ประสิทธิผลของโปรแกรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกัน โรคอุจจาระร่วง ในผู้ดูแลเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • กิติชัย พงศ์วรินทร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
  • สมคิด จูหว้า คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000

คำสำคัญ:

โรคอุจจาระร่วง, ผู้ดูแลเด็ก, ความเชื่อด้านสุขภาพ, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมป้องกันโรคอุจจาระร่วง

บทคัดย่อ

การวิจัยวิจัยกึ่งทดลอง แบบ 2 กลุ่ม วัดผลก่อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมป้องกันโรคอุจจาระร่วงในผู้ดูแลเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย จำนวน 72 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 36 คน ระยะเวลาการศึกษา 10 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ในระยะก่อนการทดลอง หลังทดลอง และระยะติดตามผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติวิเคราะห์ Chi-square, Independent t – test, Repeated measure ANOVA

ผลการศึกษา พบว่า ก่อนการทดลอง กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีคะแนนเฉลี่ยความรู้ การรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพ ความรอบรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคอุจจาระร่วง ไม่แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) หลังร่วมโปรแกรมและระยะติดตาม พบว่า กลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยของความรู้ การรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพ ความรอบรู้และพฤติกรรมป้องกันโรคอุจจาระร่วงสูงกว่าก่อนการทดลองและดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) (ความรู้ F = 95.87, p < 0.01 การรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพ F= 448.13, p < 0.01 ความรอบรู้ F = 24.18, p < 0.01 และพฤติกรรมป้องกันโรคอุจจาระร่วง F = 24.29, p < 0.01) ผลการวิจัยครั้งนี้ สรุปได้ว่าโปรแกรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมป้องกันโรคอุจจาระร่วงในผู้ดูแลเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี สามารถทำให้กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันโรคอุจจาระร่วงในเด็กดีขึ้นและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในเรื่องอื่นได้

References

ขวัญชนก ใจดี และคณะ. (2563). พฤติกรรมการป้องกันโรคอุจจาระร่วงในเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ของผู้ปกครองในตำบลนามน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. การประชุมวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ครั้งที่ 2 ประจำปี 2563.(486-483). เลย: มหาวิทยาลับราชภัฏเลย.

นาฎอนงค์ แฝงพงษ์, สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ และ สมสมัย รัตนกรีฑากุล. (2563). ผลขอลโปรแกรมการพัฒนาความเชื่อด้านสุขภาพของผู้ปกครอง ต่อการรับรู้ และพฤติกรรมการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ในเด็กวัยก่อนเรียนที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารคณะพยาบาลสาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2563(3) 113-125.

พินิจ ศรีใส. ( 2553 ).ประสิทธิผลโปรแกรมการเรียนรู้ต้อพฤติกรรมป้องกันโรคอุจจาระร่วงในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี อําเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย. (การค้นคว้าแบบอิสระ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลับเชียงใหม่.

พิเชษฐ สีดาหอม, รัชฏา ฉายจิต, สุบิน พัวศิริ และ ปิยฉัตร พัชรานุฉัตร. (2567). ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากในผู้ดูแลเด็ก 0-5 ปี อําเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์. Procedia of Multidisciplinary Research, 2(5), 47.

สุวรรณา มณีวงศ์ ( 2555 ).ผลของโปรแกรมการวางแผนตำหน่ายต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคอุจจาระร่วงของผู้ดูแล ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี. ( วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ).กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำเนียง ทองทิพย์ และ สมคิด ปราบภัย. (2559). ประสิทธิผลของการสอนแบบอิงประสบการณ์เพื่อการป้องกันโรคอุจจาระร่วงในเด็กก่อนวัยเรียน. Journal of Medicine and Health Sciences.

อรวรรณ หล้าสวัสดิ์, สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง และ พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม. (2562). ผลของโปรแกรมการสอนต่อความรู้และการปฏิบัติของผู้ดูแลในการดูแลเด็กโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน. Nursing Science Journal of Thailand, 37(3), 63-78.

อุไรวรรณ เที่ยงสมบูรณ์ (2564). ผลของโปรแกรมกลุ่มช่วยเหลือตนเองสำหรับผู้ดูแลต่อการจัดการพฤติกรรม ก้าวร้าวในเด็กวัยเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้. วารสารวิทยาลัยราชสุดา, 17(1), 102-119.

Becker, M.H., Maina, L.A., Kirscht, J.P., Heafner, D.P.& Drachman, R.H. (1977). The health belief model and perdiction of dirtary compliance: A field experiment. Journal of Health and Social behavior, 18, 346-348.

Dilruba Nasrin ET. All. (2023). Moderate-to-Severe Diarrhea and Stunting AmongChildren Younger Than 5 Years: Findings From theVaccine Impact on Diarrhea in Africa (VIDA) Study. Oxford. Clinical Infectious - Diseases®, 76(S1), S41–8.

Harris, D. M. and Guten, S. (1979). Health-protective behavior: An exploratory study. Journal of health and social behavior, 17-29.

Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy. Soc Sci Med, 67(12), 2072- 2078. doi:10.1016/j.socscimed.2008.09.050.

Rosenstock, I.M. (1974). Historical Origins of the Health Belief Model. Health Education Monographs, 2(4), 328-335.

World Health Organization. (2019). Health literacy toolkit for low-and middle-income countries: A series of information sheets to empower communities and strengthen health systems.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02/10/2025