การพัฒนาระบบการจัดการเครื่องมือวิทยาศาสตร์ผ่านการแจ้งเตือนบน แอปพลิเคชันไลน์สาขาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา
คำสำคัญ:
เครื่องมือวิทยาศาสตร์, การแจ้งเตือนบนแอปพลิเคชันไลน์, โปรแกรม G Suite for Educationบทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาระบบการจัดการเครื่องมือวิทยาศาสตร์ โดยประยุกต์ใช้โปรแกรม G Suite for Education ร่วมกับระบบการแจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชันไลน์เพื่อเพิ่มความสะดวกและความรวดเร็วในการขอใช้และติดตามเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ระบบที่พัฒนานี้ถูกนำไปเปรียบเทียบกับการขอใช้เครื่องมือแบบเดิม และประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่ประกอบด้วยบุคลากรทางวิชาการ บุคลากรสายสนับสนุน และนิสิตจุลชีววิทยา จำนวน 95 คน จากการศึกษาพบว่า ระบบที่พัฒนาขึ้นช่วยให้นิสิตสามารถขอใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ได้เร็วขึ้น ลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ และมีความสะดวกในการเข้าถึงระบบผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ โดยผู้ใช้งานมีความพึงพอใจต่อระบบในระดับสูงสุด (4.81±0.19) และประสิทธิภาพของระบบได้รับการประเมินในระดับสูงสุด (4.64±0.40) ผลกระทบของงานวิจัยนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อการปรับปรุงกระบวนการจัดการเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ระบบที่พัฒนาช่วยลดเวลาและแรงงานในการจัดการ ลดความซับซ้อนในการติดตามการใช้งานเครื่องมือ และเพิ่มความทันสมัย
ในการจัดการข้อมูลในมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ ระบบยังสามารถขยายไปใช้งานกับเครื่องมือวิทยาศาสตร์หรือทรัพยากรการศึกษาอื่น ๆ ได้ ซึ่งจะช่วยยกระดับมาตรฐานการจัดการในยุคที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญ
References
จรรยา ชื่นอารมณ์. (2562). การพัฒนาระบบจองเวลาใช้เครื่องมือห้องปฏิบัติการทันตวัสดุ คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสาร Mahidol R@R e-Journal, 6(2), 70-79.
ถนอม กองใจ และอริษา ทาทอง. (2565). ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาระบบแจ้งเตือนกิจกรรมและการนัดหมายอัตโนมัติผ่านแอปพลิเคชันไลน์. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 9(2), 32-45.
ราชกิจจานุเบกษา. (2560). ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 เล่มที่ 134 ตอนพิเศษ 210 ง 23 สิงหาคม 2560, 1-72.
ประชุม พันออด. (2564). การพัฒนาระบบบริหารจัดการห้องประชุมออนไลน์ด้วยเทคโนโลยีคลาวด์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ครั้งที่ 4, 90-97.
สมิธ พิทูรพงศ์. (2560). การใช้แอปพลิเคชันไลน์ในกระบวนการทำงาน: กรณีศึกษาบริษัท สหผลิตภัณฑ์ พาณิชย์จำกัด. (การค้นคว้าอิสระของหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิตอล มหาวิทยาลัยกรุงเทพ). สืบค้นจาก: https://dspace.bu.ac.th/jspui/bitsream/123456789/3440/3/smith.pito.pdf.
อุทุมพร มณีวรรณ์, มลฑาทิพย์ ทาสรักษา และ เอกสิทธิ์ ปัญญามี. (2563). การพัฒนาระบบแจ้งเตือนวันกำหนดส่งคืนหนังสืออัตโนมัติผ่านไลน์แอปพลิเคชัน. สืบค้นจาก: https://pulinet2021.pulinet.org/uploads_file_completely/2020-12-29/stefany-IS.pdf.
Beis, Christina A. (2018). Simplifying E-Resources Workflows with G Suite for Education, Journal of Electronic Resources Librarianship, 30(3), 161-163.
Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining sample sizes for research activities. Journal of Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
