การประเมินพื้นที่ตรวจการณ์ไฟป่าจากหอดูไฟป่าด้วยเทคนิคการวิเคราะห์พื้นที่การมองเห็น กรณีศึกษาพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ (พื้นที่ทรงงาน) จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
ไฟป่า, หอดูไฟ, โครงการพัฒนาดอยตุง, การวิเคราะห์พื้นที่การมองเห็นบทคัดย่อ
การศึกษาการประเมินพื้นที่ตรวจการณ์ไฟป่าจากหอดูไฟป่า ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์พื้นที่การมองเห็น (Viewshed Analysis) กรณีศึกษาพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อหาพื้นที่ตรวจการณ์เฝ้าระวังไฟป่าจากหอดูไฟป่า 5 หอ โดยนำระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อประเมินพื้นที่ตรวจการณ์ไฟป่าจากหอดูไฟป่าด้วยเทคนิควิเคราะห์การมองเห็น ด้วยใช้โปรแกรม QGIS 2.18 เพื่อประเมินพื้นที่ที่สามารถมองเห็นได้ภายในพื้นที่ศึกษาจากหอดูไฟป่าทั้ง 5 หอ ผลการวิเคราะห์พบว่าหอดูไฟป่าทั้ง 5 หอ สามารถมองเห็นพื้นที่รวมกันอยู่ที่ 42,649 ไร่ หรือร้อยละ 46 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด โดยแยกรายละเอียดตามหอดูไฟต่าง ๆ พบว่าหอ 1 สามารถมองเห็นพื้นที่ 30,526 ไร่, หอพญาลอ สามารถมองเห็นพื้นที่ 19,447 ไร่, หอสู้ไฟ 7 สามารถมองเห็นพื้นที่ 3,808 ไร่, หอสู้ไฟ 10 สามารถมองเห็นพื้นที่ 22,331 ไร่ , และหอสู้ไฟ 12 สามารถมองเห็นพื้นที่ 14,431 ไร่ ตามลำดับ ยิ่งไปกว่านั้น พบว่ามีบางพื้นที่ที่มองเห็นได้จากหลายหอดูไฟพร้อมกัน และบางพื้นที่มองเห็นได้จากหอดูไฟเพียงหนึ่งเดียว สามารถสรุปการมองเห็นของหอดูไฟป่าเพื่อใช้ในการตรวจการณ์เฝ้าระวังไฟป่าได้ว่า พื้นที่ที่สามารถตรวจการณ์ได้จากหอดูไฟเพียง 1 หอดูไฟมีพื้นที่อยู่ที่ 10,934 ไร่ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 12 ของพื้นที่ศึกษาทั้งหมด และพบว่ามีการซ้อนทับของพื้นที่ที่เหลื่อมหรือซ้อนทับกันของหอดูไฟป่า ซึ่งสามารถตรวจการณ์ได้จากหลายหอดูไฟพร้อมกัน มีขนาดรวมกันอยู่ที่ 31,715 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 35 ของพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) ของจังหวัดเชียงราย ซึ่งยังถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับพื้นที่ทั้งหมด
References
กนกพร ทองวัน (2559) การประเมินคุณภาพการมองเห็นภูมิทัศน์พื้นที่ท่องเที่ยว กรณีศึกษา อำเภอ เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ (วิทยาศาสตรบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. ส่วนควบคุมไฟป่า. (2564). ความรู้เรื่องไฟป่า. สืบค้นจาก https://www.dnp.go.th/forestfire/web/frame/lesson1.
กาญจน์เขจร ชูชีพ. (2541). หลักการเบื้องต้นของการวิเคราะห์ข้อมูลการสำรวจระยะไกล เล่ม 1. กรุงเทพฯ. ภาควิชาการจัดการป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จารุณี ดีเลิศ. (2543). เอกสารประกอบการอบรมโปรแกรม ArcView และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เบื้องต้น. กรุงเทพฯ.กองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี.
ชยารัตน์ ศรีสุนนท์. (2566). ผลกระทบของไฟป่า. {บทความวิชาการ, กรุงเทพฯ. สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
ณิชนันทน์ บุญญาทรัพย์. (2554). การประยุกต์ใช้การสำรวจระยะไกลและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อวิเคราะห์หาแนวเชื่อมต่อป่าและแนวทางการจัดการป่าไม้ในพื้นที่กลุ่มป่าตะวันออก. วารสารการจัดการป่าไม้ 5(10), 78-79.
ดอกรัก มารอด. (2538). แบบแผนการทดแทนขั้นทุติยภูมิในสังคมป่าผสมผลัดใบของสถานีวิจัยต้นน้ำแม่กลอง จังหวัดกาญจนบุรี. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ดาราศรี ดาวเรือง. (2536). วิวัฒนาการของการสำรวจทรัพยากรโลกด้วยดาวเทียม ใน การสำรวจทรัพยากรธรรมชาติด้วยดาวเทียม. กรุงเทพฯ. สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ทบทอง ชั้นเจริญ. (2558). การทำงานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ {เอกสารประกอบการสอน]. จันทบุรี. สาขาภูมิสารสนเทศ คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ประสงค์ สงวนธรรม. (2528). คู่มือปฏิบัติการหลักการแปลและวิเคราะห์ภาพถ่ายจากดาวเทียม. กรุงเทพฯ. ภาควิชาการจัดการป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พงษ์ศักดิ์ สหุนาฬุ. (2539). นิเวศวิทยาป่าไม้. กรุงเทพฯ. คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศิริ อัคคะอัคร. (2543). การควบคุมไฟป่าสำหรับประเทศไทย. กรุงเทพฯ. สำนักควบคุมไฟป่า ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมป่าไม้.
ศิวจักร ชื่นสังข์. (2544). บทบาทของประชาชนในการควบคุมไฟป่า เขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2566). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. กรุงเทพฯ. กระทรวงมหาดไทย.
สถานีควบคุมไฟป่าพื้นที่ทรงงานดอยตุง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย. (2558). รายงานสรุปผลการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558. สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15, เชียงราย.
สันต์ เกตุปราณีต. (2541). นิเวศวิทยาไฟป่า. กรุงเทพฯ. คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สันต์ เกตุปราณีต. (2541). บทบาทของไฟป่าในประเทศไทย. รายงานการสัมมนาวิชาการ ไฟป่ากับการมีส่วนร่วมของชุมชน, กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก.
สันต์ และคณะ (2534) ความรู้เรื่องไฟป่า. กรุงเทพฯ. คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
