การพัฒนาแอปพลิเคชันจองคิวคลินิกทันตกรรม

ผู้แต่ง

  • ปิยธิดา ศรีพล สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น 40000
  • พรสวรรค์ ชัยมีแรง สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น 40000
  • พันธวุธ จันทรมงคล สาขาวิชาการจัดการองค์การและชุมชนยุคใหม่ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น 40000

คำสำคัญ:

แอปพลิเคชัน, คลินิกทันตกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาแอปพลิเคชันจองคิวคลินิกทันตกรรม 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันจองคิวคลินิกทันตกรรม 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน ในการพัฒนาแอปพลิเคชัน ใช้โปรแกรม Application Studio และจัดการฐานข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SQLite ในการประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันเป็นการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน และการประเมินความพึงพอใจของผู้ที่ใช้งานแอปพลิเคชัน เก็บข้อมูลจากผู้ใช้งานจำนวน 400 คน สถิติเชิงพรรณนาถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ในส่วนของค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า แอปพลิเคชันจองคิวคลินิกทันตกรรม มีประสิทธิภาพในภาพรวมอยู่ในระดับ ดีมาก (ค่าเฉลี่ย=4.63) และแอปพลิเคชันจองคิวคลินิกทันตกรรมมีผลประเมินความพึงพอใจของผู้ที่ใช้งานแอปพลิเคชันจองคิวคลินิกทันตกรรม ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย=4.29)

References

กัญญาวีร์ สกุลทอง และ จิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2567). คุณภาพการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มสื่อนิยายออนไลน์ readAwrite ตามบทบาทของการยอมรับ เทคโนโลยี, วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 26(2), 163-176.

คู่มือการจัดการการเรียนรู้. (2562). การใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในแนวทางที่หลากหลาย. คณะกรรมการการจัดการความรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จุฬาวลี มณีเลิศ. (2564). การพัฒนาแอปพลิเคชันสงเสริมการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียงด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริง. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 7(2), 84-95.

ธัญพร ศรีดอกไม้. (2565). การพัฒนาต้นแบบเว็บแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือสำหรับสร้างรายได้ให้ผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี, 4(5), 1-16.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น.พิมพ์ครั้งที่ 8.กรุงเทพมหานคร : สุวีวิทยาสาส์น

ประภัสสร ศรีเผด็จ, จิตรพงษ์ เจริญจิตร, ปิยะณัฐ สังข์เจริญ, นพรัตน์ อังคณานนท์,และสงกรานต์ วิชิตพงษ์. (2559). การพัฒนาระบบการจองคิวบนสมาร์ทโฟน กรณีศึกษาการจองคิวร้านสัก. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 7, วันที่ 23 มิถุนายน 2559 (น. 1397-1408). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

พรสวรรค์ ชัยมีแรง. (2564). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อจัดการมาตรฐานผลการเรียนรู้ของหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(2), 68-82.

พิชัย ระเวงวัน. (2564). การพัฒนาสื่อแอปพลิเคชันการเรียนรู้เสริมทักษะคำศัพท์ 3 ภาษา สำหรับเด็กปฐมวัย บนสมาร์ทโฟน. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(2), 167-180.

สงบ ศศิพงศ์พรรณ, ทศนัย ชุ่มวัฒนะ, และศุภณัฐ ค้าทอง. (2560). ระบบจองคิวคลินิกออนไลน์ผ่านเว็บแอปพลิเคชัน. สมาคมเวชสารสนเทศไทย, 1(3), 16-22.

เพ็ญโฉม ยาทะเล และ จารุมน หนูคง. (2562). การศึกษาความต้องการใช้บริการจองรถพยาบาลที่ส่งผลต่อการพัฒนาแอพพลิเคชัน การจองรถพยาบาลเอกชน กรณีศึกษา : บริษัท เมดิคอล ทีม (ไทยแลนด์) จำกัด. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2, วันที่ 19 มกราคม 2562 (น. 1872–1880). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สุชัญญา สายชนะ และชลิตา ศรีนวล. (2561). ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชัน QueQ ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 17(3), 156–165.

Turban,Efraim.McLean,Ephraim.,and Wetherbe,James. (2004).Information technology for management: Transforming organizations in the digital economy. NY: John Wiley.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02/10/2025