การประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการให้บริการออนไลน์ของศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) เพื่อพัฒนาเมืองอัจฉริยะสู่ความเป็นเลิศ เทศบาลตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
ศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ, บริการออนไลน์, เมืองอัจฉริยะ, ประสิทธิภาพบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพและเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพรูปแบบการให้บริการออนไลน์ของศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ของเทศบาลตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ผลการวิจัยพบว่าการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการให้บริการออนไลน์ของศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ของเทศบาลตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย อยู่ในระดับมาก (μ = 4.43, σ =0.48) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านกระบวนการ (μ = 4.50, σ =0.49) รองลงมา คือ ด้านเจ้าหน้าที่ (μ = 4.44, σ =0.51) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านระบบการใช้งาน (μ = 4.37, σ =0.52) ผลการวิจัยชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการปรับปรุงพัฒนาระบบการใช้งาน โดยเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพด้านระบบการใช้งานเน้นเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลและความเชื่อมั่นในระบบการใช้งาน ด้านเจ้าหน้าที่มีแนวทางการพัฒนาความรู้และทักษะของเจ้าหน้าที่ การมอบอำนาจในการตัดสินใจ ด้านกระบวนการ ถึงแม้จะเป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด แต่ยังคงมีแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียดและการนำแนวทางที่เหมาะสมมาปรับใช้ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ประหยัด คุ้มค่า ซึ่งการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการรูปแบบออนไลน์ ส่งผลให้เทศบาลตำบลสายมีความเป็นเลิศ ด้านการบริหารงานภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance) และเป็นอีกก้าวสำคัญในการพัฒนาเมือง ช่วยยกระดับคุณภาพการให้บริการภาครัฐส่งผลต่อความพึงพอใจของประชาชน และนำไปสู่การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ได้อย่างแท้จริง สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) สู่ความเป็นเลิศต่อไป
References
เกษฎา อ้อนคำภา.(2565). ความพึงพอใจและการพัฒนาการให้บริการและภาพลักษณ์ของศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จข้าราชการกองทัพเรือนอกประจำการ. (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
ขนิษฐา แผ่พร. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่: กรณีศึกษางานทะเบียนราษฎร สำนักทะเบียน เทศบาลเมืองปทุมธานี. (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
ทวนธง ครุฑจ้อน, ชลลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ และ อภิรดี จิโรภาส. (2563). การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 10(2), 94-117.
บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์. (2557). การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่. สืบค้นจาก: http:wiki.kpi.ac.th/index.php?title=การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่.
ปกรณ์ยศ วิทยานันตนรมย์. (2564). คู่มือการปฏิบัติงานบริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service). วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ, 15.
แพรพลอย นามชุ่ม. (2564). การเปิดรับสื่อ ทัศนคติและพฤติกรรมที่มีต่อบริการระบบ one stop service ของอบต. บ้านใหม่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. (การค้นคว้าอิสระวารสารศาสตรมหาบัณฑิต) คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน. สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารองค์กร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
ภุมวุฒิ วิทวัสสำราญกุล. (2563). แนวทางการพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลสารสนเทศโดยใช้กรอบ แนวคิดระบบจัดการความปลอดภัยข้อมูลสารสนเทศ. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ศูนย์เรียนรู้และหอสมุด. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพฯ.
ยุทธนา ทรัพย์มา. (2562). แนวทางการยกระดับการให้บริการประชาชนของสถานีตำรวจ: กรณีศึกษา สถานีตำรวจนครบาลบุคคโล. (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.กรุงเทพฯ.
วิชญวัชร์ สุภสุข. (2565). การใช้แพลตฟอร์มทราฟฟี่ฟองดูว์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำบริการสาธารณะของกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาสำนักงานเขตพระนคร. (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
สิทธิสาต เลิศสิริมงคลชัย. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริการในยุค 4.0 ของภาครัฐ: กรณีศึกษาสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร. (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
สุดาภรณ์ อรุณดี, วรรณวิภา ไตลังคะ, มนสิชา โพธิสุข, ณัฐพันธ์ ดู่ซึ่ง และ วิยะดา วรานนท์วนิช. (2565). การบริการภาครัฐแนวใหม่ กรณีศึกษา : การให้บริการประชาชน (One Stop Service) บนสถานีตำรวจนครบาล. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 7(1), 31-42.
อภิญญา ไลไธสง. (2562). การพัฒนาประสิทธิภาพการรับเรื่องร้องเรียนผ่านศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ กรณีศึกษา อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. สืบค้นจาก: http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/index.php/abstractData/viewIndex/274.
อาจารีย์ ประจวบเหมาะ, รุ่งอรุณ กระแสร์สินธุ์, ธารทิพย์ พจน์สุภาพ และ ใกล้รุ่ง กระแสร์สินธุ์. (2561). ความพึงพอใจของผู้รับบริการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ในเขตพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ ระยอง และชัยนาท. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 8(ฉบับพิเศษ), 132-147.
