การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อสื่อสารการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น กรณีศึกษาโรงเรียนเทศบาลบ้านโนนชัย

ผู้แต่ง

  • พลวัชร์ จันทรมงคล สาขาวิชาระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น 40000
  • ภาณุวัฒน์ เรืองกุลทรัพย์ สาขาวิชาระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น 40000
  • พิชัย ระเวงวัน สาขาวิชาระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น 40000
  • พรเศรษฐี ช่องงาม โรงเรียนเทศบาลบ้านโนนชัย จังหวัดขอนแก่น 40000

คำสำคัญ:

แอปพลิเคชัน, การเรียนรู้, ภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อสื่อสารการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น กรณีศึกษาโรงเรียนเทศบาลบ้านโนนชัย 2) ศึกษาประสิทธิภาพแอปพลิเคชันเพื่อสื่อสารการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น กรณีศึกษาโรงเรียนเทศบาลบ้านโนนชัย 3) ศึกษาความพึงพอใจแอปพลิเคชันเพื่อสื่อสารการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น กรณีศึกษาโรงเรียนเทศบาลบ้านโนนชัย 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษ หน่วยการเรียนรู้ At Home ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลบ้านโนนชัย ระหว่างกลุ่มใช้แอปพลิเคชันเพื่อสื่อสารการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษและกลุ่มการสอนปกติ การพัฒนาใช้แนวคิด ADDIE Model เป็นกรอบแนวทางวิจัย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลบ้านโนนชัยจำนวน 2 ห้อง โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที (t-test)

ผลวิจัยพบว่า 1) แอปพลิเคชันประกอบด้วยสองหมวดคือ หมวดบ้านของฉัน และหมวดครอบครัวของฉัน ทั้งสองหมวดประกอบด้วย หน้าจอคำศัพท์ หน้าจอการออกเสียงคำศัพท์ หน้าจอการเลือกคำศัพท์ให้ตรงกับรูปภาพ หน้าจอการเลือกบทสนทนาให้ตรงกับรูปภาพ และหน้าจอการทำแบบฝึกหัด 2) ประสิทธิภาพแอปพลิเคชันจากผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับดีมาก และประสิทธิภาพแอปพลิเคชันตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ 80.84/83 3) ความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชัน อยู่ในระดับดีมาก และ 4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษ หน่วยการเรียนรู้ At Home ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลบ้านโนนชัย กลุ่มใช้แอปพลิเคชันเพื่อสื่อสารการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษสูงกว่ากลุ่มการสอนปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. สืบค้นจาก

http://academic.obec.go.th/images/document/1559878925_d_1.pdf.

จิตราภา คนฉลาด, อิทธิชัย อินลุเพท และ วีณา พรหมเทศ. (2567). การพัฒนาสื่อแอปพลิเคชัน 9 สถานที่สักการะในจังหวัดเลย ด้วยเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริง, วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 14(1), 244-258.

ชลชลิตา กมุทธภิไชย. (2563). แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาโปรแกรมภาษาอังกฤษ ในรายวิชาการสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา, วารสารพิกุล, 18(1), 291-307.

ดวงสมร อ่องแสงคุณ. (2564). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม บูรณาการสาระท้องถิ่น เรื่อง นาเกลือสมุทรสาคร เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดโสภณาราม(ปลั่งร่วมราษฎร์บำรง), วารสารคุรุสภาวิทยาจารย์, 2(3), 15-26.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). สถิติและวิธีการวิจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ฤตธวัส พินิจนึก. (2564). คู่มือการออกแบบการเรียนการสอนด้วย ADDIE Model. สืบค้นจาก https://m.se-ed.com/Detail/คู่มือการออกแบบการเรียนการสอนด้วย-ADDIE-Model-(PDF)/5522840170903.

วิลาวรรณ จรูญผล นคร ละลอกน้ำ ธนะวัฒน์ วรรณประภา. (2564). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย ด้วยเทคนิคจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5, วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 15(3), 75-83.

สุดารัตน์ สมปัญญา และ อรนุช ลิมตศิริ. (2567). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนราชมนตรี (ปลื้ม-เชื่อมนุกูล) ระหว่างการสอนโดยใช้สื่อมัลติมิเดียกับการสอนแบบปกติ. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 14(1), 69-80.

สุรีพร ชาบุตรบุณฑริก, พระมหาวัฒนา สุรจิตฺโต, พระสิทธิชัย รินฤทธิ์, สมควร นามศรีฐาน และชาตรี เพ็งทำ. (2565). การพัฒนาสื่อดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ เรื่องภูมิภาคของโลกกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามแนวคิด ADDIE Model, วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, 8(2), 91-100.

British Council. (2563). เหตุผลที่ทำให้การสอนภาษาของไทยไปไม่ถึงดวงดาว. สืบค้นจาก https://www.trueplookpanya.com/education/content/82999/-teamet--.

Education First. (2022). The world’s largest ranking of countries and regions by English skills. สืบค้นจากhttps://www.ef.co.th/epi/downloads/-i.

Hair Jr., J.F., Black, W.C., Babin, B.J. and Anderson, R.E. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective. (7th ed.). N.J: Pearson Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02/10/2025