให้ข้อมูลดังกล่าว ผู้นิพนธ์ต้องดำเนินการตามหลักจริยธรรม ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และต้องได้รับการยินยอมก่อนการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือแสดงเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือรับรองจากคณะกรรมการจริยธรมการวิจัยในมนุษย์ หรือในสัตว์ ทดลองประกอบด้วยทุกครั้ง
จริยธรรมของผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ (Reviewer)
- หน้าที่ของผู้ประเมินบทความต้องเป็นผู้รักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่ทำการประเมินการพิจารณาบทความแก่ผู้อื่นให้รับรู้ในช่วงระหว่างระยะเวลาที่ทำการประเมินบทความ
- หน้าที่ของผู้ประเมินบทความ หากผู้ประเมินตระหนักว่าตัวเองอาจจะมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ในบทความนั้น อาทิเช่น เป็นผู้ร่วมโครงการหรือรู้จักผู้นิพนธ์เป็นการส่วนตัว หรือเหตุผลที่ไม่สามารถประเมินบทความนั้นได้ให้ผู้ประเมินแจ้งให้บรรณาธิการหรือกองบรรณาธิการวารสารรับทราบและปฏิเสธการประเมินบทความ
- หน้าที่ของผู้ประเมินบทความทำการประเมินบทความในสาขาวิชาที่มีความเชี่ยวชาญ ชำนาญการ โดยทำการพิจารณาความสำคัญของบทความ คุณภาพของบทความ ความเข้มข้นของเบทความ การวิเคราะห์ความถูกต้องของบทความ ไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวหรืออารมณ์ความรู้สึกที่ไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานการอ้างอิงใด ๆ มารองรับเกณฑ์การตัดสินใจในการพิจารณาบทความ
- หน้าที่ของผู้ประเมินบทความ ควรให้แนะนำบทความเล็งเห็นถึงความสำคัญและความสอดคล้องของบทความที่ผู้นิพนธ์ไม่ได้ระบุหรือทำการอ้างอิงไว้ในบทความ
- หน้าที่ของผู้ประเมินบทความ เมื่อพบว่าบทความที่กำลังดำเนินการประเมินหรือการพิจารณาบทความ มีส่วนใดส่วนหนึ่งของบทความที่เหมือนหรือซ้ำซ้อนกับบทความของผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้ประเมินต้องทำการแจ้งให้บรรณาธิการหรือกองบรรณาธิการทราบในทันที